คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยืนยันหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาตัดสินให้คิดค่าธรรมเนียมตามตาราง 2(3) ป.วิ.พ. เพียง 20 บาท
ในคดีล้มละลายที่ผู้คัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้ทำเป็นคำร้องซึ่งค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับคำร้องนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 179 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามตาราง 2(3) ท้าย ป.วิ.พ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การแก้ไขเอกสาร และการยืนยันหนี้เกินจำนวนที่ทวง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานจะต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความรับรองจึงจะรับฟังได้ การที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจเอกสารมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวเกี่ยวกับรายการและข้อผิดพลาดในเอกสาร ก็มิใช่พยานบอกเล่าเพราะเจ้าหน้าที่เบิกความไปตามที่ตรวจพบเห็นถือเป็นพยานโดยตรง แม้เอกสารมีรอยขูดลบแก้ไขโดยไม่มีผู้ใดรับรอง ก็ไม่ถึงกับรับฟังไม่ได้ สาระสำคัญอยู่ที่ว่าการแก้ไขนั้นถูกต้องหรือไม่ เอกสารที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้จากเอกสารของลูกหนี้ รวมเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ ถือเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นอันเป็นเอกสารเป็นชุด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จึงไม่ต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องมีจำนวนเงินเกินกว่าที่มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ อ้างว่าเจ้าหนี้ที่ของลูกหนี้คิดยอดเงินดอกเบี้ยผิดไปเมื่อคิดใหม่แล้วคงมีดอกเบี้ยค้างอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏว่าคิดผิดอย่างไร และที่คิดใหม่ถูกต้องอย่างไร การเอาตัวเลขที่อ้างว่าคิดถูกบวกเข้าไปในจำนวนหนี้ที่เรียกให้ผู้ร้องชำระและยืนยันหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่มีเหตุผล จึงเป็นการยืนยันหนี้เกินกว่าที่ทวงไปเป็นการไม่ชอบต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปครั้งแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านหนี้ในชั้นศาลก่อนการยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกระบวนการข้ามขั้นตอน
การที่ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวมายังผู้ร้อง ผู้ร้องหามีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืนยันหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย ผู้ถือหุ้นต้องแจ้งการโอนหุ้นเพื่อหลุดพ้นความรับผิด
แม้ผู้ร้องไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกำหนดนัดเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล ตามมาตรา 119 วรรคสาม ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อต่อสู้ในชั้นศาล และนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำสืบพยานหลักฐานเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22 (2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอให้ศาลจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องรอหนังสือยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธตามหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเนื่องจากผู้คัดค้านได้นำสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้องออกประมูลขายโดยวิธีอื่นไปแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 123 ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้
ที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 และขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ทวงถามหนี้มายังผู้ร้องนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28