พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และผลกระทบต่อการระงับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และ ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน ถ้าผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้กับการระงับคดีอาญา: การผ่อนชำระหนี้ต้องครบถ้วนจึงจะระงับคดีได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงรับกันว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมผ่อนชำระหนี้จนกว่าจะครบ แต่ประสบปัญหาการเงิน จึงผ่อนชำระหนี้เพียงบางส่วน ข้อตกลงตามฎีกามิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแต่เป็นกรณีต้องผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจนครบถ้วนจึงจะถือว่าคดีอาญาระงับจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย ทำให้คดีระงับตามกฎหมาย
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่คัดค้าน ตามรูปคดีแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้อง เนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมเช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่น ร่วมกันกระทำผิด การรับฟังพยานหลักฐาน และการระงับคดีเนื่องจากการตายของผู้ต้องหา
พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุกับจำเลยที่ 1 ทั้งเบิกความและให้การได้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นในขณะเกิดเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมชิงทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ก่อนเกิดเหตุมีชาย 2 คน ซึ่งคล้ายจำเลยทั้งสองว่าจ้างผู้ตายขับรถยนต์รับจ้างออกไปจากโรงแรม ร. หลังจากนั้นไม่นานผู้ตายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย และทิ้งศพไว้ในที่เกิดเหตุ และต่อมาในวันเดียวกันจำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์ของผู้ตายไปใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์ร้านทอง ทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ว่าจ้างผู้ตายให้ขับรถยนต์รับจ้างจากกรุงเทพมหานครไปส่งที่จังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงก็ได้ร่วมกันชิงทรัพย์รถยนต์คันดังกล่าวและฆ่าผู้ตาย เพียงแต่จำเลยที่ 1 บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเท่านั้น บ่งชี้ชัดว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นคนร้ายรายนี้จริง ที่จำเลยที่ 1 นำสืบต่อสู้ว่าไม่เคยไปพักที่โรงแรม ร. กับได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การแล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ให้การกล่าวถึงการกระทำโดยละเอียดและยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพตามบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 จึงไม่น่าเชื่อ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง โดยการแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ ไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น เห็นว่า การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่งยกเรื่องการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้จำเลยที่ 1 ทราบ อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นพยานหลักฐานได้
อนึ่ง คดีนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2
อนึ่ง คดีนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เรือนจำกลางบางขวางแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ทราบเพื่อมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และการพิจารณาโทษฐานปลอมแปลงเอกสาร
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษา ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธินำคดีอาญาเนื่องจากคดีซ้ำซ้อน - กรรมเดียวกัน
ก่อนที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแขวง ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันกับการกระทำผิดที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และศาลแขวงได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องแล้วถือได้ว่ามีคำพิพากษาวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องในกรรมที่ได้ก่อให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มิใช่หมายถึงฐานความผิดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายซ้ำ ศาลสั่งระงับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(4)
เมทแอมเฟตามีนจำนวน 174 เม็ด ในคดีนี้ที่ยึดได้จากกระเป๋าผ้าลักษณะคล้ายถุงย่ามที่จำเลยสะพายอยู่เป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ดที่ค้นได้จากห้องของจำเลยในคดีก่อนของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด และจำนวน 174 เม็ด ไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญา และผลของการถอนฟ้องต่อการดำเนินคดี
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