คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้ายลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายลูกจ้างไปทำงานที่สถานประกอบกิจการเดิมของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการย้ายสถานประกอบกิจการตามกฎหมาย
จำเลยมีคำสั่งปิดสำนักงานแผนกการขายที่กรุงเทพมหานครและย้ายพนักงานขายทั้งหมดไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดภูเก็ต โดยขณะจำเลยสั่งย้ายโจทก์จำเลยมีสถานประกอบกิจการที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นกรณีนายจ้างสั่งย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานที่สถานประกอบกิจการของนายจ้างอีกแห่งหนึ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ จึงไม่เป็นกรณีที่จำเลยย้ายสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยพิเศษและค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไป ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีก เช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีก โดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 และมาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้าง การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไป ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน 2 ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีก เช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีก โดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 31และมาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไปไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือการที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน2ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง2ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีกเช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีกโดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา31และมาตรา52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างในการย้ายลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยชอบธรรมเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
การที่ลูกจ้างแจ้งความชำนาญหรือความถนัดของตนในการสมัครงานและนายจ้างมีคำสั่งรับเข้าทำงานในแผนกใดแล้ว ไม่เป็นการผูกพันนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในแผนกนั้นตลอดไป หากต่อมามีความจำเป็น มีความเหมาะสม นายจ้างมีอำนาจย้ายลูกจ้างไปทำงานในแผนกอื่นในบริษัทเดียวกันโดยลูกจ้างคงได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมได้
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105-4108/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายลูกจ้างและการเลิกจ้าง: การละทิ้งหน้าที่และสิทธิของนายจ้างในการสั่งย้ายโดยชอบด้วยข้อบังคับ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยบทที่ 7 ระเบียบวินัย โทษทางวินัย และการทำงานอย่างมีระเบียบข้อ 47 ระบุว่าจำเลยมีสิทธิโอนย้ายลูกจ้างจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งของจำเลยได้โดยไม่มีข้อความระบุว่าจำเลยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างในการย้ายก่อน ดังนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดเชียงใหม่ไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดอื่นๆ จึงเป็นการย้ายโดยจำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานบทที่ 7 ข้อ 47 แม้การย้ายสถานที่ทำงานจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันในครอบครัวของผู้ถูกย้ายก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตำแหน่งใหม่ที่จำเลยสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ไปทำงานและค่าจ้างที่ได้รับก็ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำอื่นที่เป็นการกลั่นแกล้งย้ายโจทก์ทั้งสี่ คำสั่งย้ายของจำเลยจึงชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้าย เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้ายจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ในตำแหน่งใหม่โดยไม่มีเหตุอันสมควร แม้โจทก์ทั้งสี่จะยังคงปฏิบัติงานตามหน้าที่เดิมที่จังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ใหม่ในวันที่ 18 เมษายน 2548 แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติงานจนถึงวันที่ 20 เมษายน 2548 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (5)
โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างแรงงานและตาม ป.พ.พ. ที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งย้ายดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามโดยไม่ไปทำงานในหน้าที่ใหม่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้ายจึงเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ทั้งสี่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสี่