คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้อนสำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661-6664/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบเฉพาะจำเลย และการรับฟังพยานหลักฐานหลังย้อนสำนวน
ในวันที่ศาลชั้นต้นเริ่มทำการสืบพยาน จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2 มาศาล ที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานไปโดยมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาให้ชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 ส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยชอบ จึงต้องสืบพยานใหม่เฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสี่เบิกความไว้ก่อนที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนจึงใช้เป็นพยานหลักฐานระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ได้ ไม่มีข้อได้เปรียบในเชิงคดีระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661-6664/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้อนสำนวน – การรับฟังพยานเดิม – กระบวนการพิจารณาชอบ – ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำการสืบพยาน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ขาดนัดพิจารณาและทำไว้ก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ย้อนสำนวนเป็นไปโดยชอบ ต้องสืบพยานใหม่เฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ศาลชั้นต้นหยิบยกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่เป็นการผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลย ศาลฎีกายกให้ย้อนสำนวน
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในส่วนความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านช่องทางที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และมิได้ผ่านการตรวจอนุญาต กับฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคำฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ และในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้กล่าวหาจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดสองกระทงนี้แต่อย่างใด ส่วนจำเลยมีพยานหลักฐานตามเอกสารหมาย ล. 1 ถึง ล. 3 มาพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ดังที่โจทก์ฟ้องและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดสองกระทงนี้ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาโดยผิดหลงไปว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดสองกระทงนี้ด้วย และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยในความผิดสองกระทงนี้ โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่สำหรับความผิดสองกระทงดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เรือนจำกลางบางขวางแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ทราบเพื่อมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีและการย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาปัญหาที่ศาลล่างยังไม่ได้วินิจฉัย
ปัญหาข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้าน ว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้อง จึงเป็นอันยุติ
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะเหตุใด
ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์และคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวนหากศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ครบถ้วนตามข้อหาที่ฟ้อง และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและอำนาจศาลในการย้อนสำนวนคดีแพ่ง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่วินิจฉัย ทำให้จำกัดสิทธิฎีกา ย้อนสำนวนให้พิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งบางส่วนและศาลอุทธรณ์ยังคงวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์ชำระเท่ากับจำนวนค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างชนะคดีตามฟ้องและฟ้องแย้งบางส่วน แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้ยกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยในส่วนค่าเสียหาย จึงไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยมา ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษา ทั้งผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243(1)
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินเนื่องจากประพฤติเนรคุณและการไม่วินิจฉัยเนื้อที่ดินที่ยกให้ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวน
++ เรื่อง ให้ เพิกถอนนิติกรรม ++
++ ข้อมูล MS-Word
++ คำพิพากษาสั่งออก-รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว
++ ย่อแล้ว โปรดติดต่อส่วนนิติการ /หรืองานห้องสมุด
++ ย่อไม่เป็นทางการ
++
++ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลง เพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตาม ป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. เกี่ยวกับการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ ทำให้ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกน้ำมันโดยประมาทเลินเล่อชนท้ายรถโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และบรรยายในคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เพื่อวินิจฉัยว่าความประมาทเลินเล่อเกิดจากฝ่ายใด และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกแล้ว จำเลยร่วมที่ 2 ให้การปฏิเสธว่า จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ในขณะเดียวกันก็ให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ซึ่งเป็นการโต้แย้งทั้งโจทก์และจำเลยทั้งห้า แสดงให้เห็นว่าทั้งสามฝ่ายต่างโต้แย้งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งห้ายังคงอุทธรณ์อ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 นอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แต่ละฝ่ายแก้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 โดยไม่สั่งให้จำเลยแต่ละฝ่ายส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อยื่นคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 235 เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนให้กลับไปดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2), 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้มีการยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งห้าก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
of 12