พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571-7572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกและระยะเวลาฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี
หนังสือมอบอำนาจโจทก์ที่ให้ ส. ฟ้องคดีแทนมิได้ระบุว่ายื่นฟ้องใครและข้อหาอะไร เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนและยังแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยทั้งสามด้วยข้อหาอะไร เกี่ยวกับเรื่องอะไร ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีต้องระบุรายละเอียดว่ามอบอำนาจให้ฟ้องใคร ข้อหาอะไร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกเพิงที่พักลงบนที่ดินพิพาทเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2537 และจำเลยที่ 1 นำหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจและต่อสู้คดีแสดงว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการบุกรุกที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 แล้ว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 28 เมษายน 2538 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกเพิงที่พักลงบนที่ดินพิพาทเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2537 และจำเลยที่ 1 นำหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจและต่อสู้คดีแสดงว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการบุกรุกที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 แล้ว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 28 เมษายน 2538 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มต้นนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: การมอบตัวไม่ใช่การจับกุม
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนและส่งตัวจำเลยไปที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในวันเดียวกัน แล้วปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่มีการควบคุมตัวจำเลยไว้ หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน แสดงว่าจำเลยไม่ถูกพนักงานสอบสวนจับกุม เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับกุม จึงยังไม่มีจุดเริ่มต้นในการนับระยะเวลาในการฟ้องคดี โจทก์สามารถฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเด็ก ต้องมีการจับกุมก่อน จึงจะอยู่ในบังคับมาตรา 51/53 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วจำเลยให้การปฏิเสธโดยจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวไว้ การเข้ามอบตัวของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุม การฟ้องคดีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาที่ศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและระยะเวลาการฟ้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ ความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 296 ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการที่จะให้ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีการตราพระราชกฤษฎีกาแล้วและมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 กรณีย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การฟ้องใหม่ และอำนาจฟ้อง
การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเข้ามาใหม่ในกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะและไม่อยู่ในบังคับแห่งบทกฎหมายว่าด้วยอายุความ หรือการย่นหรือขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26
การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 หมายถึงการนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งดังที่โจทก์ฟ้องได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิมกรณีไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ดังนั้น โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเป็นจำเลยเข้ามาในคดีนี้ด้วยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม
การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 หมายถึงการนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งดังที่โจทก์ฟ้องได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิมกรณีไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ดังนั้น โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเป็นจำเลยเข้ามาในคดีนี้ด้วยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการวางเงินค่าชดเชยต้องรวมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลาอันเป็นบทบัญญัติทั่วไป
โจทก์ได้รับทราบคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยต้องเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง และจะครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภายในวันที่ 12 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเปิดราชการในวันแรกได้ตามมาตรา 193/8 การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางในวันที่ 12มีนาคม 2544 ถือว่าโจทก์นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แล้ว
จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ถ้าโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลโจทก์จะต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยย่อมหมายความรวมทั้งคำสั่งที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่จำเลยร่วม ทั้งการวินิจฉัยในส่วนเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยด้วย โจทก์จึงไม่อาจที่จะอ้างว่าโจทก์คงติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะเรื่องเงินค่าชดเชยเท่านั้น ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำแต่เงินค่าชดเชย 97,800 บาท มาวางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย
โจทก์ได้รับทราบคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยต้องเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง และจะครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภายในวันที่ 12 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเปิดราชการในวันแรกได้ตามมาตรา 193/8 การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางในวันที่ 12มีนาคม 2544 ถือว่าโจทก์นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แล้ว
จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ถ้าโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลโจทก์จะต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยย่อมหมายความรวมทั้งคำสั่งที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่จำเลยร่วม ทั้งการวินิจฉัยในส่วนเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยด้วย โจทก์จึงไม่อาจที่จะอ้างว่าโจทก์คงติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะเรื่องเงินค่าชดเชยเท่านั้น ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำแต่เงินค่าชดเชย 97,800 บาท มาวางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: หากรัฐไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า"ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ มาตรา 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรม กอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น"และข้อ 575 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลา ที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ส. จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ส. ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่าส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่ วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น มาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือ ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ภายในวันที่ 26 มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุ ให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลา ดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัย คำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง การจับและควบคุมตัวผู้ต้องหา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้นเป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วยดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้อง ส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ ดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจ รับ คำร้อง ของ ผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่ง ยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืน: สิทธิฟ้องขาดอายุหากไม่ฟ้องภายใน 1 ปีหลังพ้น 60 วันจากวันรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์
โจทก์เห็นว่าราคาค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรม จึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2536 ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคสอง คือภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 18มกราคม 2538 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2538 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อพ้น 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ไม่ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)