พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาและการเริ่มต้นระยะเวลาฎีกา
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยส่งหมายนัดให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในคำให้การ ปรากฏว่าส่งไม่ได้ จึงปิดประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลเมื่อถึงวันที่ 29 เมษายน 2534 ซึ่งเป็นวันนัด ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2534 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการที่จำเลยไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะเจ้าหน้าที่มิได้นำหมายนัดไปส่งให้แก่ทนายจำเลยตามที่อยู่ใหม่ การประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลจึงไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติและในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าอนุญาตให้จำเลยยื่นฎีกานับแต่วันนี้จึงถือได้ว่าในวันที่ 13 กันยายน 2534 จำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ซึ่งจะครบกำหนดฎีกาในวันที่ 13 ตุลาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่13 ถึง 15 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 16 ตุลาคม 2534 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาในกำหนดระยะเวลาฎีกาและการระงับสิทธิเรียกร้อง
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฎีกา: การนับระยะเวลาเริ่มต้นจากวันที่อ่านคำพิพากษาให้ตัวจำเลยฟัง แม้จะอ่านซ้ำให้ทนายความ
ศาลจังหวัดนนทบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ตัวจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2526 แม้ต่อมาศาลจังหวัดพิษณุโลกจะได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ก็ต้องถือตั้งแต่วันอ่านโดยชอบในครั้งแรก การที่ทนายจำเลยยื่นฎีกาวันที่ 18 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ตัวจำเลยฟัง จึงล่วงเลยระยะเวลาที่จำเลยมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว