คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้ายแนวทาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605-606/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้เริ่มจากสิทธิสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ และการย้ายแนวทางภารจำยอม
บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิเมื่อโจทก์ไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญา ในฐานะบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินที่จำเลยรับมรดกจากบิดาเกิน 10 ปี แม้เดิมโจทก์จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเดินผ่าน ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม
ทางพิพาทหากอยู่ตรงกลางที่ดินของจำเลย จะทำให้เสียที่ดินซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลย และใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร การย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลย ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลง จำเลยจึงสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และการจดทะเบียนทางภารจำยอม
โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ใช้ทางในที่ดินของจำเลย ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก่อนปี 2498ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวล้วนแต่อยู่ในตระกูล ของ โจทก์ทั้งสิ้น การใช้ทางในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการ ขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติหรือโดยถือวิสาสะ จึงไม่อาจได้ ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2498 ที่ ส. ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกไปและมีการโอนกันต่อ ๆมาจนถึงจำเลยซึ่งรับโอนเมื่อปี 2526 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางของโจทก์และคนในครอบครัวเป็นไปโดยสงบและเปิดเผย มิได้ขออนุญาตจากผู้ใด จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทางสาธารณะที่โจทก์สามารถใช้สัญจรไปมาได้อยู่แล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ยังถือไม่ได้ว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางในที่ดินของจำเลยที่โจทก์ใช้เดินออกสู่ถนนพระรามที่ 3 อยู่จึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยให้การว่า โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ไม่เคยใช้ ทางบนที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่มีทางภารจำยอมคำให้การดังกล่าวย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วยการที่ศาลวินิจฉัยไปถึงความกว้างของทางภารจำยอมว่ามีความกว้าง 1 เมตร จึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การ ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร โจทก์ใช้ทางพิพาทไม่สะดวก ทั้งการสร้างรั้วหรืออาคารในที่ดินของจำเลยโดยเว้นทางพิพาทไว้ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางด้านทิศใต้เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์จากที่ดินทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากได้ย้ายทางไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้แล้วย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลงกลับจะทำให้โจทก์เดินระยะทางสั้นเข้าเพราะไม่ต้องเดินวกไป ทางขวามากดังที่เป็นอยู่เดิม และการย้ายภารจำยอมเป็น ประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมนั้นพึงต้องถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่ง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 แม้โจทก์จะได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบที่จะเรียกให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้ โจทก์สร้างสะพานไม้ใช้เดินเข้าออกบนทางภารจำยอมเนื่องจากน้ำท่วม บางครั้งต้องเดินลุยน้ำแต่หากท่วมมากก็ต้องถอดกางเกงแล้วเดินออกไป ดังนั้นที่จำเลยถมดินทำให้ทางภารจำยอมสูงกว่าระดับที่ดินของโจทก์ก็ยิ่งทำให้โจทก์ ได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้นไม่ต้องเดินสะพานไม้อีกต่อไปการถมดินของจำเลยจึงมิได้ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกย่อมทำได้