พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องคืนสิทธิครอบครอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้ คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยานและขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮ เข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องกรณีบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและระยะเวลาฟ้องร้อง
ธนาคารโจทก์ประกอบธุรกิจในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรให้แก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกของโจทก์ เมื่อเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์แล้วสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีข้อตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดแต่โจทก์จะเป็นผู้ออกเงินสำรองชำระค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าไปก่อนตามที่ร้านค้าได้ส่งใบบันทึกการขายมาเรียกเก็บเงินจากโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ยังสามารถนำบัตรเครดิตดังกล่าวไปถอนเงินสดจากเครื่องเบิกถอนเงินอีกภายหลังตามจำนวนที่โจทก์ได้แจ้งให้สมาชิกทราบในใบแจ้งยอดบัญชีในแต่ละงวดหากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้สมาชิกบัตรดังกล่าวจะต้องชำระเบี้ยปรับและดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ การให้บริการแก่สมาชิกบัตรของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมสำหรับบัตรเครดิตจากสมาชิกด้วย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจโดยรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินคืนจากสมาชิกในภายหลังนั้นก็เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป จึงเป็นกรณีต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 193/34(7) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งการเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้มีอายุความ 2 ปี จำเลยนำบัตรเครดิตไปใช้ครั้งสุดท้ายในวันที่ 17 มกราคม2536 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีเรียกเก็บไปยังจำเลยแต่จำเลยไม่ชำระและโจทก์ได้แจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2536 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่9 พฤศจิกายน 2538 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและการรับประกันภัย: การกำหนดระยะเวลาฟ้องร้องและการรับผิดของจำเลยแต่ละราย
จำเลยขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องของจำเลยแต่เพียงว่า สำเนาให้โจทก์รวมสั่งในอุทธรณ์ และสั่งในอุทธรณ์ว่า จำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้แล้ว โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของบริษัทอ. ซึ่งโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยโจทก์เสียค่าซ่อมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แทนผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยที่ 1และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 จึงมีสิทธิเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ตามมาตรา 226 วรรคแรก ฉะนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 448 วรรคแรกโจทก์ก็ต้องฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 3เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยจึงต้องนำอายุความตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยมาปรับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดิน: การแสดงเจตนาเป็นเจ้าของไม่จำเป็นต้องเปิดเผย และระยะเวลาฟ้องร้อง
แม้ฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ การที่จำเลยทำการปลูกมะพร้าวในที่พิพาทนับร้อยต้น ย่อมแสดงว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ มีลักษณะเป็นการแย่งการครอบครองแล้ว จำเลยปลูกต้นมะพร้าวในที่พิพาทตั้งแต่ก่อนกลางปี พ.ศ. 2525โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2526 จึงเกิน 1 ปีนับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง แม้ฟังว่าพนักงานโจทก์เคยไปที่พิพาทพบน้องสาวจำเลย น้องสาวจำเลยไม่ยอมบอกว่ากระต๊อบที่จำเลยปลูกในที่พิพาทเป็นของใครและไม่ยอมบอกว่าใครเป็นคนปลูกมะพร้าว น้องสาวจำเลยยังบอกด้วยว่าตนมาอาศัยเลี้ยงหอย เท่านั้น การกระทำของน้องสาวย่อมมิใช่การกระทำของจำเลย จะถือว่าจำเลยไม่กล้าเปิดเผยเจตนาแย่งการครอบครองและยอมรับอำนาจในการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ย่อมมิได้ ทั้งการแย่งการครอบครองนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่มีการแสดงเจตนาเป็นเจ้าของ จะเป็นไปโดยเปิดเผยหรือไม่ ย่อมมิใช่ข้อสำคัญ จำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์หรือน้องสาวของจำเลยมาก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ ทั้งในการแย่งการครอบครอง ไม่จำเป็นที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องทราบว่าตนเองถูกแย่งการครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหมิ่นประมาท: การแยกพิจารณาคดีอาญาและแพ่ง และระยะเวลาการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่กล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยเอกสาร แม้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาอันเนื่องจากการกระทำเดียวกัน แต่คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีของโจทก์คดีนี้จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินและการออกหนังสือรับรองประโยชน์ – ไม่ใช่การแย่งการครอบครอง – กำหนดระยะเวลาฟ้องร้อง
โจทก์ครอบครองที่ดิน จำเลยร้องขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนำเจ้าพนักงานเดินสำรวจที่ดิน โจทก์ได้คัดค้านเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2519 แต่ต่อมาเจ้าพนักงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2520 การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องแย่งการครอบครอง โจทก์ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างสัญญาที่ทำระหว่างสามีภริยาตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1461 ไม่จำกัดประเภทสัญญาและมีระยะเวลาฟ้องร้องได้ภายใน 1 ปีหลังการสิ้นสุดการสมรส
ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1461 ระบุไว้ว่า สัญญาใดที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามรีภริยานั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
จะบอกล้างเสียก็ได้ กฎหมายระบุคำว่าสัญญาที่ทำกันไว้ลอย ๆ จึงย่อมมีความหมายว่า สัญญาใด ๆ ที่ทำไว้ต่อกันไม่ว่า
จะเป็นสัญญาที่จะต้องปฏิบัติกันต่อไปอีกหรือไม่ ก็ย่อมอยู่ในขอบข่ายที่จะบอกล้างได้ตามความในมาตรา 1461 ได้
ทั้งสิ้น.
