คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยุทธภัณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าอาวุธปืนเพื่อจำหน่ายข้าราชการ ไม่ถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นอากร
การที่กองทัพอากาศจำเลยได้ทำการจัดซื้ออาวุธปืนพกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัด โดยใช้เงินที่ได้มาจากข้าราชการที่ต้องการจะมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ใช้ ซึ่งจำเลยจะหักเงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นใช้หนี้จนครบ และมีข้อกำหนดว่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี ข้าราชการผู้ซื้ออาวุธปืนดังกล่าวจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าอาวุธปืนพกเพื่อจำหน่ายข้าราชการ มิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นอากร
การที่จำเลยเป็นผู้จัดซื้ออาวุธปืนพกโดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัดแล้วให้ต้นสังกัดของข้าราชการดังกล่าวหักเงินเดือนของข้าราชการผู้ประสงค์จะมีอาวุธปืนพกไว้ประจำกายใช้หนี้จนครบจำนวนนั้น เป็นกรณีที่จำเลยนำเข้าอาวุธปืนพกเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัวไม่เกี่ยวกับราชการ จึงไม่ถือว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันจะได้รับการยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 5 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากรให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7261/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้ายุทธภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญาและการยกเลิกการยกเว้นอากร ภาษีอากรยังคงต้องชำระ
โจทก์นำเครื่องเอกซเรย์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรมตำรวจตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ได้ทำกับสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังแม้จะเป็นยุทธภัณฑ์แต่เมื่อกรมตำรวจมิได้รับเครื่องเอกซเรย์ไว้ในราชการและโจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์กลับคืนไปให้บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วเครื่องเอกซเรย์จึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการซึ่งได้ยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2530ภาค4ประเภท13 การที่กรมศุลกากรจำเลยได้อนุมัติให้ยกเว้นอากรสำหรับเครื่องเอกซเรย์ที่จำเลยนำเข้าเนื่องจากจำเลยได้รับหนังสือขอยกเว้นภาษีอากรขาเข้าจากกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมาจำเลยได้รับแจ้งจากกรมตำรวจผู้ที่จะรับเครื่องเอกซเรย์ไว้ใช้จากสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังผู้ซื้อจากโจทก์ว่าเครื่องเอกซเรย์ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายและโจทก์ได้ส่งคืนบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วจำเลยชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการยกเว้นอากรได้เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรขาเข้าให้จำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา41,10ทวิวรรคหนึ่งการที่โจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์คืนให้แก่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ใช้ประโยชน์อย่างใดในราชอาณาจักรไม่ทำให้ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องเสียภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการนำเข้าสำเร็จซึ่งโจทก์มีสิทธิจะจัดการกับสินค้าของโจทก์อย่างไรก็ได้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีอากรให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ การเลิกสัญญาส่งผลให้สิทธิการยกเว้นอากรไม่เกิดขึ้น
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติว่าการขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นจะต้องยื่นคำร้องขอคืนตามแบบที่กำหนดไว้ การขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นอากรจึงไม่ต้องยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดไว้ ดังนั้น แม้ใบขอคืนเงินจะระบุแต่ชื่อโจทก์และจำนวนเงินอากรที่ขอคืนเท่านั้น มิได้ระบุรายละเอียดอื่นจำเลยก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องคืนเงินอากรให้แก่โจทก์หรือไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์ โจกท์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์กับกรมอู่ทหารเรือทำสัญญาซื้อขายสินค้าพิพาท และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้า เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหารแต่ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบเป็นสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร มิใช่จากประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะประกาศสอบราคาและทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและผ่านพิธีการทางศุลกากรเสร็จสิ้นแล้ว โดยชำระค่าอากรขาเข้าเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการไปแล้วไปส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าไปด้วย