พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: การยุติคดีเมื่อไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องหมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกา ฎีกาของโจทก์ร่วมก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานและการยุติของประเด็นคดี
พยานหลักฐานใดที่เกี่ยวพันกับประเด็นในคดี ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามลำดับประเด็นแห่งคดี แต่เมื่อผลคำวินิจฉัยฟังเป็นยุติโดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับพยานหลักฐานนั้น หรือการวินิจฉัยถึงพยานหลักฐานเหล่านั้นต่อไปได้ การที่ศาลได้วินิจฉัยผลแห่งคดีว่า การซื้อนาฬิกาของจำเลยเป็นโมฆียะและจำเลยบอกล้างแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกันเช่นนี้ จึงหาจำต้องพิจารณาว่ามีข้อตกลงว่าหากเป็นของปลอมจะต้องคืนของหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ยุติบังคับคดีและสร้างสิทธิใหม่
คดีนี้ถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำนวน 9 ส่วนใน 21 ส่วน ในระหว่างบังคับคดีโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยศาลชั้นต้นรับรู้เป็นผู้ทำให้มีข้อตกลงกันไม่ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนี้ และให้ยุติคดีทุกคดีทั้งคดีที่พิพากษาแล้วและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินกันใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสี่ได้ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อหน้าศาลแล้ว จึงเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โดยมีผลทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852การบังคับคดีนี้และมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาจึงเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ จำเลยทั้งสี่จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยตามสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจะกลับมาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งมูลหนี้ระงับไปแล้วหาได้ไม่.(อ้าง ฎีกา 626/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความยุติคดีแล้ว ห้ามเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากการเลิกจ้าง
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอฟ้องคดีอนาถาและการยุติของประเด็นคดี การนำเสนอหลักฐานเพิ่มเติมเฉพาะเรื่องความยากจน
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่เชื่อว่าโจทก์เป็นคนยากจน และคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนอีก แม้ตามคำร้องจะแสดงให้เห็นด้วยว่าโจทก์ประสงค์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้องก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมในข้อที่ว่าตนเป็นคนยากจนแต่ประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นปัญหาที่ว่าคดีโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้องหรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้ได้ความว่าโจทก์เป็นคนยากจน ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของโจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคดีของโจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการอุทธรณ์จำเลยเพียงคนเดียว และการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาเดิมเมื่อคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกคนยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์โดยแบ่งความรับผิดให้จำเลยที่ 2 รับผิดเพียงหนึ่งในสามส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์คัดค้าน คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดคนละครึ่ง เมื่อหนี้ดังกล่าวศาลแบ่งความรับผิดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว จึงมิใช่การชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กลับเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 โดยเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพิ่มมากขึ้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจชี้ขาดว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลกับจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์จึงจะขอให้ออกคำบังคับเอาชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ครึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งและอาญาแยกกัน ประนีประนอมแพ่งไม่กระทบคดีอาญา
คดีแพ่งและคดีอาญาเป็นคนละส่วนกันฉะนั้น แม้เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาต่อศาลจังหวัดแต่ศาลจังหวัดไม่รับฟ้องคดีส่วนอาญา เพราะอยู่ในอำนาจศาลแขวง คงรับฟ้องเฉพาะคดีส่วนแพ่ง แล้วคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเฉพาะในข้อหาทางแพ่ง แต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ยอมเลิกคดีอาญากับจำเลยด้วยนั้น คดีอาญาย่อมไม่ระงับไป ส่วนการที่จำเลยประนีประนอมยอมรับผิดทางแพ่งนั้นก็มีผลเพียงไม่ต้องดำเนินคดีในทางแพ่งต่อไปเท่านั้นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความยุติคดีอาญา: ผลผูกพันและอำนาจฟ้องของอัยการ
อัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยบุกรุกขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.327
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยตกลงยอมขยับรั้วเข้ามาตามแนวที่ศาลชี้ ทนายโจทก์ร่วมและผู้รับมอบฉันทะจากผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ ได้ยอมรับข้อตกลงนี้และแถลงว่าจะได้ถอนฟ้องให้เสร็จไป ดังนี้ถือว่าทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. ม.850,851,852
เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามยอมแล้วคดีก็ระงับไปตาม ป.วิ.อาญา ม.39 (2) การที่โจทก์ร่วมว่าจะถอนฟ้องเมื่อจำเลยปฏิบัติแล้วนั้น ก็มีความหมายเพียงเพื่อให้ศาลจำหนายคดีเสร็จไปตามวิธีปฏิบัติของศาลทั้งจะถอนหรือไม่ถอนก็มีผลไม่ต่างกันและอัยการไม่มีสิทธิจะดำเนินคดีต่อไปได้.
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยตกลงยอมขยับรั้วเข้ามาตามแนวที่ศาลชี้ ทนายโจทก์ร่วมและผู้รับมอบฉันทะจากผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ ได้ยอมรับข้อตกลงนี้และแถลงว่าจะได้ถอนฟ้องให้เสร็จไป ดังนี้ถือว่าทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. ม.850,851,852
เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามยอมแล้วคดีก็ระงับไปตาม ป.วิ.อาญา ม.39 (2) การที่โจทก์ร่วมว่าจะถอนฟ้องเมื่อจำเลยปฏิบัติแล้วนั้น ก็มีความหมายเพียงเพื่อให้ศาลจำหนายคดีเสร็จไปตามวิธีปฏิบัติของศาลทั้งจะถอนหรือไม่ถอนก็มีผลไม่ต่างกันและอัยการไม่มีสิทธิจะดำเนินคดีต่อไปได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา: การยุติคดีเฉพาะจำเลยเมื่อโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยลงโทษ
จำเลยผู้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว และโจทก์เห็นพ้องด้วย ไม่ติดใจอุทธรณ์ขึ้นมา คดีเฉพาะตัวจำเลยผู้นั้นจึงเป็นอันยุติเพียงศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะกลับยกขึ้นมาวินิจฉัยชี้ขาดลงโทษจำเลยผู้นั้นด้วยหาได้ไม่