พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง: ศาลต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันเพื่อยุติข้อพิพาททั้งหมด
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การนัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องทำงานของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลถือได้ว่า คู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะมิได้กระทำในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็อยู่ในศาล ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงของถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเองก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้โดยชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์ในคดีเช็ค – เจตนาต้องชัดเจนในการยุติข้อพิพาททางอาญา
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และฟ้องเรียกเงินทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย คดีนี้จำเลย ให้การปฏิเสธ แต่ในระหว่างพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยได้เจรจา ตกลงกันโดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่ยอมรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์ยอมให้เวลาแก่จำเลยเพื่อ ให้จำเลยหาเงินมาชำระหนี้โดยยอมลดจำนวนเงินลง โดยให้ จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนด และโจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งด้วย เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยอมลดหนี้และให้โอกาสแก่จำเลย โดยโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญา จนกว่าจำเลยได้ชำระเงินตามข้อตกลงแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญา มาฟ้องจึงยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาท: การระงับสิทธิฟ้องคดีจากการนัดหยุดงาน
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย เมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกัน เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวน จึงย่อมมิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาทแรงงาน การระงับสิทธิฟ้องคดีเดิม
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยเมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามจะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่าในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกันเช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวนแล้ว มิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่าง การนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย ซึ่งรวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย และแม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ ระบุให้รวมการฟ้องคดีนี้ซึ่งได้ฟ้องก่อนทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับไปก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2440 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ระบุว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ย่อมระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยอมรับความรับผิดค่าเสียหายยุติประเด็นความประมาท
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์เสียหายปรากฏว่า กรณีเดียวกันนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกอัยการฟ้องต่อศาลทหารว่า ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกได้รับอันตรายแก่กายและอันตรายสาหัส ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยคดีถึงที่สุด แล้วโจทก์จำเลยแถลงศาลและศาลจดรายงานไว้ว่าฝ่ายโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย ตกลงกันให้ฝ่ายโจทก์จำเลยนำหลักฐานมา แสดงจำนวนค่าเสียหายเมื่อหักจำนวนค่าเสียหายของจำเลยจากค่าเสียหายของโจทก์แล้ว เหลือเท่าใด จำเลยยอมใช้เป็นจำนวนค่าเสียหายซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ตามที่ศาลจดรายงานดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงสละประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ โดยเฉพาะข้อที่ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของฝ่ายใดเสียแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายใดประมาทจึงยุติคงมีประเด็นเรื่องค่าเสียหายตามข้อตกลงของคู่ความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน ยุติข้อพิพาท แม้จะมีข้อโต้แย้งเรื่องความผิดสัญญาหรือความเสียหาย
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารเรียน โจทก์ใช้เหล็กเส้นผิดขนาดจากที่กำหนดไว้ในแบบในการก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าว โจทก์จึงบันทึกข้อความไว้ว่ายอมให้จำเลยหักเงินเป็นค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยกำหนดไว้ได้และจำเลยยินยอมให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไป โดยไม่ต้องรื้ออาคารที่ก่อสร้างไปแล้ว ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมาทำความตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ ปัญหาว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่หรือจำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นอันยุติไปแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีเหตุที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาอีก
การที่โจทก์บันทึกไว้ว่ายินดีให้หักเงินจำนวน 119,412 บาทก่อนหมายความว่าโจทก์ยอมให้หักไว้ก่อนตามจำนวนดังกล่าว โดยโจทก์ยินดีรับไปเฉพาะส่วนที่เหลือจากหักแล้ว
การที่โจทก์บันทึกไว้ว่ายินดีให้หักเงินจำนวน 119,412 บาทก่อนหมายความว่าโจทก์ยอมให้หักไว้ก่อนตามจำนวนดังกล่าว โดยโจทก์ยินดีรับไปเฉพาะส่วนที่เหลือจากหักแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าทายการรังวัด: ผลผูกพันตามสัญญาและการยุติข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนอยู่ ไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังฟ้องคู่ความตกลงท้ากันให้เจ้าพนักงานที่ดินสอบเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ ถ้าปรากฏว่าเรือนที่จำเลยปลูกอยู่ ปลูกอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังกล่าว หรือแต่บางส่วน จำเลยยอมแพ้ถ้าสอบแล้วปรากฏว่าเรือนที่จำเลยอยู่ไม่ได้ปลูกอยู่ไม่ได้ปลูกอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ โจทก์ยอมแพ้ ดังนี้เป็นเรื่องที่คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาลโดยมีเงื่อนไขให้ถือเอาการรังวัดสอบเขตของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นข้อแพ้ชนะระหว่างกัน ฉะนั้น เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการรังวัดส่งแผนที่มายังศาลปรากฏว่าเรือนที่จำเลยปลูกอยู่ปลูกอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คู่ความตกลงท้ากันครบถ้วนแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาคดีไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น จำเลยจะอ้างว่าเนื้อที่ดินที่เจ้าพนักงานรังวัดสอบเขตเกินไปจากเนื้อที่ในโฉนด 54 ตารางวา กรณีเป็นที่สงสัยว่าเรือนของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินส่วนที่เกินจะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปหาได้ไม่ เพราะที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่เท่าใดไม่เป็นประเด็นในคำท้า ข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นอันยุติไปตามคำท้านั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความมีผลยุติกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาท แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์โดยชัดแจ้ง
โจทก์เป็นบิดาจำเลย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์พิพาทอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกทรัพย์สินพิพาทนี้คืนครั้งหนึ่งแล้วและต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนคดีโดยแถลงว่า โจทก์ไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไป โดยได้ทำสัญญาตกลงระงับข้อพิพาทกับจำเลยฉบับหนึ่งมีข้อความกล่าวอ้างถึงคดีที่ฟ้องนั้น และมีข้อความกล่าวถึงหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่พิพาท โจทก์จำเลยได้ตกลงให้กรรมสิทธิ์อยู่แก่ใคร เช่นนี้เมื่อทรัพย์พิพาทอยู่ในความปกครองของจำเลย และโจทก์ตกลงทำประนีประนอมกับจำเลยดังกล่าวก็ต้องตีความว่าโจทก์ได้ตกลงไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ของจำเลยต่อไปแล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินและข้อสัญญาต่างๆ ที่จำเลยให้ไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทจากจำเลยอีก