พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของผู้พิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รวบรวมในคดีนี้ผู้คัดค้านได้มาจากการอายัดเงินฝากของลูกหนี้ที่ธนาคารกับเงินตามคำพิพากษาตามยอมและค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการร้องขอให้ยึด อายัด หรือชี้ช่องให้รับเงินแต่ประการใด การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการใช้สิทธิทางศาลให้มีการนำกระบวนการทางกฎหมายมาจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ มิใช่กระทำเพื่อประโยชน์ของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเอาความจริงจากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏว่าโจทก์นำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จหรือแกล้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้อำนาจบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ ถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการอายัดและรับเงินของลูกหนี้เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 155 และ 179 (3) ที่จะออกคำสั่งให้โจทก์ต้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น บุคคลภายนอกไม่มีหน้าที่รับผิดชอบค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงบุคคลภายนอก ที่ฟ้องคดีล้มละลายเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิม จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวโดยตรงตามกฎหมาย ล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมในคดี การที่ผู้ร้องเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้าน(เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)ในการรวบรวมทรัพย์สินโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นชอบด้วยกับ ข้อเสนอของผู้ร้องเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการยึดทรัพย์สินเองโดยเชื่อตาม คำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจจะอ้างอิงอาศัย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาออก คำสั่งให้ผู้ร้องต้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินสำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22ไม่มีบทบัญญัติให้บุคคลอื่นมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ฟ้องเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นคดีอื่น จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมในคดีนี้ การที่ผู้ร้องเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย และผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของผู้ร้องต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการยึดทรัพย์สินเองผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจที่จะอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระต่อผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดี: การรวบรวมทรัพย์สินลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว เจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่รับผิดค่าใช้จ่ายโดยตรง
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลาย ลูกหนี้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ในระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวตามคำขอของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หลังจากนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันและได้ยื่นคำขอรับประกันหนี้ไว้แล้ว ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอทำการแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ขอนำยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมดและรับรองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ครั้งนี้ ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการยึดทรัพย์ตามคำขอของผู้ร้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวและให้ถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการถอนการยึดคืนทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมถอนการยึดไปชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามธรรมดาผู้หนึ่งไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวโดยตรง ตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจทำการยึดทรัพย์เองโดยเชื่อตามคำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการถอนการยึดมาชำระได้ ส่วนปัญหาที่ว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่นั้น หากจะฟังว่ามีผลบังคับได้ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการขอให้ศาลบังคับผู้ร้องตามสัญญาเสียก่อน ศาลจะบังคับผู้ร้องไปทันทีในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเมื่อถอนฟ้อง: ผู้รับผิดและอัตราการคำนวณ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายและยื่นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวแล้ว โจทก์ก็เป็นผู้ติดตามแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยจากกองบังคับคดีแพ่งมารวบรวมไว้ในคดีล้มละลายต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีไปแล้วบรรดากิจการที่ได้ดำเนินมาย่อมต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเงินจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาก็ต้องคืนให้กองบังคับคดีแพ่ง และถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะนำมาใช้จ่ายได้ โจทก์จึงต้องเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์เองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 155 แต่การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินเมื่อเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาต้องส่งคืนไปไม่มีการจำหน่ายจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเมื่อถอนฟ้อง ผู้ใดเป็นผู้รับผิดและอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย และยื่นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวแล้ว โจทก์ก็เป็นผู้ติดตามแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยจากกองบังคับคดีแพ่งมารวบรวมไว้ในคดีล้มละลาย ต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีไปแล้ว บรรดากิจการที่ได้ดำเนินมาย่อมต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เงินจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาก็ต้องคืนให้กองบังคับคดีแพ่ง และถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะนำมาใช้จ่ายได้ โจทก์จึงต้องเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์เองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 155 แต่การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน เมื่อเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาต้องส่งคืนไป ไม่มีการจำหน่ายจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ใช้บทบัญญัติเดิมก่อนมีการแก้ไขเมื่อฟ้องคดีก่อน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 12 มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (3) จากข้อความเดิมที่ว่า "ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน...สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่าย ให้คิดในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินนั้น..." มาเป็นมาตรา 179 (4) มีข้อความใหม่ว่า "ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน... สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่าย ให้คิดในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินนั้น... " และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดีดังกล่าว" คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับ ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินสำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 179 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดี คือค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้คิดในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ถือเป็นการรวบรวมทรัพย์สิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (4) บัญญัติให้คิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินในอัตราร้อยละสามของเงินสุทธิที่รวบรวมได้ สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้คิดในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินนั้น แต่ถ้ามีการประนอมหนี้ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ซึ่งการคิดค่าธรรมเนียมตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องคิดจากการที่ผู้คัดค้านที่ 1 รวบรวมทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 มาตรา 109 มาตรา 117 ถึงมาตรา 123 เพื่อนำมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย คดีนี้ ก่อนผู้ร้องเสนอเข้าชำระหนี้แทนจำเลยที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้โดยยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 2214 และ 3656 รวม 2 แปลง ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ไว้เท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องเข้าชำระหนี้แทนจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 138,614,320.12 บาท จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลายตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ผู้คัดค้านที่ 1 เรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละสามจากยอดหนี้จำนวน 138,614,320.12 บาท ที่ผู้ร้องเข้าชำระหนี้แทนจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว