พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายหลังข่มขืน: ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุ 9 ปี แล้วจึงทำร้ายเพื่อปกปิดความผิดของตน โดยใช้ไม้ไผ่ที่ปลายมีตาแหลมคมขนาดกลมโตวัดโดยรอบที่โคนไม้ 6 เซนติเมตรครึ่ง ที่ปลายไม้ 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และอีกอันหนึ่งที่โคนไม้ 4 เซนติเมตรครึ่ง ที่ปลายไม้ 4 เซนติเมตร แทงที่คอมีโลหิตไหล กระทืบที่หน้าและท้องจนสลบ ปรากฏบาดแผลรวม 10 แห่ง คือ แก้มซ้าย หางตาซ้าย ในปาก ริมฝีปาก คอ ไหปลาร้า โดยเฉพาะที่ไหปลาร้าซ้ายฉีดขาดกว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร คอด้านซ้ายฉีดขาดกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร คอด้านขวาแผลที่ 1 ฉีกขาดกว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร แผลที่ 2 กว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร จำเลยเชื่อว่าผู้เสียหายตายจึงหลบหนีไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า หาใช่เป็นเพียงเจตนาทำร้ายไม่
ในกระทงความผิดข้อหาข่มขืนกระทำชำเรานั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ในกระทงความผิดข้อหาข่มขืนกระทำชำเรานั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการวิวาทแย่งมีด ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
จำเลยกับผู้ตายได้วิวาทกอดปล้ำทำร้ายกัน ผู้ตายหยิบมีดดาบยาวประมาณ 1 แขน ฟันจำเลยที่แขนและที่ศีรษะจำเลยแย่งมีดดาบนั้นมาฟันผู้ตาย 3 ครั้ง สองครั้งแรกถูกที่แขนทั้งสองข้าง ครั้งสุดท้ายฟันที่ชายโครงขวาจนมีดดาบหักจากด้าม เป็นบาดแผลฉีกขาดยาว 15 เซนติเมตร กระดูกซี่โครงหัก 1 ซี่ แสดงว่าจำเลยฟันผู้ตายเต็มแรงและด้วยกำลังโกรธ โดยมุ่งประหัตประหาร ฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
เมื่อจำเลยกับผู้ตายสมัครใจต่อสู้กัน จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันไม่ได้ และการกระทำดังกล่าวก็ไม่เป็นบันดาลโทสะตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยกับผู้ตายสมัครใจต่อสู้กัน จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันไม่ได้ และการกระทำดังกล่าวก็ไม่เป็นบันดาลโทสะตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าสามีเพื่ออยู่กับชู้: ศาลฎีกายืนโทษเดิม
ฆ่าผัวเพื่อจะอยู่กินกับชู้
วิธีพิจารณาอาชญา
ศาลฎีกาไม่เปลี่ยนบทลงโทษให้หนักในคดีที่จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา
วิธีพิจารณาอาชญา
ศาลฎีกาไม่เปลี่ยนบทลงโทษให้หนักในคดีที่จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กเพื่อหากำไรและการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ขณะเกิดเหตุเด็กทั้งสามคนยังมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลใช้อำนาจปกครองอยู่ และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งจึงไม่ใช่เป็นเด็กจรจัด เร่ร่อน ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลและไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง บิดามารดาของเด็กทั้งสามคนมีฐานะยากจนต้องออกทำงานหาเลี้ยงชีพในแต่ละวันจึงต้องปล่อยให้เด็กทั้งสามคนเที่ยวเล่นอยู่ตามลำพัง ตามประสาเด็กเท่านั้น แต่ก็ยังใช้อำนาจปกครองเด็กทั้งสามคนอยู่ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองชักชวนเด็กทั้งสามคนไปทำงานบ้านอยู่กับจำเลยทั้งสองที่จังหวัดสุพรรณบุรี แต่กลับพาไปบวชเป็นสามเณรแล้วพาออกแจกซองผ้าป่าตามจังหวัดต่าง ๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของเด็กทั้งสามคน จึงเป็นการพรากเด็กทั้งสามคนไปจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร และการที่จำเลยทั้งสองนำเด็กทั้งสามคนแต่งกายเป็นสามเณรออกเที่ยวแจกซองผ้าป่า เรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วแบ่งผลประโยชน์กัน อันเป็นการใช้เด็กทั้งสามคนและศาสนาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพของจำเลยทั้งสอง ทำให้ศาสนาต้องมัวหมองและเป็นที่เสื่อมศรัทธาแก่ผู้พบเห็นโดยทั่วไป พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กชายทั้งสามซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อหากำไรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจการปกครองของบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลของผู้เยาว์ ไม่ให้ถูกผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล ฉะนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะพูดชักชวนและพาเด็กทั้งสามคนไปในครั้งเดียวคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดา ผู้ปกครองหรือดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันหาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวไม่
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจการปกครองของบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแลของผู้เยาว์ ไม่ให้ถูกผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล ฉะนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะพูดชักชวนและพาเด็กทั้งสามคนไปในครั้งเดียวคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดา ผู้ปกครองหรือดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันหาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวไม่