พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์: เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ทำหนังสือก็มีผลผูกพัน
การที่จำเลยให้โจทก์เช่าที่ดินสร้างอาคารโดยมีข้อตกลงกันว่า จำเลยต้องให้โจทก์เช่าที่ดินตามกำหนดระยะเวลาหนึ่ง แล้วโจทก์จะให้อาคารพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ให้เช่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้เช่าเกินกว่า 3 ปีโดยไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานก็มีผลบังคับ ไม่ใช่ต้องลดเหลือ 3 ปี หรือถือว่าเช่าโดยไม่กำหนดระยะเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ: การปรับปรุงอาคารและการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า บ่งชี้ระยะเวลา 6 ปี
โจทก์ทั้งสามทำสัญญาเช่าอาคารจากจำเลยตกลงเช่ามีกำหนด6ปีแบ่งออกเป็น2ช่วงช่วงละ3ปีค่าเช่า3ปีแรกเดือนละ200,000บาทส่วน3ปีหลังเพิ่มค่าเช่าอีกร้อยละ15โจทก์ทั้งสามจึงดัดแปลงตกแต่งอาคารสิ้นค่าใช้จ่ายไปประมาณ6,000,000บาทและตามข้อสัญญาข้อ4ว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นำมาตกแต่งในสถานที่เช่าถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับตัวอาคารแล้วผู้เช่าจะรื้อถอนไปไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าการปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นนั้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นในการลงทุนปรับปรุงจากอาคารพิพาทประกอบกับข้อสัญญาดังกล่าวบ่งชี้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและมีกำหนด6ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ: การปรับปรุงอาคารและระยะเวลาเช่า 6 ปี
โจทก์เช่าอาคารเฉพาะชั้นที่1ถึงชั้นที่6จากจำเลยในอัตราค่าเช่าเดือนละ200,000บาทต่อมาโจทก์ได้ปรับปรุงอาคารที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นห้องพักและสำนักงานสิ้นค่าใช้จ่ายไป6,000,000บาทและจะต้องชำระค่าเช่าให้จำเลยอีกเดือนละ200,000บาททั้งตามข้อสัญญาระบุว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นำมาตกแต่งในสถานที่เช่าถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับตัวอาคารแล้วผู้เช่าซื้อจะรื้อถอนไปไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าการปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นนั้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นในการลงทุนปรับปรุงอาคารพิพาทประกอบกับข้อสัญญาดังกล่าวบ่งชี้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9188/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: สิทธิในการบังคับให้ทำสัญญาเช่าเมื่อสัญญาต่างตอบแทนผูกพัน และระยะเวลาเช่าเริ่มเมื่อทำสัญญา
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารให้ตามข้อผูกพันอันสืบเนื่องจากสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับ ต.ซึ่งเป็นผู้ที่จำเลยอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโดยต.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้สิทธิแก่ ต.ที่จะรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้มาขอเช่า โดยจำเลยจะทำสัญญาและจดทะเบียน การเช่าให้แก่ผู้เช่ามีกำหนด 25 ปี มิใช่ฟ้องให้ส่งมอบ ทรัพย์สินที่เช่าอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้เพราะสิทธิดังกล่าวจะมีและพึงบังคับได้ต่อเมื่อสัญญาเช่านั้นได้ก่อเกิดเป็นผลแล้ว คดีโจทก์จึงมิได้อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 474 โจทก์ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ในอาคารพิพาทตามสัญญาเช่าเพราะเหตุจำเลยได้คล้องกุญแจไว้ และจำเลยเป็นฝ่ายปฏิเสธไม่ยอมทำสัญญาและจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามข้อผูกพันมาตั้งแต่แรก โดยจำเลยมีหน้าที่จะต้องทำสัญญาให้แก่ผู้เช่ามีกำหนดเวลาเช่า 25 ปี ด้วยการจดทะเบียนการเช่า ดังนี้ตราบใดที่สัญญาเช่ายังมิได้ทำขึ้น ระยะเวลาแห่งการเช่ายังไม่อาจ เริ่มต้นได้ ศาลพิพากษาให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนการเช่า ให้แก่โจทก์มีกำหนด 25 ปี นับแต่วันจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าช่วงและระยะเวลาการเช่าตามสิทธิของผู้ให้เช่าช่วง โดยอิงตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาเช่าเดิม
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารใช้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา20ปีนับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่20พฤศจิกายน2513ถึงวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวจึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราดังนี้ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า20ปีจึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่าหมายถึงอายุการเช่า20ปีตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคารหากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า20ปีเกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก5ปีเพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้าวัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก5ปีซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลยจึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ20ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา เมื่อพ้นกำหนดกลายเป็นเช่าไม่มีกำหนด สิทธิการเช่าระงับเมื่อบอกเลิก
สัญญาเช่าระบุว่าเมื่อพ้นอายุสัญญาเช่า 15 ปีแล้ว โจทก์ยินยอมตกลงให้จำเลยเช่าต่อได้อีก 14 ปีนั้น กำหนดเวลาเช่าที่กำหนดไว้แน่นอนมีเพียง 15 ปีส่วนเมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวหากจำเลยประสงค์จะเช่า โจทก์จะให้จำเลยเช่าต่อไปได้อีก 14 ปี เป็นคำมั่นของโจทก์ที่จะให้จำเลยเช่า จำเลยจะต้องแสดงความจำนงต่อโจทก์ก่อนครบอายุสัญญาเช่า เมื่อจำเลยมิได้แสดงความจำนงที่จะเช่าต่อก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่า การที่จำเลยคงอยู่ในที่เช่าและชำระค่าเช่าภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมแล้ว จึงเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 570 คำมั่นที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าย่อมระงับไป เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่เช่าต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความยังไม่สมบูรณ์เป็นสัญญาเช่า หากขาดรายละเอียดสำคัญ เช่น ระยะเวลาและอัตราค่าเช่า
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่า หากครบสัญญาเช่าแล้วโจทก์จะให้จำเลยเป็นผู้เช่าต่อเป็นรายแรก ไม่อาจตีความว่าเป็นสัญญาเช่า เพราะไม่มีรายละเอียดในเรื่องกำหนดระยะเวลาเช่าและอัตราค่าเช่า ซึ่งถือเป็นสารสำคัญของสัญญาเช่าทรัพย์ แสดงว่าโจทก์จำเลยจะต้องตกลงกันในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อยังไม่มีการตกลงกันก็ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกัน จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าทรัพย์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงสัญญาเช่าสำคัญกว่าถ้อยคำ หากขัดกับเจตนาเดิม ศาลยกเลิกสัญญาได้
คำฟ้องฎีกาของโจทก์มี ช. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ช. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ช. จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ตามมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น คำฟ้องฎีกาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3381/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือนโดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือนโดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงสัญญาเช่า-การโอนสิทธิ: สัญญาเช่ามีผลผูกพันตามระยะเวลาที่จดทะเบียน แม้มีข้อตกลงให้สิ้นสุดเมื่อมีการขาย
คำฟ้องฎีกาของโจทก์มี ช. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ช. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ช. จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ตามมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น คำฟ้องฎีกาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3381/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก. ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือน โดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้ แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก. ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือน โดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้ แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่านาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 สิทธิการเช่าต่อเนื่องต้องมีการตกลงกันใหม่
โจทก์เช่านาจำเลยทำอยู่โดยไม่มีกำหนดเวลาก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิในการเช่านาจำเลยมีกำหนดหกปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกปีแล้ว จะต้องมีการตกลงเช่ากันอีกเป็นคราว ๆ จึงจะมีสิทธิในการเช่าต่อไปอีกคราวละหกปี หาใช่ว่าเมื่อตกลงเช่ากันครั้งแรกและครบกำหนดหกปีแล้วต้องถือว่าได้มีการเช่านากันไปเรื่อย ๆ คราวละหกปีโดยไม่ต้องมีการตกลงเช่ากันแต่อย่างใดไม่
หลังจากสิ้นระยะเวลาการเช่านาแล้ว แม้จำเลยผู้ให้เช่าจะมิได้บอกเลิกการเช่านา แต่ปรากฏว่าขณะนั้นโจทก์จำเลยกำลังดำเนินคดีกันอยู่โดยโต้เถียงเกี่ยวกับการเช่านาระงับลงแล้วหรือไม่ และโจทก์ผู้เช่ามิได้ทำนาต่อไปจึงถือไม่ได้ว่ามีการเช่านากันต่อไปตามมาตรา 5
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์เลิกเช่านาจำเลยใน พ.ศ. 2523 เป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาเกินกว่าหกเดือนก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาจึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงเลิกการเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกปีแล้ว จะต้องมีการตกลงเช่ากันอีกเป็นคราว ๆ จึงจะมีสิทธิในการเช่าต่อไปอีกคราวละหกปี หาใช่ว่าเมื่อตกลงเช่ากันครั้งแรกและครบกำหนดหกปีแล้วต้องถือว่าได้มีการเช่านากันไปเรื่อย ๆ คราวละหกปีโดยไม่ต้องมีการตกลงเช่ากันแต่อย่างใดไม่
หลังจากสิ้นระยะเวลาการเช่านาแล้ว แม้จำเลยผู้ให้เช่าจะมิได้บอกเลิกการเช่านา แต่ปรากฏว่าขณะนั้นโจทก์จำเลยกำลังดำเนินคดีกันอยู่โดยโต้เถียงเกี่ยวกับการเช่านาระงับลงแล้วหรือไม่ และโจทก์ผู้เช่ามิได้ทำนาต่อไปจึงถือไม่ได้ว่ามีการเช่านากันต่อไปตามมาตรา 5
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์เลิกเช่านาจำเลยใน พ.ศ. 2523 เป็นสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาเกินกว่าหกเดือนก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาจึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงเลิกการเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยตามความหมายของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517