พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวในการรอการกำหนดโทษคดีอาญา แม้มีโทษจำคุกเกิน 2 ปี
การรอการกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 นั้นไม่มีบทบัญญัติกฎหมายห้ามมิให้ศาลใช้อำนาจรอการกำหนดโทษในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก 10 ปี หรือที่มีอัตราโทษหนักกว่า 10 ปี ในเมื่ออัตราขั้นต่ำของความผิดนั้นศาลพิพากษาลงโทษได้ตั้งแต่ 2 ปีลงมาโดยเฉพาะคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งความผิดที่จำเลยกระทำมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี ศาลย่อมมีอำนาจรอการกำหนดโทษได้แม้ศาลจะกำหนดโทษจำคุกเกิน 2 ปี ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 106 ก็ตาม การรอการกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าศาลจะพิพากษาจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปีจึงไม่จำต้องระบุไว้ในคำพิพากษาว่าจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี โดยเฉพาะความผิดในคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งให้อำนาจศาลพิพากษารอการกำหนดโทษได้แม้ว่าจะกำหนดโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 2 ปีก็ไม่จำต้องระบุไว้ในคำพิพากษาว่าจะลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ ในการรอการกำหนดโทษเกิน 2 ปี และการพิจารณาปัจจัยเยาวชนเพื่อโอกาสกลับตน
พระราชบัญญัติญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา106ให้อำนาจศาลพิพากษารอการกำหนดโทษได้แม้ว่าจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่า2ปีและปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่อาจรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้จึงไม่ชอบส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ศาลฎีการอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษแม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นฎีกาที่เกี่ยวพันกับปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากรอการกำหนดโทษเป็นลงโทษปรับและการจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้เป็นเวลา 5 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติจำเลยไว้เป็นเวลา 1 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยโดยไม่รอการกำหนดโทษซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ก็ลงโทษปรับจำเลยเพียงกระทงละไม่เกิน 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษที่รอการกำหนดโทษ จำเป็นต้องมีการลงโทษจำคุกจริง จึงจะสามารถทำได้
ตามมาตรา 58 ประมวลกฎหมายอาญาคำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด"นั้น หมายความว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริง ๆ คดีนี้ ศาลวางโทษจำคุก 3 เดือน แต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางไม่เรียกว่าให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น โจทก์จะขอให้ศาลกำหนดโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการกำหนดโทษในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่มีโทษจำคุก ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่สามารถรอการกำหนดโทษได้
ป.อ. มาตรา 56 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน... ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้... ก็ได้" ดังนั้น การที่ศาลจะรอการกำหนดโทษจำเลยได้นั้นต้องปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีโทษจำคุก เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 (1) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง คือ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทโดยไม่มีโทษจำคุก ดังนั้น การกระทำความผิดของจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงจึงเป็นความผิดที่ไม่อาจรอการกำหนดโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7503/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการรอการกำหนดโทษ: ระยะเวลาพ้นโทษ, ความร้ายแรงของความผิด และโทษจำคุกก่อนหน้า
สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งพ้นโทษในคดีก่อนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 นับถึงวันกระทำความผิดคดีนี้แม้จะเกินกว่า 5 ปีก็ตาม แต่เมื่อมากระทำความผิดคดีนี้ซึ่งไม่ใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่จะรอการกำหนดโทษให้ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งพ้นโทษในคดีก่อนเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 และกลับมากระทำความผิดในคดีนี้อีกเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จึงยังพ้นโทษมาไม่เกิน 5 ปี ทั้งความผิดในคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2552 ของศาลจังหวัดนางรอง และความผิดคดีนี้ต่างก็ไม่ใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ โดยโทษจำคุกในคดีก่อนมีกำหนด 5 ปี 3 เดือน ซึ่งเป็นโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน กรณีของจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการกำหนดโทษให้ได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้บวกโทษคดีที่รอการกำหนดโทษ และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่เกินกว่าเหตุ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งสามในคดีนี้ต้องคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษและคดีถึงที่สุดแล้ว ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสามตามที่ศาลชั้นต้นรอการกำหนดโทษไว้นั้น ป.อ. มาตรา 58 บัญญัติหลักเกณฑ์เรื่องการบวกโทษว่า ศาลที่พิพากษาคดีหลังจะกำหนดโทษที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง แสดงว่าการขอในกรณีเช่นนี้กฎหมายประสงค์ให้โจทก์ในคดีหลังยื่นคำขอให้บวกโทษ จะมายื่นคำร้องในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้วไม่ได้เพราะจะเป็นแก้ไขคำพิพากษา