และตามมาตรา 1461 นี้ ระบุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาที่ทำไว้ต่อกันได้ในเวลาใด ๆ ในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันอยู่ หรือภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันขาดจากสามีภริยากัน ฉะนั้นแม้จะทำาสัญญา
ยกกรรมสิทธิที่ดินให้แก่กันเกิน 10 ปีแล้ว แต่มาบอกล้างสัญญานั้นเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันหย่าขาดจาก
การเป็นสามีภริยากัน คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ./
จะบอกล้างเสียก็ได้ กฎหมายระบุคำว่าสัญญาที่ทำกันไว้ลอย ๆ จึงย่อมมีความหมายว่า สัญญาใด ๆ ที่ทำไว้ต่อกันไม่ว่า
จะเป็นสัญญาที่จะต้องปฏิบัติกันต่อไปอีกหรือไม่ ก็ย่อมอยู่ในขอบข่ายที่จะบอกล้างได้ตามความในมาตรา 1461 ได้
ทั้งสิ้น.
และตามมาตรา 1461 นี้ ระบุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาที่ทำไว้ต่อกันได้ในเวลาใด ๆ ในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันอยู่ หรือภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันขาดจากสามีภริยากัน ฉะนั้นแม้จะทำาสัญญา
ยกกรรมสิทธิที่ดินให้แก่กันเกิน 10 ปีแล้ว แต่มาบอกล้างสัญญานั้นเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันหย่าขาดจาก
การเป็นสามีภริยากัน คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนหนี้ค่าข้าวเป็นสัญญากู้ และการคิดดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฟ้องร้อง
เอาหนี้ที่ค้างชำระประเภทอื่นมาเปลี่ยนทำเป็นสัญญากู้เงินกันท่านว่าเป็นสัญญากู้เงินที่ใช้ได้ ดอกเบี้ย วิธีคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนใช้ประมวลแพ่ง ฯ คิดให้ตอนหนึ่งต่อจากใช้ประมวลแพ่งแล้วคิดให้เพียง 5 ปี แลให้นับถอยหลังจากวันฟ้องขึ้นไป (ไม่เกิน 5 ปี) วิธีพิจารณาแพ่ง อย่างไรเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนประเด็นข้อหาคำร้องที่ยื่นภายหลังฟ้องโดยบรรยายความจริง ให้ฟังไม่เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนประเด็นข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: กำหนดระยะเวลาฟ้องร้องหลังคืนทรัพย์สิน กรณีเรียกค่ารักษาสายและเครื่องโทรศัพท์
คดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยว+สัญญาเช่านั้น เมื่อส่งทรัพย์ที่เช่าคืนแล้ว ต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วัน+ทรัพย์ที่เช่านั้นคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมอาคารชุดเป็นโมฆะ หากมีการมอบฉันทะให้ผู้มีข้อจำกัดออกเสียง และการนับระยะเวลาฟ้องร้องเริ่มจากวันยื่นคำร้องเดิม
ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดระบุว่า กรณีใดมิได้ตราไว้ในข้อบังคับนี้ ให้นำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 รวมถึงกฎหมายอาคารชุดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในภายหน้า ตลอดจนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับ เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุดมิได้มีบทบัญญัติให้มีการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมอันผิดระเบียบไว้จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ซึ่งกรณีนี้ได้แก่มาตรา 1176 และมาตรา 1195 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การมอบฉันทะให้ อ. ซึ่งเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนเจ้าของร่วมเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 47 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) จึงเป็นกรณีที่การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมเป็นการประชุมซึ่งมีบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของร่วมเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1176 การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมและการลงมติของที่ประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมย่อมเสียไปทั้งหมด หาใช่มีผลเพียงไม่นับการออกเสียงลงคะแนนของ อ. เป็นองค์ประชุมและคะแนนที่จะใช้ลงมติไม่
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ประกอบมาตรา 1195 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำคำฟ้องมายื่นใหม่แทนคำร้องเดิม การนับกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ประกอบมาตรา 1195 ต้องนับถึงวันยื่นคำร้องเดิม มิใช่วันยื่นคำฟ้องที่ทำมายื่นใหม่ตามคำสั่งศาล คำฟ้องของโจทก์จึงอยู่ในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ประกอบมาตรา 1195 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำคำฟ้องมายื่นใหม่แทนคำร้องเดิม การนับกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ประกอบมาตรา 1195 ต้องนับถึงวันยื่นคำร้องเดิม มิใช่วันยื่นคำฟ้องที่ทำมายื่นใหม่ตามคำสั่งศาล คำฟ้องของโจทก์จึงอยู่ในกำหนดเวลาตามกฎหมาย