คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รวมคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีอาญาที่ความผิดเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การนับโทษจำคุกที่เกินกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คดีนี้กับคดีก่อนมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน จำเลยและผู้เสียหายเป็นบุคคลคนเดียวกัน โจทก์จึงอาจจะฟ้องคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีเดียวกัน แต่ปรากฏว่าโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนโดยศาลชั้นต้นมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมและจำคุกจำเลยทั้งสองมีกำหนด 20 ปีเต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ในคดีก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจนำโทษของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ไปนับต่อกับโทษของจำเลยทั้งสองในคดีก่อนของศาลชั้นต้นได้ เพราะจะทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมคดีปล้นทรัพย์หลายกรรม, โทษจำคุกรวมตาม ป.อ. มาตรา 91
คดีทั้งสามสำนวนนี้เกิดเหตุในคืนเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ทั้งสามคดีติดต่อกัน และจำเลยทั้งสามก็ถูกจับในวันเดียวกันทั้งสามสำนวน คดีทั้งสามสำนวนจึงเกี่ยวพันกันพอที่จะฟ้องรวมกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันได้ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามสำนวนก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปเช่นนี้โทษจำคุกที่ลงทุกกระทงเมื่อรวมทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินกำหนดตาม ป.อ.มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1521/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีหลายสำนวนเพื่อลงโทษและการคำนวณโทษจำคุกที่ถูกต้อง
การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันถึง 166 ครั้ง นั้นเพื่อความสะดวกศาลแขวงจะรวมคดีทั้ง 166 สำนวนพิจารณาพิพากษารวมกันก็ได้และเมื่อศาลแขวงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละสำนวนโดยมีกำหนดโทษซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะลงแล้ว แม้ในที่สุดจำเลยจะต้องรับโทษถึง 2490 วัน ก็ย่อมทำได้
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึงให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133-134/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมคดีอาญาเหตุเดียวกัน การรับฟังพยานหลักฐานรวมกันได้ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้ทั้งสองสำนวน
คดีอาญาราษฎรและอัยยการ ต่างเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีเหตุอันเดียวกันนั้น ถ้าศาลสั่งให้รวมการพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกันแล้ว การฟังคำพยานหลักฐานก็รวมเป็นคดีเดียวกันได้ ไม่ต้องแยกว่าเป็นพยานของสำนวนไหน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133-134/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมคดีเหตุเดียวกัน ฟังพยานหลักฐานรวมกันได้ แม้ฟ้องต่างสำนวน ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คดีอาญาราษฎรและอัยการต่างเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีเหตุอันเดียวกันนั้น ถ้าศาลสั่งให้รวมการพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกันแล้วการฟังคำพยานหลักฐานก็รวมเป็นคดีเดียวกันได้ ไม่ต้องแยกว่าเป็นพยานของสำนวนไหน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998-1999/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมคดีและรับฟังพยานจำเลยได้ หากคดีเกี่ยวเนื่องกัน และประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีสำนวนแรกแล้ว ต่อมาจำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เป็นคดีสำนวนหลัง เมื่อกรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ว่าคู่ความในคดีทั้งสองสำนวนเป็นรายเดียวกัน หากรวมการพิจารณาคดีเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นการสะดวก โดยศาลเห็นสมควรเองก็ดี หรือคู่ความยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีรวมกันก็ดี เมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้ว ถ้าเป็นที่พอใจศาลว่าคดีทั้งสองสำนวนเกี่ยวเนื่องกัน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันได้ ทั้งคดีทั้งสองสำนวนนี้แม้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่ละสำนวนจะต่างกัน แต่ประเด็นแห่งคดีเป็นเรื่องเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ข้อเท็จจริงจึงเกี่ยวพันกันมา ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยทั้งหมดที่นำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: รวมคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเป็นคดีเดียวได้ หากมูลหนี้เกี่ยวข้องกันและเกิน 300,000 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกัน และมูลคดีล้วนเนื่องมาจากการขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และผู้คัดค้านโต้แย้งว่าผู้คัดค้านถอนตัวจากความผูกพันตามสัญญาระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยแล้ว อนุญาโตตุลาการจึงไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาและชี้ขาด ดังนั้น ประเด็นสำคัญแห่งคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 23 คำชี้ขาด จึงเป็นเรื่องเดียวกัน มูลหนี้ที่ผู้ร้องนำมาร้องขอบังคับในคดีนี้จึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ เมื่อมูลหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 23 คำชี้ขาด รวมกันเป็นเงินเกินกว่า 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่จะพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมหนี้บัตรเครดิตเป็นคดีเดียว และขอบเขตการพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต 2 รายการ แม้จะเรียกชื่อต่างกัน แต่ก็เป็นหนี้ประเภทเดียวกันคือหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต มูลหนี้ตามฟ้องจึงเกี่ยวข้องเป็นอย่างเดียวกันสามารถรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้โจทก์จึงนำมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ 34,666.57 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้อย่างคดีมโนสาเร่ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน 200 บาท ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยข้อหาในคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 - 5380 - 1022 - 0008 และพิพากษายกคำขอบังคับในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
แต่ที่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 - 5380 - 1022 - 0008 ด้วยนั้น เห็นว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนนี้หรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้ จึงเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาพิพากษาข้อนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247