พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'รถ' ทางกฎหมาย: รถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วงเข้าข่ายรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายหรือไม่
ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ให้ความหมายคำว่า รถ ไว้ว่า หมายความว่า รถยนต์? และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกตามความใน พ.ร.บ. รถยนต์ ฯ ข้อ 1 วรรคหนึ่ง ว่า ให้รถใช้งานเกษตรกรรมเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และวรรคสองความว่า รถใช้งานเกษตรกรรมตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รถที่ผลิตหรือประกอบขึ้นเพื่อใช้งานเกษตรกรรมโดยใช้เครื่องยนต์ซึ่งมิได้ใช้สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะมาติดตั้ง ส่วนข้อ 2 มีความว่า รถใช้งานเกษตรกรรมต้องเป็นรถที่มีสามล้อ หรือสี่ล้อ? กว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร? เมื่อรถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วง มีล้อ 4 ล้อ คือ 2 ล้อหน้าเป็นส่วนตัวรถไถนาแบบเดินตาม ส่วน 2 ล้อหลัง เป็นส่วนกระบะที่ดัดแปลงมาพ่วงต่อใช้เป็นส่วนให้คนนั่งหรือบรรทุกพืชผักผลไม้ได้ โดยแล่นไปโดยอาศัยเครื่องยนต์ของรถไถนาแบบเดินตามส่วนหน้านั้นเอง ไม่ได้อาศัยเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะมาติดตั้ง ดังนั้น จึงครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) รถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วงจึงเป็นรถใช้งานเกษตรกรรมและเป็นรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถเข็นไม่ใช่ 'รถ' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ หากไม่ได้ใช้เพื่อขนส่งบุคคลหรือทรัพย์สิน
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (15) บัญญัตินิยามคำว่า "รถ" ไว้ว่า ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถรางทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า"ยาน" คือ เครื่องนำไป พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ"คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่ายานพาหนะกับกำหนดความหมายของคำว่า "ขับ" คือ บังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือดังนี้ "รถเข็น" ของจำเลยเป็นเพียงวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ใช้ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บัญญัตินิยามไว้ดังกล่าว และย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถเข็นไม่ใช่ 'รถ' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 78, 160
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำว่า "รถ" ไว้ว่า ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถรางทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" คือ เครื่องนำไปพาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ" คือ เครื่องนำไปเครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่ายานพาหนะกับกำหนดความหมายของคำว่า "ขับ" คือ บังคับให้เคลื่อนไป เช่นขับรถ ขับเรือ ดังนี้ "รถเข็น" ของจำเลยเป็นเพียงวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ใช้ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ"ตามความหมายที่บัญญัตินิยามไว้ดังกล่าว และย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถเข็นไม่จัดเป็น 'รถ' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไม่ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 78
พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำว่า"รถ" ไว้ว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง กับตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" และ "พาหนะ" ไว้ โดยคำว่า "ยาน" คือ เครื่องนำไป พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ" คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือ เป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ กับกำหนดความหมายของคำว่า"ขับ" คือบังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ เป็นต้น
จำเลยเข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ทางถนนสายจอมทอง - เชียงใหม่ และถูกรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับตามหลังมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายและ ส. ถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยหลบหนีไปไม่ช่วยเหลือ ดังนี้ เมื่อรถเข็นของจำเลยเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าวและย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
จำเลยเข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ทางถนนสายจอมทอง - เชียงใหม่ และถูกรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับตามหลังมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายและ ส. ถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยหลบหนีไปไม่ช่วยเหลือ ดังนี้ เมื่อรถเข็นของจำเลยเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าวและย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าขโมยในรถที่ไม่มีร่องรอยงัดแงะ ถือเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตาม แต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไปถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถ-รู้เห็นการกระทำผิด
