คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รหัสประเภทกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิต แม้แยกสถานที่ผลิตและขาย
ตามคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ โดยนำเอาวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป คือขนมปัง เบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อได้สินค้าสำเร็จรูปแล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูป พนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะการดำเนินงานกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศ ฉบับที่ 2 ฯ การประกอบกิจการของโจทก์ไม่ใช่การซื้อวัตถุดิบมาแล้วขายไปในสภาพวัตถุดิบ ไม่ใช่การซื้อมาขายไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสภาพสินค้า ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของประเภทกิจการร้านสรรพสินค้าและร้านสินค้าเบ็ดเตล็ดตามที่ระบุไว้ในรหัส 1503 หมวด 1500 การค้า จึงไม่ใช่การค้าซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นตามที่ระบุไว้ในรหัส 1503 กิจการของโจทก์จึงไม่ใช่ประเภทที่อยู่ในรหัส 1503 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่นๆ ออกจากกัน กับโจทก์ได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะการดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่นๆ ได้ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ได้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิตอาหาร ไม่ใช่รหัสการค้า
โจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่โดยนำวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปคือขนมปังเบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น แล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูปพนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย ฝ่ายขายไม่อาจปฏิบัติงานได้ถ้าไม่มีสินค้าสำเร็จรูปไปขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะที่กล่าวมากิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ออกจากกัน กับได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องร้องการกำหนดรหัสประเภทกิจการและการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสมทบของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 6 และข้อ 23 ว่า สำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการเงินสมทบทุนกองทุนเงินทดแทนและการหมดอายุการฟ้องร้อง
การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงนั้นมิใช่เป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราและวิธีเก็บเงินสมทบการวางเงินทดแทน ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายนพ.ศ.2516ในข้อ8เนื่องจากไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดและการอุทธรณ์ตามข้อ8ไม่ต้องขอให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการและการหมดอายุสิทธิฟ้องร้องกรณีอุทธรณ์ผลการพิจารณาของกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ6และข้อ23ว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเมื่อวันที่29เมษายน2536คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่าโจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ1004"การประกอบรถยนต์"อัตราเงินสมทบร้อยละ0.6และรหัสประเภทกิจการอื่นๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2536การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนัดแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ25ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23กันยายน2537โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ8เป็นกรณีที่ถ้าปรากฎว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริงเมื่อไม่ปรากฎว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ8ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่1วินิจฉัยก่อนดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องพิจารณาจากกิจการหลัก แม้มีหลายกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างแต่เกี่ยวข้องกัน ต้องกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น
โจทก์ประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีโรงงานกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการหลายอย่างเกี่ยวข้องกัน เมื่อฟังได้ว่ากิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นกิจการหลัก กิจการทั้งหมดของโจทก์จึงต้องใช้รหัส 1502
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสผิดไปทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ต้องนำไปวางตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมแรงงานจำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินส่วนที่วางเกินไปนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการกองทุนเงินทดแทน ต้องพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้าง แม้มีหลายกิจการเกี่ยวข้องกัน
นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างแต่เกี่ยวข้องกัน ต้องกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น โจทก์ประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีโรงงานกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการหลายอย่างเกี่ยวข้องกัน เมื่อฟังได้ว่ากิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นกิจการหลักกิจการทั้งหมดของโจทก์จึงต้องใช้รหัส 1502 การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสผิดไปทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้นย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ต้องนำไปวางตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกรมแรงงานจำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินส่วนที่วางเกินไปนั้น