พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหลังรวมกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุน: ผลผูกพันต่อลูกหนี้และข้อจำกัดทางกฎหมาย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 จัตวา วรรคแรก บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการของบริษัทใดมีข้อเสนอจะควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่นเป็นการเร่งด่วน? ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบกิจการหรือโอนกิจการเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและประโยชน์ของประชาชน ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ มาตรา 67 ตรี วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบการดำเนินการตามโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. โจทก์ และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 67 จัตวา และ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38 จัตวา จึงเป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
แม้ประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมาย จ. 4 ระบุว่า ให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ส. และข้อ 3 ระบุว่า เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จสิ้น ให้โจทก์และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลัง เมื่อโอนสินทรัพย์และหนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 บัญญัติว่า "การธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด (ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ "ให้สินเชื่อ" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว การเช่าซื้อจึงมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมาย จ. 4 ระบุว่า ให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ส. และข้อ 3 ระบุว่า เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จสิ้น ให้โจทก์และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลัง เมื่อโอนสินทรัพย์และหนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 บัญญัติว่า "การธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด (ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ "ให้สินเชื่อ" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว การเช่าซื้อจึงมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15462/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสวัสดิการและค่าชดเชยของลูกจ้างหลังการรวมกิจการและการเกษียณอายุ
การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานนั้น ไม่มีบทกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องกระทำ จึงเป็นอำนาจทางการบริหารจัดการของนายจ้างตามแต่ที่จะกำหนดหรือตามที่ได้ตกลงกับลูกจ้างหรือพนักงานไว้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะให้รับฟังได้ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่พนักงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่พนักงานเป็นสิทธิเฉพาะของจำเลย และเป็นไปตามนโยบายหรือแนวทางการพิจารณาปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานตามที่จำเลยประกาศไว้ ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขว่าพนักงานจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยพนักงานจะรู้ว่าได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนประมาณวันที่ 15 มีนาคม ส่วนพนักงานที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานก่อนงวดการจ่ายเงินเดือนในเดือนมีนาคม 2550 จำเลยจะไม่พิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนให้ ดังนั้นเมื่อโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 การที่จำเลยไม่ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี 2550 ให้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นไปตามอำนาจทางการบริหารจัดการของจำเลยตามระเบียบโดยชอบแล้ว
การที่โจทก์ใช้รถประจำตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2544 นั้น เป็นสิทธิประโยชน์และเป็นสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่ตัวเงินที่จำเลยจัดให้เฉพาะพนักงานระดับสูง แม้ต่อมาโจทก์จะได้รับอนุมัติจากจำเลยเป็นกรณีพิเศษ ให้เปลี่ยนเป็นการรับเงินช่วยเหลือค่ารถเดือนละ 50,000 บาท และค่าน้ำมันรถเดือนละ 3,000 บาท แทนก็ตามก็ยังถือว่าเป็นสวัสดิการอยู่นั่นเองเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินแทน เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถ จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ มิใช่เป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ขอและจำเลยยินยอมให้โจทก์รับเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง หลังจากจำเลยออกระเบียบงานที่ 14/2549 โดยข้อ 2.7 กำหนดไม่ให้นำเงินช่วยเหลือค่ารถไปรวมกับเงินเดือนเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณผลประโยชน์อื่นใด อันรวมถึงค่าชดเชยด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางไม่นำเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถมารวมเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
จำเลยประกอบกิจการธนาคารและเคยใช้ชื่อว่าธนาคาร ส. จำกัด โจทก์เคยเป็นพนักงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะต้องรวมกิจการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่น จำเลยกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงานไว้กับโจทก์ ว่าจำเลยจะจัดสวัสดิการให้โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่จำเลยจัดให้กับพนักงานของจำเลยซึ่งขณะนั้นจำเลยใช้ชื่อว่า ธนาคาร ส. ยกเว้นสวัสดิการว่าด้วยเงินบำเหน็จนั้น แสดงว่ากรณีเงินบำเหน็จที่จัดไว้สำหรับพนักงานของธนาคาร ส. ที่ทำงานมาก่อนที่จะมีการรวมกิจการ เป็นสวัสดิการที่มีมาก่อนแล้วและจำเลยยังคงที่จะสงวนสิทธิไว้ให้แก่พนักงานที่ร่วมทำงานกับจำเลยมาแต่แรก ไม่รวมถึงโจทก์ที่เป็นพนักงานใหม่ซึ่งเพิ่งเข้ามาหลังมีการรวมกิจการ ทั้งไม่ถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อนายจ้างเดิมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ตามความหมายในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น ที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ชอบแล้ว
การที่โจทก์ใช้รถประจำตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2544 นั้น เป็นสิทธิประโยชน์และเป็นสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่ตัวเงินที่จำเลยจัดให้เฉพาะพนักงานระดับสูง แม้ต่อมาโจทก์จะได้รับอนุมัติจากจำเลยเป็นกรณีพิเศษ ให้เปลี่ยนเป็นการรับเงินช่วยเหลือค่ารถเดือนละ 50,000 บาท และค่าน้ำมันรถเดือนละ 3,000 บาท แทนก็ตามก็ยังถือว่าเป็นสวัสดิการอยู่นั่นเองเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินแทน เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถ จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ มิใช่เป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ขอและจำเลยยินยอมให้โจทก์รับเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง หลังจากจำเลยออกระเบียบงานที่ 14/2549 โดยข้อ 2.7 กำหนดไม่ให้นำเงินช่วยเหลือค่ารถไปรวมกับเงินเดือนเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณผลประโยชน์อื่นใด อันรวมถึงค่าชดเชยด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางไม่นำเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถมารวมเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
จำเลยประกอบกิจการธนาคารและเคยใช้ชื่อว่าธนาคาร ส. จำกัด โจทก์เคยเป็นพนักงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะต้องรวมกิจการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่น จำเลยกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงานไว้กับโจทก์ ว่าจำเลยจะจัดสวัสดิการให้โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่จำเลยจัดให้กับพนักงานของจำเลยซึ่งขณะนั้นจำเลยใช้ชื่อว่า ธนาคาร ส. ยกเว้นสวัสดิการว่าด้วยเงินบำเหน็จนั้น แสดงว่ากรณีเงินบำเหน็จที่จัดไว้สำหรับพนักงานของธนาคาร ส. ที่ทำงานมาก่อนที่จะมีการรวมกิจการ เป็นสวัสดิการที่มีมาก่อนแล้วและจำเลยยังคงที่จะสงวนสิทธิไว้ให้แก่พนักงานที่ร่วมทำงานกับจำเลยมาแต่แรก ไม่รวมถึงโจทก์ที่เป็นพนักงานใหม่ซึ่งเพิ่งเข้ามาหลังมีการรวมกิจการ ทั้งไม่ถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อนายจ้างเดิมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ตามความหมายในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น ที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ชอบแล้ว