กุญแจที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ของกลางมีจำนวน 2 ชุด โดยชุดหนึ่งแขวนไว้ในบ้านเพื่อให้บุคคลในบ้านสามารถหยิบไปใช้ได้ ส่วนอีกชุดหนึ่งจะเก็บรักษาไว้สำหรับเมื่อกุญแจที่แขวนไว้ดังกล่าวสูญหาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ร้อง และส่วนใหญ่จำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5663/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถจากการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ติดปัญหาเลขทะเบียนซ้ำ ศาลไม่อำนาจสั่งจดทะเบียน
ป. ซื้อรถยนต์บรรทุกจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ป. ขายต่อให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนขนส่งจังหวัด เพื่อจดทะเบียนการโอนย้ายและเปลี่ยนทะเบียนใหม่ แต่นายทะเบียนไม่สามารถจดทะเบียนการโอนได้เพราะหมายเลขทะเบียนซ้ำกับทะเบียนรถคันอื่น ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนขนส่งจังหวัดจดทะเบียนรถให้แก่ผู้ร้อง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ในอันที่จะยื่นคำร้องเข้ามาในคดีในชั้นรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินได้ หากผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกับผู้เกี่ยวข้องต่างหากจากคดีในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถจากการซื้อขาย แม้ยังมิได้โอนทะเบียน ผู้ซื้อมีสิทธิขอรถคืนจากผู้กระทำผิด
บ.ขายรถคันพิพาทให้แก่ผู้ร้องผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถคันพิพาทส่วนการเปลี่ยนแปลงรายการเจ้าของรถในใบคู่มือจดทะเบียนนั้นไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนเป็นเจ้าของรถเสมอไปเพราะใบคู่มือจดทะเบียนเป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่มีขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมรถและในการจัดเก็บค่าภาษีของรถทางราชการที่วางระเบียบไว้เท่านั้นผู้โอนและผู้รับโอนจะไปจัดการโอนทางทะเบียนให้แก่กันเมื่อใดก็ได้ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของรถคันพิพาทและไม่รู้เห็นเป็นใจในการที่จำเลยนำรถไปใช้ในการกระทำความผิดผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะร้องขอรถของกลางคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับคืน แม้จำเลยใช้รถกระทำผิด
เดิมรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบเป็นของ ว.ซึ่งจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอเช่าซื้อมา แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1มีเงินไม่พอจึงไปติดต่อผู้ร้องเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องจึงได้ซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาจาก ว. และได้ให้จำเลยที่ 1เช่าซื้ออีกทอดหนึ่ง ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์จึงตกเป็นของผู้ร้องแล้วโดยผู้ร้องไม่จำเป็นต้องเอารถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องก่อน และไม่จำต้องโอนใส่ชื่อผู้ร้องในคู่มือการจดทะเบียนด้วย ทั้งการทำสัญญาเช่าซื้อนี้ก็มิใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินของจำเลยที่ 1 เพื่อไปซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย เมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5063/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบรถเพื่อตีชำระหนี้ ตกลงราคากันไม่ได้ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถไว้เป็นประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบรถแทรกเตอร์ จำนวน 1 คันไปจากโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์นำรถแทรกเตอร์ มามอบให้จำเลยเพื่อตีราคาชำระหนี้ แต่โจทก์จำเลยตกลงราคากันไม่ได้ จำเลยจึงยึดหน่วงรถไว้เป็นหลักประกัน ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ได้นำรถแทรกเตอร์ ไปมอบให้แก่จำเลยเพียงคันเดียวและครั้งเดียว จำเลยเข้าใจดีแล้วว่ารถแทรกเตอร์ คันที่ได้รับมอบจากโจทก์เป็นรถคันพิพาทและได้ให้การต่อสู้คดีอย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์นำรถพิพาทไปตีชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย แต่ตกลงราคารถกันไม่ได้ ดังนี้ จำเลยต้องคืนรถพิพาทให้โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถไว้เป็นประกัน เพราะไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยรถคันพิพาทที่จำเลยครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 241
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบรถพิพาทคืนให้โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์นำรถพิพาทมาตีชำระหนี้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยจะฎีกาว่าเป็นเรื่องหักกลบลบหนี้ไม่ได้ เพราะการหักกลบลบหนี้กับเรื่องนำทรัพย์มาตีชำระหนี้เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เรื่องการหักกลบลบหนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้ให้
โจทก์นำรถพิพาทไปตีชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลย แต่ตกลงราคารถกันไม่ได้ ดังนี้ จำเลยต้องคืนรถพิพาทให้โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถไว้เป็นประกัน เพราะไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยรถคันพิพาทที่จำเลยครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 241
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบรถพิพาทคืนให้โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์นำรถพิพาทมาตีชำระหนี้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยจะฎีกาว่าเป็นเรื่องหักกลบลบหนี้ไม่ได้ เพราะการหักกลบลบหนี้กับเรื่องนำทรัพย์มาตีชำระหนี้เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เรื่องการหักกลบลบหนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้ให้