คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบบริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบบริษัทเป็นเหตุเลิกจ้างได้ อุทธรณ์เรื่องกระบวนการสอบสวนไม่กระทบผลคำพิพากษา
โจทก์กับพวกพาผู้หญิงไทยสองคนซึ่งใช้หนังสือเดินทางของบุคคลอื่นเพื่อเข้าประเทศญี่ปุ่น แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้โจทก์กับ ส. และผู้หญิงไทยทั้งสองคนเข้าประเทศญี่ปุ่น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบบริหารงานบุคคลของบริษัทจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยมิได้ดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและสั่งการต่อไปภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการสอบสวนได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือมิได้ขอขยายเวลาสอบสวนตามระเบียบบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลข้อ 17.4 หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้ดำเนินการพิจารณาและ/หรือสอบสวนและพิจารณาให้แล้วเสร็จ แล้วรายงานต่อกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์และมิได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาพิจารณาตามระเบียบดังกล่าวข้อ 24.3 ก็ย่อมไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างระบุโบนัส 4 เดือน มีผลผูกพัน แม้ระเบียบบริษัทจะกำหนดหลักเกณฑ์อื่น
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปี ที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจ จะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตาม ผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ แก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หากจำต้องตกลง จ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผก ไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้ โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัส ประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์ มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมี ความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัทจากการรับแทงพนันในที่ทำงาน แม้เจ้ามืออยู่นอกสถานที่
โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงาน ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการให้มีการเล่นพนันสลากกินรวบอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 มาตรา 12 แม้เจ้ามือผู้รับแทงซึ่งภริยาโจทก์นำโพยสลากกินรวบจากโจทก์ไปส่งจะอยู่นอกบริเวณโรงงานจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดของโจทก์ก็เกิดขึ้น ณ สถานที่ทำงานดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงานจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย เงินรางวัลประจำปีและค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างต้องไม่ต่ำกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้คำนวณตามระเบียบบริษัท
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์เป็นฐานการจ่ายเงินชดเชยไว้ในตอนต้นว่าบริษัทจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามอัตราซึ่งประกาศในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของกระทรวงมหาดไทย เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานบริษัท ข้อ 70 (2) ซ. คงอยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว แม้ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยนั้นจะคำนวณจากเงินเดือนครั้งสุดท้ายเดือนละ 31,320 บาท คูณ 100% คูณ 36 ปี 18 วัน ซึ่งเป็นจำนวนปีที่โจทก์ปฏิบัติงานให้แก่จำเลย แต่ก็มิได้น้อยกว่าค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 (3) แก้ไขโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กำหนดไว้ กล่าวคือค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทั้งโจทก์ก็ได้รับผลประโยชน์มากกว่าด้วย เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานบริษัทเอกสารหมาย ล.1 ข้อ 70(2) ซ. จึงเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัท แม้ไม่มีข้อบังคับห้ามชัดแจ้ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส. อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยยังมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินผลประโยชน์ออกจากงานเป็นมรดก-สินสมรส ระเบียบบริษัทใช้บังคับได้
เงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานที่บริษัท ช.คิดให้ผู้ตาย 2.25 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้ายต่ออายุงาน 1 ปีนั้นถือได้ว่าเป็นเงินของผู้ตาย หากผู้ตายยังไม่ตายและออกจากบริษัทฯไป บริษัทฯ ก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ผู้ตาย ดังนั้น เงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานจึงเป็นมรดกของผู้ตายมิใช่สินสมรส ตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ช. ที่กำหนดให้เงินตามโครงการผลประโยชน์ดังกล่าวแก่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายครึ่งหนึ่ง กับบุคคลที่ถูกระบุไว้ในหนังสือรับรองทายาทอีกครึ่งหนึ่งนั้น เป็นระเบียบข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลใช้บังคับได้ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายจึงมีสิทธิรับเงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานครึ่งหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานเป็นมรดก ไม่ใช่สินสมรส ระเบียบบริษัทจ่ายให้ภริยาและทายาทที่ระบุได้
เงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานซึ่งนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเงินของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างยังไม่ตายและออกจากงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างตายเงินดังกล่าวจึงเป็นมรดกของผู้ตาย มิใช่สินสมรสระหว่างผู้ตายกับภริยา ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างในการจ่ายเงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานที่กำหนดให้ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับไปครึ่งหนึ่ง กับบุคคลที่ลูกจ้างระบุไว้ในหนังสือรับรองทายาทอีกครึ่งหนึ่งนั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและสิทธิค่าชดเชย ระเบียบบริษัทมิใช่กำหนดระยะเวลาจ้าง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีระเบียบว่าด้วยการออกจากงานกรณีสูงอายุ ว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ซึ่งเป็นปีที่ผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานจำเลย เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ว่าพนักงานของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่งหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่ เพราะจำเลยอาจเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้ง และการถอนตำแหน่งหรือโจทก์จะสมัครใจลาออกก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็อาจทำได้การจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน กรณีไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะงานว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจ้างเป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ ดัง ระบุในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เงินบำนาญที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ จัดอยู่ในประเภทเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสามของระเบียบ ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานข้อ 3(3) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12ว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปีให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบห้าซึ่งมีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีค่าชดเชยแล้วฟ้องใหม่ได้ หากการถอนฟ้องไม่ได้เป็นการสละสิทธิ และค่าชดเชยตามระเบียบของบริษัทไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย
ในคดีก่อนโจทก์แถลงถึงเหตุผลของการถอนฟ้องว่า ตอนออกจากงานโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นค่าชดเชยตามระเบียบแล้ว เมื่อทราบจากคำให้การจำเลยว่า จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นค่าชดเชย จึงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ขอถอนฟ้อง คำแถลงดังกล่าวมีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือแปลได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลกรณีเดียวกันนั้นกับจำเลยอีกในภายหลัง เป็นแต่เพียงโจทก์เชื่อตามคำให้การของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย จึงขอถอนฟ้องเท่านั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ใหม่
จำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินทดแทนให้พนักงานและคนงานประจำที่ลาออกจากหน้าที่การงาน หรือถูกเลิกจ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าเงินทดแทนเป็นค่าชดเชย แม้จะเปลี่ยนคำให้ตรงกับคำในกฎหมายแต่หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยของจำเลยก็ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ไปตามระเบียบของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอนแทนการทำงานของพนักงานหรือลูกจ้างที่ทำงานตลอดมาจนออกจากงานหรือลาออกเอง หรือถึงแก่ความตายดังนี้เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้จ่ายแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเงื่อนไขในใบสมัครหลังอนุมัติ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเป็นการตกลงกันและเป็นไปตามระเบียบบริษัท
โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานโดยกรอกข้อความในใบสมัครเว้นว่างไว้แต่ในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านหลังใบสมัคร จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริษัทได้กรอกข้อความลงในช่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ภายหลังจากที่บริษัทได้มีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์เข้าทำงานแล้ว แต่จำเลยกระทำไปตรงตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับโจทก์ก่อนยื่นใบสมัครทั้งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการและระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์และเมื่อข้อความที่จำเลยกรอกนั้นตรงตามที่ได้ตกลงกับโจทก์ไว้ จำเลยก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
of 3