คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันจากพนักงานสอบสวน: เงินค่าปรับเป็นไปตามระเบียบราชการ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 136บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการที่จะปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ และมาตรา 106(1)บัญญัติว่า คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวเมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ดังนั้น ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มี อำนาจปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกันในกรณีที่ผู้ต้องหายังอยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนมิใช่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันได้ ทั้งอำนาจในการปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกัน กฎหมายมอบให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน มิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นการส่วนตัว เงินค่าปรับตามสัญญาประกันจึงต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการมิได้ตกเป็นเงินส่วนตัวของร้อยตำรวจเอกป. การที่ร้อยตำรวจเอกป. ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวได้มิได้แสดงว่าร้อยตำรวจเอกป.ในฐานะพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้องผู้ผิดสัญญาประกันโจทก์ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อพัสดุโดยชอบตามระเบียบ การชำระเงินไม่ผิดกฎหมาย และการไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากพัสดุสูญหาย
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอบและวัสดุไม่มีแล้วจึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำกลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ. 2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินก่อนหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่นและห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบ ของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2530แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 23 และมาตรา 26 จำเลยได้จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531ซึ่งเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาตัวแทนและการไม่ผูกพันตามสัญญา เมื่อมีเหตุสุดวิสัยจากระเบียบราชการ
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้ เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของ ก.เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ ดังนั้น ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 827
เมื่อปรากฏว่า หลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จาก ก. แต่ ก.ได้กำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายประการ และ ก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาต และผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูล ต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ ดังนี้ ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้ แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใด ๆ ได้ก็ตาม และการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาด แต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลย เช่นนี้ สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว
ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์ และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลย และเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้ เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว ฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ก.ได้ และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน: การกระทำนอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามระเบียบราชการ
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งสหกรณ์อำเภอ สังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร ส. จำกัด แต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเพื่อรับบรรจุพนักงาน เมื่อสหกรณ์ดังกล่าวเป็นนิติบุคคลต่างหากไม่ใช่หน่วยงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบโดยตรง ทั้งมติคณะกรรมการสหกรณ์ดังกล่าวก็ไม่มีระเบียบของทางราชการว่าให้ทำได้และจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม และการเป็นกรรมการสอบก็ไม่ใช่งานในหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย การเป็นกรรมการของจำเลยจึงไม่ใช่เจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับทรัพย์สินโดยมิชอบหรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแจ้งเกิด: การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามระเบียบราชการ ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องต่อจำเลยแจ้งการเกิดของโจทก์ที่ 1ที่เกิดจากมารดาคนต่างด้าว เพื่อให้จำเลยจดทะเบียนการเกิดออกหลักฐานการเกิดและเพิ่มชื่อนามสกุลของโจทก์ที่ 1 ในทะเบียนบ้านจำเลยได้รวบรวมเอกสารและพยานหลักฐานต่าง ๆ เสนอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา แต่ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาความล่าช้าของการดำเนินการเกิดจากการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทยไม่ได้เกิดจากเหตุที่จำเลยไม่ดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองตามระเบียบของทางราชการถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการฯ ทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่ตนเองเป็นหุ้นส่วน ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียหากราคาต่ำกว่างบประมาณและถูกต้องตามระเบียบ
ผู้ที่จะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายกเทศมนตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของเทศบาลโดยตรงและเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดช.ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายกับห้างหุ้นส่วนจำกัดช. เมื่อเทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะนายกเทศมนตรีไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่น จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คู่สัญญาจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
โจทก์และจำเลยที่ 2 กับพวกเคยถูกฟ้องเรื่องละเมิดและผิดสัญญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะคู่สัญญาส่วนจำเลยอื่นให้ยกฟ้องคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเรื่องละเมิดและเรียกทรัพย์คืน ดังนี้คดีก่อนโจทก์กับจำเลยไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันและไม่ใช่ประเด็นอย่างเดียวกันกับคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการตามกฎหมายซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยเคร่งครัดการที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อระเบียบของทางราชการโดยชัดแจ้ง ดังนี้เป็นการประมาทเลินเล่อ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้จะไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนผังทำเหมือง
จำเลยใช้ดุลพินิจ สั่งการและปฏิบัติไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นคดีเดียวกัน แต่ความเสียหายของโจทก์แต่ละคนที่ได้รับต่างกันและเป็นคนละจำนวน เป็นสิทธิเรียกร้องที่สามารถแยกต่างหากจากกันได้ โจทก์ทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนค่าเสียหายซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเงินยืมต้องเป็นไปตามอำนาจของผู้ว่าฯ การยืมเพื่อใช้ราชการมิอาจถือเป็นผู้ยืมตามกฎหมาย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า อำนาจอนุมัติเงินยืมเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2 ผู้เป็นปลัดจังหวัดจะสั่งอนุมัติได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และตามระเบียบราชการผู้ขอยืมเงินจะต้องขอไปใช้ในทางราชการ ผู้มีอำนาจอนุมัติจึงจะอนุมัติให้ยืมได้ ดังนี้ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเสมียนตรานำเงินยืมไปใช้นอกเหนือหน้าที่ราชการและจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือหน้าที่ราชการแต่อย่างใดจึงต้องฟังว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้ขอยืมเงินทดรองราชการและจำเลยที่ 2 อนุมัติไปตามฟ้อง เป็นการยืมไปใช้ในราชการ ในกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 หาได้อยู่ในฐานะผู้ยืมตามกฎหมายไม่ (อ้างฎีกาที่ 1107/2499) การที่โจทก์กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยืมเงินทดรองราชการไปแล้วไม่ส่งใช้เงินยืมหรือไม่ส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืม และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติเงินยืม จึงเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการนั้นเอง หาได้กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใดไม่ จึงไม่มีทางที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจฐานะนิติบุคคลแยกต่างหาก ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย
of 2