คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระยะเวลาบอกเลิก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเช่าค้างชำระ, สิทธิขับไล่, ระยะเวลาบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดเวลา 6 ปี แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 538 แต่หลังจากครบ 3 ปีแล้ว จำเลยยังคงเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีกโดยโจทก์มิได้ทักท้วง จึงต้องถือว่าเป็นการเช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 ซึ่งโจทก์จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 566 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่ครบ 2 เดือน ไม่ถูกต้องตามมาตรา 566 การเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบ แต่นอกจากโจทก์จะตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ยังตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าอีกด้วย ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในข้อนี้ไว้ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแล้ว นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามมาตรา 560 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่เช่าและเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม: ระยะเวลาบอกเลิกและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 15 ครบกำหนดวันที่ 13กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 15 ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แต่การประชุมของ คชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้ว ดังนั้น ขณะที่จำเลยที่ 15 มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่า จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่า การที่จำเลยที่ 15 ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนา ก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปี จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นมาภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช่าที่ดินไม่มีกำหนด บอกเลิกไม่ครบ 2 เดือน ศาลยกฟ้อง
เช่าที่ดินปลูกบ้านไม่มีกำหนดเวลาผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่าแต่บอกล่วงหน้าไม่ครบ 2 เดือน ก่อนฟ้องศาลพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, ระยะเวลาบอกเลิก, และความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาบังคับคดี
สัญญาเช่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเช่าเป็นแต่ระบุค่าเช่าเดือนละ 30 บาท ต้องถือว่ากำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนจำเลยจะเถียงว่าทางปฏิบัติชำระค่าเช่ากันเป็นรายปีไม่ได้เพราะกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 566 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่า 'ในความที่ตกลงกัน' คือ ตามสัญญา ไม่ใช่ทางปฏิบัติเรื่องนี้ไม่มีกำหนดเวลาเช่า กำหนดแต่ระยะค่าเช่า คือเดือนละครั้ง จึงบอกล่วงหน้าเพียง 1 เดือนก็พอโจทก์บอกล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2501 และฟ้องคดีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2501 เป็นเวลากว่า 1 เดือน ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยขนไม้และสิ่งของต่างๆ ออกไปให้พ้นที่ดินและบ้านเรือนของโจทก์ ซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่าและเป็นผู้นำสิ่งของเหล่านี้เข้ามา ในชั้นบังคับคดี จำเลยทำสัญญาประกันกับศาลว่าจะปฏิบัติตามคำบังคับครบถ้วนทุกประการภายใน 7 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติครบถ้วนภายในกำหนดจะยอมให้ปรับเป็นเงิน 8,000 บาทครั้นถึงกำหนดปรากฏว่าจำเลยขนไม้และสิ่งของออกไปบางส่วน ส่วนไม้และสิ่งของที่เหลือจำเลยอ้างว่าเป็นของหุ้นส่วนซึ่งได้ตกลงแบ่งปันกันแล้วไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่ขนของที่จำเลยนำเข้ามาออกไปไม่ว่าจะเป็นของๆ ใครก็ตาม เมื่อจำเลยขนไปไม่หมด ก็ต้องถูกปรับ 8,000 บาทตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีกำหนดเวลา การฟ้องขับไล่ และระยะเวลาบอกเลิกสัญญา
การเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 อันเป็นระยะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าของเดือนที่ล่วงแล้ว และยังฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2500 ถือว่า ได้บอกเลิกสัญญาครบถ้วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องกระทำล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งงวดค่าเช่า การฟ้องขับไล่จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
เช่าห้องแถวกันโดยชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าในวันที่ 9 ของเดือน แล้วยื่นฟ้องขับไล่ผู้เช่าในวันที่ 22 ของเดือนถัดไปเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าได้มีการบอกเลิกการเช่าล่วงหน้าชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13550/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายสถานประกอบกิจการและการบอกเลิกสัญญาจ้างงานภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 หมายถึง ผู้ประกอบกิจการย้ายสถานที่ผลิตสินค้า ขายสินค้าหรือสถานที่ให้บริการซึ่งมีอยู่เดิมจากแห่งหนึ่งไปยังสถานที่แห่งใหม่ เดิมปี 2536 โจทก์ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์มีสำนักงานเทพลีลาเป็นสถานที่ประกอบกิจการแห่งเดียว ต่อมาปี 2549 โจทก์เปิดสถานประกอบกิจการอีกแห่งหนึ่งแล้วจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสถานประกอบกิจการแห่งใหม่เป็นสำนักงานใหญ่และสำนักงานเดิมเป็นสำนักงานสาขา โจทก์ทยอยปิดสำนักงานเดิมเป็นแผนก ๆ โดยย้ายลูกจ้างไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ ครั้งสุดท้ายวันที่ 30 เมษายน 2552 โจทก์ย้ายลูกจ้างในแผนกที่เหลืออยู่ที่สำนักงานเดิมทั้งหมด ถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบกิจการตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ทำการสำนักงานใหญ่แล้วทยอยปิดส่วนงานที่สำนักงานเดิมเป็นแผนก ๆ ไปโดยโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ทันที และในที่สุดโจทก์ประกาศปิดการดำเนินกิจการที่สำนักงานเดิมอย่างถาวร แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการย้ายสถานประกอบกิจการจากสำนักงานเดิมไปยังสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียวตั้งแต่ปี 2549 เพียงแต่ทยอยย้ายแผนกงานและลูกจ้างเท่านั้นไม่ได้ย้ายไปทั้งหมดในทันที การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้สำนักงานเดิมเป็นสาขาเป็นวิธีการหรือกระบวนการของการย้ายสถานประกอบกิจการของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้เวลาถึง 2 ปีเศษ ก็หาใช่โจทก์ย้ายสถานประกอบกิจการไปยังสถานที่อื่นซึ่งโจทก์มีอยู่ก่อนแล้วไม่