พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในการแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการหลังการยึดอำนาจ
เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจของรัฐได้โดยเด็ดขาดแล้วหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการได้ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 9/2519 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2519 เป็นคำสั่งเกี่ยวเนื่องกับการบริหารราชการแผ่นดิน แม้ก่อนหน้านั้นจะมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินหรือผู้ที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมอบหมาย และให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจของรัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ตัดอำนาจของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่จะสั่งการเป็นกรณีเฉพาะเรื่องเฉพาะรายตามอำนาจที่มีอยู่ ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นข้าราชการ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยบรรจุโจทก์กลับเข้ารับราชการไม่ได้ เพราะการขอกลับเข้ารับราชการนั้นขึ้นอยู่กับทางราชการว่าต้องการจะรับโจทก์เข้ารับราชการหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 57
โจทก์เป็นข้าราชการ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยบรรจุโจทก์กลับเข้ารับราชการไม่ได้ เพราะการขอกลับเข้ารับราชการนั้นขึ้นอยู่กับทางราชการว่าต้องการจะรับโจทก์เข้ารับราชการหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของหัวหน้าคณะปฏิวัติหลังยึดอำนาจ: ประกาศคณะปฏิวัติมีผลเป็นกฎหมาย
คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ฉะนั้น ประกาศของคณะปฏิวัติซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะปฏิวัติหลังยึดอำนาจ: ประกาศคณะปฏิวัติมีผลเป็นกฎหมาย
คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ฉะนั้น ประกาศของคณะปฏิวัติซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดอำนาจสำเร็จและการสิ้นสุดสิทธิในการต่อต้านของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา 70 ที่บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้" จะใช้บังคับได้จริงต่อเมื่อการยึดอำนาจการปกครองยังไม่เป็นผลสำเร็จ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองก็ยังไม่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ กล่าวคือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ถูกยกเลิกไปโดยอำนาจของคณะผู้ยึดอำนาจ สิทธิดังกล่าวของจำเลยและประชาชนอื่นก็ยังคงมีอยู่ แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ฟังได้ว่า การยึดอำนาจการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว เนื่องจาก คสช.ประกาศใช้กฎอัยการฝึกที่ราชอาณาจักร ประกาศให้รัฐธรรมูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติหมวด 2 รวมทั้ง คสช. ได้มีประกาศและคำสั่งอันเป็นการใช้อำนาจบริหารประเทศอีกหลายอย่าง คสช.จึงเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงย่อมมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยรายงานตัวต่อ คสช.ได้ และสิทธิของจำเลยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วนับแต่วันที่ คสช.ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้อีก