พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์ของกลางที่มิได้ตกเป็นของแผ่นดิน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน
มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา3 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มิได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล เพราะกำหนดระยะเวลาเรียกคืนสิ่งที่ยึดไว้ภายใน 60 วัน หรือ 30 วันแล้วแต่กรณีนับแต่วันยึดอย่างเดียว หากประสงค์จะให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยก็น่าจะกำหนดระยะเวลาเรียกร้องขอส่งคืนสิ่งที่ยึดนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดไว้ด้วย
พนักงานศุลกากรยึดรถยนต์พิพาทไว้เพราะมีผู้นำของซุกซ่อนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวโดยมิได้ขอให้ริบรถยนต์พิพาท เมื่อรถยนต์พิพาทมิได้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร กรณีการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้นไม่มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากร อีกทั้งรถยนต์พิพาทยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม มาตรา 1327 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมศุลกากร จำเลยที่1 จึงไม่มีอำนาจยึดรถนั้นไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมคืนรถให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาท จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ตนได้กระทำส่วนการที่โจทก์ทั้งสองจะนำรถยนต์พิพาทไปรับส่งผู้โดยสารโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการทำละเมิดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน การเสื่อมราคาถ้าหากจะมีบ้างก็เป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกลื่อนกลืนไปกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ทั้งสองขาดรายได้จากการใช้รถในระยะเวลาเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์จึงชอบแล้ว
พนักงานศุลกากรยึดรถยนต์พิพาทไว้เพราะมีผู้นำของซุกซ่อนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวโดยมิได้ขอให้ริบรถยนต์พิพาท เมื่อรถยนต์พิพาทมิได้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร กรณีการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้นไม่มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากร อีกทั้งรถยนต์พิพาทยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม มาตรา 1327 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมศุลกากร จำเลยที่1 จึงไม่มีอำนาจยึดรถนั้นไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมคืนรถให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาท จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ตนได้กระทำส่วนการที่โจทก์ทั้งสองจะนำรถยนต์พิพาทไปรับส่งผู้โดยสารโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการทำละเมิดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน การเสื่อมราคาถ้าหากจะมีบ้างก็เป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกลื่อนกลืนไปกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ทั้งสองขาดรายได้จากการใช้รถในระยะเวลาเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์จึงชอบแล้ว