คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำคดีอาญาที่มีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยกับ ส. ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับมานำสืบและแสดงเป็นพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 180 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งความผิดแล้ว ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งโจทก์ได้ฟ้องแล้ว คดีนี้โจทก์นำการกระทำของจำเลยในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องจำเลยอีก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยปลอมเอกสารสิทธิและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งแตกต่างกัน แต่มูลคดีนี้ก็มาจากการกระทำอันเดียวกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับเมื่อสิ่งปลูกสร้างสูญหาย สิทธิใช้ที่ดินเดิมสิ้นสุดลง แม้มีพฤติการณ์ยินยอมก่อนหน้า
ตึกแถวที่จำเลยเช่าจากโจทก์สูญหายไปทั้งหมดเพราะแตกร้าวและต้องรื้อถอนออกไป สัญญาเช่าตึกแถวจึงเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะประกอบการค้าหรืออยู่อาศัยในที่ดินซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของตึกแถวโดยโจทก์ไม่ยินยอมได้อีก แม้โจทก์จะรู้เห็นและมิได้โต้แย้งที่จำเลยปลูกสร้างเพิงลงในที่ดินซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของตึกแล้วและยังเก็บค่าเช่าต่อมาอีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ต้องยินยอมตลอดไป เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อโดยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ จำเลยจึงต้องออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความต้องชัดเจนถึงการสละสิทธิทางอาญา มิเช่นนั้นสิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกการยอมรับสภาพนี้ มีเพียงข้อความว่าจำเลยยอมรับและยินยอมชดใช้เงินคืนให้แก่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์พร้อมด้วยดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันให้ถ้อยคำนี้ และหากไม่ปฏิบัติตามไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ จำเลยยินยอมให้คณะกรรมการกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่ม หรือทางราชการดำเนินการตามกฎหมาย ข้อความในบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้แสดงความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยหรือไม่ จะถือว่าสิทธิดำเนินคดีอาญาของโจทก์ระงับไปหาได้ไม่ การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายนั้นข้อตกลงจะต้องปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัมปทานทำไม้ถูกระงับก่อนครบกำหนด สิทธิทำไม้ตามสัญญาเป็นประเด็นสำคัญ
สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดระยะเวลา 15 ปี ในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์จึงมีสิทธิทำไม้ในเขตสัมปทานของโจทก์ได้ภายใต้เงื่อนไขสัมปทาน การที่จำเลยโดยกรมป่าไม้สั่งให้โจทก์ระงับการทำไม้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากจ้างทำของเป็นกู้ยืม ทำให้สิทธิเรียกร้องระงับ โอนสิทธิไม่ได้
การที่จำเลยว่าจ้าง น. ให้เป็นตัวแทนเรียกค่าเสียหายจาก ก. โดยจำเลยทำเป็นสัญญากู้เงิน น. ไว้ เท่ากับว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้จ้างทำของมาเป็นหนี้เงินกู้ หนี้จ้างทำของจึงระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญากู้เงินกับ น. ก่อน น. โอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ หนี้ตามสัญญากู้เงินจึงระงับ น. ไม่อาจโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ยืนยันมาในคำฟ้องว่าระงับไปแล้วให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำสัญญากู้เงินดังกล่าวมาฟ้องบังคับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความหลังเกิดเหตุทำให้สิทธิฟ้องอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ระงับ
กระจกบานเกล็ดหน้าต่างที่จำเลยทำแตกเสียหายเป็นทรัพย์สินของ อ. เจ้าของหอพัก ซึ่งหลังเกิดเหตุจำเลยได้นำกระจกบานเกล็ดมาเปลี่ยนแทนบานเกล็ดที่แตก โดยความรับรู้ของ ส. สามีของ อ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอพัก และจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. เป็นเงิน 500 บาท แล้ว แสดงว่า จำเลยกับเจ้าของหอพักซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เสียหายได้ยอมความกันโดยชอบมาแต่แรกหลังเกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงระงับไปตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นสาระสำคัญว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้แยกสัญญา: เมื่อหนี้ประธานระงับ หนี้อุปกรณ์ย่อมระงับตามไปด้วย
ว. ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารจำเลยสาขาบางบอนโดยมี ส. จำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 กับ ว. กู้ยืมเงินจากธนาคารจำเลยสาขาบางแค โดยมีโจทก์ทั้งสองจำนองที่ดินเป็นประกัน หนี้ประธานทั้งสองจำนวนเกิดขึ้นต่างสาขากัน และโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้ที่มีอยู่แต่ละสัญญาแล้ว สัญญาจำนองประกันหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยสาขาบางแค จึงแยกต่างหากจากหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยสาขาบางบอน ไม่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ดังนั้น ข้อความที่ว่าเป็นประกันหนี้ทุกประเภททุกอย่างในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่โจทก์ทั้งสองทำกับจำเลยสาขาบางบอนจึงหมายถึงหนี้ประกันแต่ละสัญญา มิรวมถึงหนี้คนละประเภทและคนละสาขากัน เมื่อโจทก์ที่ 1 และ ว. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแก่จำเลยสาขาบางแค อันทำให้หนี้ประธานระงับสิ้นไปแล้ว หนี้ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) แม้ ว. ยังเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ต่อจำเลยสาขาบางบอนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลายของโจทก์ไม่ทำให้คดีอาญาที่ฟ้องไว้ระงับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์แล้ว กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ รวมทั้งการดำเนินคดีฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น และถึงแม้โจทก์สิ้นสภาพบุคคลและเป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ก็ตาม ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าในคดีอาญานั้น เมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้วให้คดีอาญาระงับไปไม่ คงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังอยู่จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันหรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสองมิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในความผิดอาญา ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร และฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 และมาตรา 284 วรรคแรก สำหรับการกระทำความผิดตามมาตรา 278 ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 281 ส่วนความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคสาม ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 และมาตรา 284 วรรคแรก ของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ แม้ผู้เสียหายจะมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้เสียหายไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ก็ต้องพิพากษายืนยกฟ้อง ดังนี้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปในทางใดก็เป็นอันเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) หรือไม่
of 20