คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถกระบะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงรถกระบะเป็นรถยนต์นั่ง และการถือว่าการดัดแปลงสิ้นสุดเมื่อนำไปใช้บนถนน
การที่จำเลยได้ดัดแปลงสภาพรถยนต์กระบะโดยติดตั้งหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างคนขับมีประตูและด้านหลังคนขับมีที่นั่ง 2 ที่ แม้ที่นั่งดังกล่าวยังไม่มีการร้อยนอต เพียงแต่ใช้ไม้รองและใช้ลวดมัดแทน ก็ตาม สภาพของรถยนต์ภายหลังดัดแปลงตรงตามนิยามคำว่า "รถยนต์นั่ง" ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 5 ครบถ้วน ทั้งได้ความว่าจำเลยนำรถยนต์ไปใช้ขับบนท้องถนนแล้วเช่นนี้ จึงถือว่าการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามความในมาตรา 144 จัตวา (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในรถโดยไม่รื้อค้นถือว่าผ่านสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตามแต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไปถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามป.อ.มาตรา 335(3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถยนต์โฟล์คสวาเกน กอล์ฟ แบบ 3 ประตู เข้าข่ายเป็นรถยนต์นั่งเสียภาษีสรรพสามิต ไม่ใช่รถกระบะ
การพิจารณาว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์นั่งที่ต้องเสียภาษี-สรรพสามิตหรือเป็นรถยนต์กระบะ (รถบรรทุกชนิดแวน) ที่ไม่ต้องเสียภาษี-สรรพสามิตนั้นจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534มาตรา 4 และตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ตอนที่ 5 รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกนตรงท้ายรถด้านหลังมีอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า GOLF CL ลักษณะที่นั่งตอนหน้าเป็นเบาะคู่ มีที่นั่งคนขับ 1 ที่นั่งและที่นั่งผู้โดยสารอยู่ติดกับที่นั่งคนขับ บริเวณตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของรถมีแผ่นเหล็กเชื่อมติดตายเป็นแผ่นทึบ ส่วนของหลังคาเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันตลอดทั้งคัน ส่วนท้ายของรถเป็นประตูชิ้นเดียวเปิดยกขึ้น โดยส่วนบนของประตูเป็นกระจก ส่วนล่างเป็นแผ่นเหล็ก ภายในตัวรถแบ่งเป็น 2 ส่วนส่วนหน้าเป็นที่นั่งคนขับ ด้านหลังไม่มีที่นั่งผู้โดยสาร แต่เป็นพื้นไม้อัดแผ่นเรียบระหว่างที่นั่งตอนหน้าและส่วนพื้นด้านหลังมีแผ่นเหล็กกั้น ภายในรถตอนท้ายมีวัตถุทำด้วยไฟเบอร์บุตัวถังเหมือนรถยนต์นั่งทั่วไป โดยสามารถใช้เป็นที่วางแขนผู้นั่งตอนหลังได้และส่วนที่เป็นพื้นไม้ หากถอดออกไปสามารถนำเบาะที่นั่งมาติดตั้งได้ทันทีเนื่องจากตัวถังทำขึ้นเพื่อใช้รองรับเบาะที่นั่งและมีพนักพิงสำหรับผู้โดยสารที่นั่งตอนหลังอยู่แล้ว สำหรับแผ่นเหล็กที่กั้นอยู่ด้านหลังคนขับไม่มีลักษณะถาวร เพราะยึดติดด้วยนอตข้างละ 1 ตัว สามารถถอดออกได้ง่าย ตำแหน่งของห้องโดยสารตอนหลัง ด้านข้างมีรูเจาะไว้เพื่อยึดติดเข็มขัดนิรภัยสำหรับที่นั่งตอนหลัง ภายในรถทั้งตอนหน้าและตอนหลังกรุด้วยไฟเบอร์ที่ผนังมีลักษณะเหมือนรถยนต์นั่งทั่วไป บริเวณผนังรถตอนท้ายซึ่งเชื่อมด้วยแผ่นเหล็กตรงตำแหน่งซึ่งควรจะเป็นหน้าต่างของรถยนต์นั่งทั่วไปยังมีขอบยางติดอยู่ หากตัดแผ่นเหล็กออกสามารถนำกระจกติดตั้งแทนแผ่นเหล็กได้ จากลักษณะรถยนต์พิพาทดังกล่าวมาเป็นที่เห็นได้ว่า รถยนต์พิพาทมิใช่รถยนต์กระบะตามความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเนื่องจากรถยนต์พิพาทมีหลังคาปิดตลอดทั้งคัน และรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ ที่มีการผลิตจำหน่ายเป็นรถยนต์นั่งมีทั้งแบบรุ่น 3 ประตู และ 5 ประตู รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตู คงมีข้อแตกต่างจากรถยนต์รุ่นเดียวกันโดยห้องโดยสารด้านหลังของรถยนต์พิพาทปิดทึบหมด ไม่มีกระจก แต่ตัวถังด้านท้ายรถยนต์พิพาทบริเวณที่มีลักษณะคล้ายหน้าต่างเป็นการนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมติดกับตัวถังแล้วนำยางมาติดไว้ตรงรอยเชื่อม หากนำรถยนต์พิพาทมาตัดแผ่นเหล็กที่เชื่อมในลักษณะเป็นรูปหน้าต่างออก และนำเบาะหลังไปใส่ไว้ รถยนต์พิพาทก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับรถโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตู แสดงว่าโครงสร้างของรถทั้งหมดมีลักษณะเช่นเดียวกับรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูรถยนต์พิพาททั้งสองคันจึงเป็นรถยนต์นั่งตามคำจำกัดความที่หมายความว่ารถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกันตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น รถยนต์พิพาทจึงมิใช่รถยนต์กระบะ (รถบรรทุกชนิดแวน) แต่เป็นรถยนต์นั่งตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่ 05.01 ท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถกระบะส่วนบุคคลกับการบังคับใช้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่ โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพัน หกร้อยกิโลกรัมรถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 126.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีลักทรัพย์: รถกระบะไม่ใช่เครื่องมือโดยตรงในการกระทำความผิด
จำเลยกับพวกใช้รถยนต์กระบะขับตระเวนลักทรัพย์และบรรทุกทรัพย์สินไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า เป็นเพียงการใช้รถยนต์กระบะเป็นยานพาหนะเดินทางไปยังสถานที่ที่จะลักทรัพย์เท่านั้น ทั้งจำเลยกับพวกลักทรัพย์สำเร็จแล้วจึงนำทรัพย์ของผู้เสียหายที่ลักมาบรรทุกรถยนต์กระบะเพื่อนำไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า ซึ่งตามปกติรถยนต์กระบะโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป รถยนต์กระบะจึงไม่ใช่เครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิดโดยตรงริบไม่ได้