พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายภาระจำยอมไม่กระทบสิทธิใช้ทางของโจทก์ และความล่าช้าในการฟ้องร้องแสดงว่าไม่ใช่ทางสะดวก
ตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่าการย้ายภาระจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงประการใดบ้าง เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าการย้ายภาระจำยอมดังกล่าวทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงเท่านั้น และทางที่เปิดเป็นภาระจำยอมขึ้นใหม่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24612 ก็ปรากฏว่าเป็นทางเชื่อมต่อกับที่ดินว่างเปล่าพื้นเทคอนกรีตในที่ดินโฉนดเลขที่ 1157 ของจำเลยที่ 1 ออกสู่ถนนโดยสะดวก ทั้งจำเลยที่ 1ก็ดำเนินการปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทเดิมตั้งแต่ปี 2525 หากทางพิพาทเป็นทางที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ผ่านเข้าออกโดยสะดวกอยู่ก่อนแล้วโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็น่าจะรีบดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำทางพิพาทในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็เพิ่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2527 โดยมีโจทก์ที่ 3 ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 5ถึงที่ 10 มาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังซึ่งเป็นเวลาหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างตึกแถวนานถึง 2 ปี และเป็นเวลาหลังจากทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเป็นเวลาหลังจากโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไปแล้วอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทางพิพาทที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้ผ่านเข้าออกมาแต่เดิมนั้นไม่ใช่ทางที่ผ่านเข้าออกโดยสะดวก ถือได้ว่าการย้ายภาระจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5 ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลง นอกจากนี้ก็ปรากฏว่าตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทกว้างประมาณ 3 ถึง 4 เมตร จำนวนตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาก็มีถึง 12 คูหา ซึ่งเห็นได้ว่าหากมีการรื้อตึกแถวในส่วนที่รุกล้ำเข้ามาทุกคูหาย่อมเกิดความเสียหายมากการย้ายภาระจำยอมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และเป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการ: การสั่งย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว vs. การย้ายประจำ และผลของการสละสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้าง คนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14(1)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใด ที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกินระยะเวลาข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้นสำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการ ส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างเหตุผู้พิพากษาโยกย้ายไม่เพียงพอ
การขอขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. หรือตามที่ศาลกำหนดไว้ หรือตามกฎหมายอื่นให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษโจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 วันที่ 19 สิงหาคม 2534 แต่ไม่ทำฎีกาและยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาจนเวลาล่วงเลยไปถึงวันที่ 17 กันยายน 2534 ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 2 วันจะครบกำหนดยื่นฎีกากลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาอ้างว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นย้ายไปรับราชการศาลอื่น ทั้งที่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอีกนายยังรับราชการที่ศาลชั้นต้นนั้นเอง และถึงแม้โจทก์จะให้ผู้พิพากษาที่ย้ายไปเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกา ระยะเวลาภายในหนึ่งเดือนก็เพียงพอที่จะดำเนินการหากโจทก์รีบจัดการเสียแต่เนิ่น ๆ ข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ จึงไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันในฐานะตำแหน่งหน้าที่ราชการผูกพันเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้น เมื่อย้ายแล้วพ้นความรับผิดชอบ
นายอำเภอค้ำประกันการชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อปุ๋ยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ตามคำสั่งของกรมการปกครอง มิใช่ค้ำประกันในฐานะส่วนตัวสัญญาค้ำประกันดังกล่าวผูกพันผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้น เมื่อนายอำเภอย้ายไปย่อมหมดความรับผิดชอบ นายอำเภอผู้ย้ายมาแทนก็ต้องรับผิดชอบต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายภารจำยอมในชั้นบังคับคดี: จำเลยมิอาจยกข้ออ้างใหม่ได้หากก่อให้เกิดประเด็นต้องสืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยจะยกสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 3192 ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีไม่ได้ เพราะเป็นการก่อให้เกิดประเด็นขึ้นใหม่ว่า การย้ายต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานหลักฐานชี้ขาด ถ้าโจทก์ไม่ตกลงยินยอมในการย้าย จำเลยก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้ออ้างการย้ายภารจำยอมในชั้นบังคับคดีเป็นประเด็นใหม่ ต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
เมื่อศาลพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภารจำยอมแล้วจำเลยจะยกสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีไม่ได้ เพราะเป็นการก่อให้เกิดประเด็นขึ้นใหม่ว่า การย้ายต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์น้อยลง ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานหลักฐานชี้ขาด ฉะนั้นถ้าโจทก์ไม่ตกลงยินยอมในการย้าย จำเลยก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับของประกาศทางปกครองหลังข้าราชการผู้ลงนามย้าย: ประกาศยังใช้บังคับได้
แม้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้ลงชื่อในประกาศควบคุมฯ จะย้ายไปรับราชการที่อื่น ประกาศนั้นก็ไม่ยกเลิก ยังใช้บังคับได้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดให้เรียกประชุมสมาชิกเทศบาลเป็นอันไร้ผลเมื่อข้าหลวงฯ ย้ายไปแล้ว
สมาชิกเทศบาลฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัด นั้นโดยระบุชื่อข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเรียกประชุมสมาชิกเทศบาลตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2486 มาตรา 33 เมื่อปรากฎว่าข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นย้ายไปจังหวัดอื่นเสียแล้วแม้ฟ้องดังกล่าวศาลจะรับวินิจฉัยได้ ก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นจัดให้มีการประชุมตามคำขอของโจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันไร้ผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดให้เรียกประชุมเทศบาลเป็นอันไร้ผลเมื่อจำเลยย้ายไปแล้ว
สมาชิกเทศบาลฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัด นั้น โดยระบุชื่อข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเรียกประชุมสมาชิกเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2486 มาตรา 33 เมื่อปรากฏว่าข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นย้ายไปจังหวัดอื่นเสียแล้วแม้ฟ้องดังกล่าวศาลจะรับวินิจฉัยได้ ก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นจัดให้มีการประชุมตามคำขอของโจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันไร้ผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9585/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้พิพากษาทำคำพิพากษาหลังย้ายไปรับราชการอื่น และการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) การที่ศาลอุทธณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่มิได้สั่งให้ทำคำพิพากษาใหม่แต่เพียงประการเดียว ถือได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากฎีกาของจำเลยว่า ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี นั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้ ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปได้ เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายให้ ว. นั่งพิจารณาคดีแทน ว. จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทำคำพิพากษาทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีต่อไปได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3)