คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบงานอย่างร้ายแรงกระทบชื่อเสียงโรงแรม
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าการประพฤติหรือปฏิบัติตนหรือบริการแขกหรือพนักงานอื่นในลักษณะที่หยาบโลนหรือผิดวัฒนธรรมประเพณีของไทยแม้เป็นการกระทำครั้งแรกจำเลยก็จะดำเนินการทางวินัยด้วยการปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยทั้งนี้เพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างปฏิบัติเพื่อนำมาซึ่งความเชื่อถือไว้วางใจจากคนเดินทางหรือแขกผู้มาพักหรือใช้บริการว่าเป็นที่ซึ่งให้ความปลอดภัยสะดวกสบายและสงบจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้ที่ประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างเดียวกันได้ดังนั้นแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจะได้กระทำการโอบไหล่และพูดขอหอมแก้ม อ.ซึ่งเป็นพนักงานทำความสะอาดที่บริษัทอื่นส่งมาทำความสะอาดโรงแรมของจำเลยก็เข้าลักษณะเป็นแขกหรือพนักงานอื่นเช่นกันทั้งยังเป็นความผิดทางอาญาฐานกระทำอนาจารด้วยแม้ขณะที่โจทก์กระทำจะไม่มีผู้อื่นพบเห็นแต่ก็มี อ. ที่พบเห็นและได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้ร่วมงานฟังจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้วและมิใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ ร้ายแรง จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้าง: การกระทำผิดระเบียบงาน แม้มิเจตนาทุจริต ก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กับพวกร่วมกันทุจริตลักรถยนต์ของจำเลย โดยมอบกุญแจรถยนต์และชุดโอนทะเบียนให้ บุคคลอื่นไปโดยมิได้ทำหนังสือรับรถยนต์ไว้ จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วยังให้การต่อไปด้วยว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับคำสั่งและระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงในตอนต้นว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งในการจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่นนั่นเอง ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เพราะ โจทก์กระทำการดังกล่าวแต่ประการเดียว หามีเหตุการณ์อื่นที่จำเลยอาศัยเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่ การที่จำเลยใช้ถ้อยคำในคำสั่งเลิกจ้างว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น ก็เกิดจากการกระทำของโจทก์ดังกล่าว การกระทำที่เป็นการบกพร่องนั้นอาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนาที่จะฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยหรือไม่ก็ได้ และย่อมหมายถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่ที่ตนพึงต้องปฏิบัติโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ก็ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นสาเหตุอันเดียวกันกับที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีแล้วนั่นเอง