คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับสิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12055/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ระงับสิทธิฟ้องอาญาได้ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวน ศาลจำหน่ายคดีได้ชอบ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้มีการถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญาความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ซึ่งการขอถอนคำร้องทุกข์จะกระทำต่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ หรือศาลก็ได้ แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแล้ว เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อคดีนี้ได้มีการถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดี ส่วนการที่ผู้ร้องทั้งห้ายื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวน และเพิกถอนคำสั่งอนุญาตถอนฟ้องและคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น แม้ผู้ร้องทั้งห้าจะอ้างว่า ส. ไม่ได้รับมอบอำนาจช่วงให้ทำการถอนคำร้องทุกข์คดีนี้ หรือได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อกล่าวโทษ ส. ในข้อหาแจ้งความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ แต่ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งห้าขัดกับหลักฐานที่ปรากฏต่อศาล จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งจำหน่ายคดี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอให้ไต่สวนของผู้ร้องทั้งห้ามานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายเป็นเหตุให้ระงับสิทธิการฟ้องคดีอาญาได้ แม้จะอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
การขอถอนคำร้องทุกข์นั้น ผู้เสียหายจะถอนต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตามเมื่อปรากฏว่า พนักงานอัยการโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้วสิทธิในการนำคดีของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป การที่โจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ศาลก็ชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดี โดยไม่จำเป็นต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท – การระงับสิทธิฟ้องคดีซ้ำ – การริบของกลาง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท-ระงับสิทธิฟ้อง: คดีผลิตและครอบครองยาเสพติด
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่ เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีน ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยาย ฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีน โดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน 3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิตดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่ จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของ จำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32,33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาท: การระงับสิทธิฟ้องคดีจากการนัดหยุดงาน
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย เมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกัน เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวน จึงย่อมมิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาทแรงงาน การระงับสิทธิฟ้องคดีเดิม
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยเมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามจะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่าในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกันเช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวนแล้ว มิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่าง การนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย ซึ่งรวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย และแม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ ระบุให้รวมการฟ้องคดีนี้ซึ่งได้ฟ้องก่อนทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับไปก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2440 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ระบุว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องอาญาเนื่องจากการถอนคำร้องทุกข์ และผลกระทบต่อการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และฐาน ฉ้อโกง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็ค ประกันหนี้และได้ ชำระหนี้นั้นแล้ว การกระทำของ จำเลยไม่เป็นความผิดตาม ฟ้อง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ขอถอน คำร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนโดย อ้างว่าจะนำคดีมาฟ้องเอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) พิพากษายืน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในความผิดกรรมเดียว การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
จำเลยที่ ๑ เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันป๊อก ที่บ้านจำนวน๒ วง โดย แต่ละวงมีผู้เข้าร่วมเล่นหลายคน การกระทำของจำเลยที่ ๑จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แต่ โจทก์ได้ ฟ้องจำเลยที่ ๑ เป็น ๒ คดีตาม จำนวนวงการพนันในข้อหาว่าเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันป๊อกเมื่อคดีสำนวนหนึ่งศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยที่ ๑ไปแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๑ อีกคดีหนึ่งย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙(๔).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียว: การระงับสิทธิฟ้องเมื่อรับของโจรในคราวเดียวกันแต่ถูกฟ้องแยกคดี
จำเลยรับของโจรทรัพย์รวม 13 รายการไว้ในคราวเดียวกันแม้จะปรากฏว่าทรัพย์ดังกล่าวแต่ละรายการเป็นของผู้เสียหายหลายคนต่างกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนของผู้เสียหายรวมทั้งคดีนี้ด้วยนั้น เมื่อได้ความว่าศาลชั้นต้นในคดีอื่นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร ทรัพย์บางรายการที่จำเลยรับมาในคราวเดียวกับคดีนี้แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะนำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรเป็นคดีนี้อีก เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4182/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสนับสนุนการฆ่าและความช่วยเหลือผู้กระทำผิด: การระงับสิทธิฟ้องเมื่อคดีถึงที่สุด
ท.ยิงผู้ตายแล้วไปรับเอากระสุนปืนจากจำเลยมาใช้ยิงผู้ตายซ้ำอีก หลังจากนั้นจำเลยยังได้ส่งกุญแจรถจักรยานยนต์ให้ ท.เพื่อใช้ขับขี่หลบหนีพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในข้อหาช่วยท. ให้หลบหนีเพื่อมิให้ถูกจับกุมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าว ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยในข้อหาเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดโดยการช่วยเหลือส่งกระสุนปืนให้ ท. ยิงผู้ตายเป็นคดีนี้อีกดังนี้การช่วยเหลือของจำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนในการกระทำความผิดของ ท. เป็นการช่วยเหลือกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสายจนเป็นความผิดสำเร็จในข้อหาเป็นผู้สนับสนุน ท. ฆ่าผู้ตายและช่วยเหลือ ท.เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อจำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนจนศาลพิพากษาลงโทษและคดีถึงที่สุดไปแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์เป็นคดีนี้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(4)
of 3