คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รวมพิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773-1782/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ที่ดินแปลงเดียวกันแบ่งแยก - สิทธิขอเปิดทาง - การรวมพิจารณาคดี - การจดทะเบียนภารจำยอม
ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ปิดล้อมที่ดินของโจทก์ทั้งสิบจนไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้เมื่อเดิมที่ดินของโจทก์ที่1ถึงที่6กับที่ดินของจำเลยทั้งสี่เป็นที่ดินแปลงเดียวกันเมื่อแบ่งแยกแล้วที่ดินของโจทก์ที่1ถึงที่6ไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ที่1ถึงที่6จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนส่วนที่ดินของโจทก์ที่7ถึงที่10มีที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้โจทก์ที่7ถึงที่10จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้และการที่ศาลสั่งให้รวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันก็เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนถูกที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนตามความจำเป็นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิผู้ร้องสอด และดุลพินิจศาลรวมพิจารณาคดี
ตามคำร้องสอดและคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมเข้ามาในคดีในฐานะเป็นจำเลยร่วม ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 วรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอดดังนั้นเมื่อคดีเดิมมิได้มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านตามฟ้องโดยสุจริตหรือไม่จำเลยร่วมจึงไม่อาจใช้สิทธิตั้งประเด็นข้อนี้ขึ้นใหม่ในคำร้องสอดเพื่อให้ศาลวินิจฉัยในคดีนี้ได้
การสั่งรวมพิจารณาคดีหลายเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาลถ้าจะต้องเลื่อนการพิจารณาไปทำให้ล่าช้าศาลไม่รวมพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266-2278/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ปลอมเอกสารราชการ และการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวน
โจทก์ฟ้องจำเลย 13 สำนวน สำนวนละหลายข้อหา เมื่อข้อหาฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยสำนวนละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ลงโทษจำคุกสำนวนละ 2 ปี 6 เดือน และข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกสำนวนละ 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลงโทษจำคุกสำนวนละ 1 ปี นั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและโทษของแต่ละกระทงความผิดและของแต่ละสำนวนที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เกิน 5 ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 218
จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนตามฟ้องจำเลยไม่ได้รับแจ้งข้อหาและปรึกษาทนายความกับจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง และที่โจทก์จำเลยต่างฎีกาว่ากำหนดโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงมานั้นหนักหรือเบาเกินไป เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ใบเสร็จรับเงินซึ่งทางราชการออกให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีรถยนต์เป็นหลักฐานแสดงว่าทางราชการได้รับชำระค่าภาษีรถยนต์ไว้แล้วและมีผลทำให้การเก็บภาษีรถยนต์ของรัฐเป็นอันเสร็จสิ้นไป จึงเป็นเอกสารราชการ
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแผนกทะเบียนยานพาหนะปลอมใบเสร็จรับเงินแล้วใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานประทับลงในใบเสร็จรับเงินนั้น ก็โดยเจตนาทำใบเสร็จรับเงินปลอมทั้งฉบับ เพื่อให้เห็นว่าเป็นใบเสร็จรับเงินที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามมาตรา 266 และ 253

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913-1915/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จะรวมพิจารณาคดีแล้ว โทษจำคุกรวมต้องไม่เกิน 20 ปี
แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสามสำนวน. โดยขอให้นับโทษจำเลยทุกสำนวนต่อกันก็ตาม. แต่เมื่อศาลได้รวมพิจารณาคดีทั้งสามสำนวนเข้าด้วยกัน และปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดทั้งสามสำนวน. ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามรายสำนวนก็ได้.แต่ทั้งนี้โทษจำคุกทั้งสิ้นของจำเลยในคำพิพากษาฉบับเดียวกันนี้จะต้องไม่เกิน 20 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา.มาตรา 91.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828-830/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีถึงที่สุดสำหรับจำเลยที่ถอนอุทธรณ์แล้ว โจทก์ขอรวมพิจารณาคดีกับจำเลยอื่นไม่ได้
ศาลแขวงพิพากษาฟ้องโดยวินิจฉัยว่า คดีเกินอำนาจโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีนั้นได้ แต่ภายหลังจำเลยบางคนขอถอนฟ้องอุทธรณ์เฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ขอถอน ถอนฟ้องอุทธรณ์ไปได้ คงพิจารณาพิพากษาเฉพาะจำเลยคนก่อน แล้วพิพากษาว่าศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ให้ศาลแขวงดำเนินการพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาพิพากษายืน ดังนี้เฉพาะตัวจำเลยที่ถอนอุทธรณ์คดีนั้นถึงที่สุดแล้วตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 202 โจทก์จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ถอนอุทธรณ์มาดำเนินการพิจารณารวมเป็นคดีเดียวกันจำเลยอื่นตามคำฟ้อง
เดิมของโจทก์อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการรวมพิจารณาคดีอาญา และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 (3), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3), 341 ประกอบมาตรา 83 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกง จ. โดยไม่ได้แก้โทษจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนกรณีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) คงจำคุกคนละ 1 ปี 3 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้โทษความผิดในบทที่มีโทษหนักที่สุดอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษแม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนสอบคำให้การ จ. ไว้ในฐานะพยานในคดีความผิดฐานปลอม ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ที่โจทก์ร่วม ร. และ ส. แจ้งความร้องทุกข์ไว้เท่านั้น แต่ จ. ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนแนบท้ายฎีกา ถือว่าคำให้การของ จ. เป็นการร้องทุกข์ในคำให้การภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายภายในอายุความโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต่อสู้คดี โจกท์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีการร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. นั้น ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า จ. ได้ร้องทุกข์ตามบันทึกคำให้การที่แนบท้ายฎีกานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าด้วยกัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพไปก่อนที่จะพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีกสำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ความผิดในคดีทั้งสองสำนวนนั้นเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับความผิดในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เป็นอันยุติไปแล้วนั้นให้ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. เพราะ เหตุที่ไม่มีการร้องทุกข์ตามระเบียบโดยชอบ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9800-9802/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาคดีและการใช้พยานหลักฐาน: พยานที่เบิกความก่อนรวมคดีถือเป็นพยานลับหลังจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2073/2542 ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1738/2543 และฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2065/2543 ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ากับคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ได้สืบประจักษ์พยานโจทก์ 2 ปาก คือ จ. และ บ. ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ไปก่อนแล้ว หลังจากการสั่งรวมพิจารณาคดีแล้ว โจทก์นำ จ. มาสืบใหม่ได้เพียงคนเดียว บ. ไม่อาจนำมาสืบได้ ดังนั้น คำเบิกความของ บ. ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อนมีการรวมพิจารณาคดีต้องถือว่าเป็นการสืบพยานลับหลัง ไม่อาจนำมาฟังลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คงใช้ได้แต่เฉพาะคำเบิกความของ จ. เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้มีโอกาสถามค้าน จ.