พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุจำเป็นและดำเนินการโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอในการยื่นฎีกา ศาลไม่อนุญาตขยายเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2545 แต่วันครบกำหนดฎีกาตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2545 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นฎีกาในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2545 และแม้จำเลยยื่นคำแถลงขอถ่ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 และได้รับเอกสารที่ขอถ่ายในวันที่ 27 มิถุนายน 2545 ก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจนถึงวันที่จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาแล้วปรากฏว่ายังมีเวลาเหลืออยู่อีก 18 วัน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำคำฟ้องฎีกายื่นต่อศาลได้ทัน ที่จำเลยอ้างเหตุในการขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาว่า ทนายจำเลยได้ศึกษาข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์แล้วปรากฏว่ามีหลายประเด็นที่แตกต่างไปจากข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นซึ่งทนายจำเลยต้องทำรายงานเสนอคณะกรรมการบริษัทจำเลยพิจารณาอนุมัติยื่นฎีกา ระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอที่คณะกรรมการบริษัทจำเลยจะพิจารณาอนุมัติยื่นฎีกาและทนายจำเลยไม่สามารถจัดทำฎีกายื่นต่อศาลได้ทันนั้น ก็ไม่ปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาคือวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 ทนายจำเลยได้ดำเนินการไปถึงไหน เรื่องอยู่ในขั้นตอนใด และมีข้อขัดข้องอย่างไรที่ทำให้ทนายจำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาภายในเวลาที่ยังเหลืออยู่อีก 6 วันได้ทัน ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7525/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความให้อำนาจฎีกา และหน้าที่ของทนายความในการยื่นฎีกา
ใบแต่งทนายความให้อำนาจทนายจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย ทนายจำเลยจึงสามารถลงชื่อในคำฟ้องฎีกาแทนจำเลยได้โดยไม่ต้องสอบถามจำเลยก่อน ข้ออ้างของทนายจำเลยที่ว่า หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วจำเลยไม่เคยมาติดต่อทนายจำเลย ทำให้ไม่ทราบว่าจำเลยประสงค์จะว่าจ้างให้เป็นทนายความในชั้นฎีกาอีกต่อไปหรือไม่นั้น ข้ออ้างด้งกล่าวเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของทนายจำเลยเอง ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องนับต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม ไม่ใช่วันที่ยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542 เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด: เหตุผลความล่าช้าที่ไม่ฟังได้
นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้โจทก์ฟัง จนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในครั้งที่ 3 เป็นเวลายาวนานเกินกว่า 2 เดือน ทั้งคดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อนหากโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตได้แต่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งใกล้ครบกำหนดระยะเวลาฎีกาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายออกไป โจทก์จึงเพิ่งดำเนินการขอถ่ายเอกสาร การยื่นฎีกาไม่ทันตามกำหนดเช่นนี้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้รับเอกสารจากศาลชั้นต้นล่าช้าเพราะเครื่องถ่ายเอกสารใช้การไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น กรณีนับเป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาฎีกาให้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาที่ศาลอนุญาตโดยเริ่มนับวันจากวันหยุดราชการ ทำให้การยื่นฎีกาเกินกำหนด
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ ระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด - เหตุผลความไม่ทราบวันนัดเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ตามคำร้องจำเลยอ้างว่า จำเลยย้ายออกจากบ้านที่เจ้าพนักงานศาลไปปิดหมาย โดยให้ญาติเป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าว จำเลยจึงไม่ทราบนัดและมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพิ่งทราบการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้ว ขออนุญาตยื่นฎีกา โดยให้ศาลกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ในคำร้องจำเลยมิได้โต้แย้งว่า การส่งหมายนัดไม่ชอบแต่ประการใด เท่ากับเป็นการยอมรับว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีปิดหมายชอบแล้วการที่จำเลยมิได้อยู่บ้านจึงไม่ทราบวันนัด มาทราบภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดยื่นฎีกา จึงขออนุญาตฎีกา ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาโดยให้ศาลกำหนดเวลาให้จำเลย เท่ากับเป็นการขอขยายระยะเวลาในการยื่นฎีกา ซึ่งต้องพิจารณาคำร้องขอของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ แต่พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สำหรับกรณีของจำเลยปรากฏว่าเมื่อมีการส่งหมายนัดโดยชอบแล้วถือว่าจำเลยทราบวันนัด ที่จำเลยอ้างมาว่าไม่ทราบวันนัดเป็นการอ้างในเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยและชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การยื่นฎีกาโดยไม่ระบุข้อโต้แย้ง
จำเลยที่ 2 กล่าวในฎีกาว่า "ขอยื่นฎีกาต่อศาล เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำผิดในคดีนี้แต่ประการใด ถึงแม้ในการต่อสู้คดีของจำเลยนั้น พยานและคำให้การของจำเลยไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ก็ตาม แต่จำเลยก็ขอยืนยันคำให้การเดิมที่ได้ให้การไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาแต่อย่างใด ทั้งมิได้กล่าว-อ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ไม่ถูกต้องในข้อใดอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 เช่นนี้ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาข้ามกำหนด: เหตุขยายเวลาต้องเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจกะเกณฑ์ได้
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 19 สิงหาคม 2534 โจทก์ไม่ทำฎีกาและคำร้องยื่นขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาจนเหลือเวลาอีกเพียง 2 วัน จะครบกำหนดยื่นฎีกา จึงมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 25 วัน นับแต่วันครบกำหนดอ้างว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่น ทั้งที่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอีกนายหนึ่งยังรับราชการอยู่ที่ศาลชั้นต้นนั้นแม้โจทก์ประสงค์จะให้ผู้พิพากษาที่ย้ายไปเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกา ระยะเวลาหนึ่งเดือนก็เพียงพอที่จะดำเนินการได้ทันหากโจทก์รีบจัดการเสียแต่เมื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้ออ้างของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นฎีกา: หน้าที่ติดตามคำสั่งศาลและการยื่นเกินกำหนด
วันที่ 27 กรกฎาคม 2530 ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่28 กรกฎาคม 2530 ว่า อนุญาตให้ขยายได้ 7 วัน นับแต่วันสุดท้ายดังนี้ แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำสั่ง แต่ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายติดตามทราบคำสั่งศาลว่าอนุญาตให้ขยายเวลาหรือไม่เพียงใดก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา โจทก์กลับเพิกเฉย เพิ่งนำฎีกามายื่นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2530 และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เป็นการยื่นเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียมภายในกำหนด ทำให้ศาลไม่รับฎีกา
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาต และให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องวางและชำระต่อศาลมาวางภายใน 15 วัน จำเลยฎีกาคำสั่ง ศาลฎีกาสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยจึงได้นำค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระ เมื่อจำเลยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ย่อมถือว่าจำเลยมิได้ยื่นฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา จึงไม่เป็นฎีกาที่จะรับไว้พิจารณา