พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดระเบียบองค์กรและทำร้ายร่างกายพนักงานกระทบภาพลักษณ์และวินัย
โจทก์ชก ว.ที่แขนหนึ่งที เกิดรอยช้ำแดงหายได้ภายใน 4 ชั่วโมงโจทก์กระทำผิดขณะ ว.กำลังปฏิบัติหน้าที่ในเวลางานและภายในบริเวณบริษัทจำเลยซึ่งผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง นอกจากนี้โจทก์ทำร้ายร่างกาย ว.ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อหน้าพนักงานอื่นและบุคคลภายนอกในเวลาทำงานและในสถานที่ทำงานของจำเลย ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายต่อภาพพจน์ และการปกครองบังคับบัญชาพนักงานในองค์กรของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้างเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ระเบียบภายในองค์กร: ศาลต้องยึดตามที่คู่ความยอมรับในชั้นศาลล่าง และห้ามยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์
จำเลยจะใช้ระเบียบใดบังคับในองค์การของจำเลยเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง เมื่อโจทก์ยอมรับว่า ขณะโจทก์พ้นจากตำแหน่ง จำเลยมีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502ใช้บังคับ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความยอมรับ กัน ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ระเบียบดังกล่าว ถูกยกเลิกไปแล้วโดยข้อบังคับซึ่งจำเลยกำหนดขึ้นใหม่ จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นมาอุทธรณ์โดยมิได้ว่ากัน มาแล้วในศาลแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง กรณีข่มขู่ต่อรองให้ละเลยระเบียบองค์กร มิใช่สิทธิลูกจ้าง
ลูกจ้างขออนุญาตผู้บังคับบัญชาออกนอกสถานที่ตั้งแต่เวลา 9 น.ถึง 11 น. แต่กลับมาถึงที่ทำงานเวลา 14 น. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ลูกจ้างยื่นใบลาครึ่งวัน เพราะการขออนุญาตออกนอกสถานที่ได้จะต้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่งลูกจ้างไม่พอใจจึงเขียนใบลาและเขียนข้อความในเอกสารใส่ ซองวางไว้ที่โต๊ะผู้บังคับบัญชาโดยเจตนาให้ผู้บังคับบัญชายอมตกลงกับตนเรื่องไม่ต้องยื่นใบลา ในเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่าลูกจ้างอาจเปิดเผยความไม่ดีของผู้บังคับบัญชาในทำนองทุจริตเกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ การกระทำของลูกจ้าง ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความกลัวยอมตกลงกระทำในสิ่งที่ผิดระเบียบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะลูกจ้างเจตนาที่จะใช้เหตุดังกล่าวเป็น ข้อต่อรองกับผู้บังคับบัญชาให้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียง อย่างเดียว ไม่เป็นการสมควรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพึงกระทำ ต่อผู้บังคับบัญชาเช่นนั้น ทั้งการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชากระทำในสิ่งผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอาจเป็นเหตุก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างจึงได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงซึ่งตามข้อบังคับของนายจ้างมีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการ กระทำที่ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกรณีร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7485/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินตอบแทนจากระเบียบองค์กร แม้มีมติ ครม. มติ ครม. ไม่ลบล้างระเบียบที่ออกโดยชอบ
แม้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ว่า คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 มีมติเห็นชอบแนวทางการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนว่า ในกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างนั้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 มาตรา 38 ที่บัญญัติว่า "กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน... ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน..." และอัตราการจ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้างตามระเบียบจำเลยที่ 1 ว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง พ.ศ.2555 ก็กำหนดไว้ในข้อ 5 ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่เงินตอบแทนตามระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีในกรณีนี้เป็นเพียงการกำหนดกรอบนโยบายหรือแนวทางในการบริหารจัดการขององค์การมหาชนเท่านั้น หามีผลไปลบล้างระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ซึ่งออกโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยไม่ เมื่อคดีนี้ขณะโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และถูกเลิกจ้างในปี 2558 โดยระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยกเลิกและยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้ระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวบังคับแก่กรณีของโจทก์ ส่วนระเบียบจำเลยที่ 1 ว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง (ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2559 ซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากโจทก์ถูกเลิกจ้างไปแล้วจะนำมาใช้บังคับย้อนหลังกับโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่