พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนคณะกรรมการสมาคมโดยการไม่ไว้วางใจ และการตั้งคณะกรรมการรักษาการชอบด้วยกฎหมาย
การดำเนินกิจการของสมาคมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่โดยคณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการตามกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 86 เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการชุดเดิม ทำให้คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งไปและตั้งคณะกรรมการรักษาการขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ชั่วคราวในการดำเนินกิจการของผู้คัดค้านตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ การที่คณะกรรมการรักษาการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ก็เป็นการดำเนินการตามที่รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กับการประชุมของคณะกรรมการชุดใหม่ภายหลังจากนั้นชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคสามที่ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ในระหว่าง ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายสำหรับกรณีที่คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการในกรณีปกติธรรมดา และอยู่ในระหว่างดำเนินการทางทะเบียนเพื่อให้การดำเนินการของสมาคมมีความต่อเนื่องหรือไม่มีเหตุขัดข้องในช่วงว่างกรรมการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การป่าไม้ในการแต่งตั้งทนายความฟ้องคดี
ตามบทบัญญัติในมาตรา 21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2499 นั้น เมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งรองผู้อำนวยการก็เป็นผู้รักษาการแทนทันทีโดยไม่ต้องแต่งตั้ง มิใช่หมายถึงกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้จริง ๆ หรือในกรณีที่มีเหตุอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติอย่างแท้จริงดังนั้น เมื่อผู้อำนวยการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานเนื่องจากไปพบรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองผู้อำนวยการจึงมีอำนาจลงชื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบศาสนสมบัติและเอกสารของวัดให้เจ้าอาวาสรูปใหม่หลังพ้นจากหน้าที่รักษาการ
ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 6 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 26 ด้วย คือ (1) มีพรรษาพ้น 5 และ (2) เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในถิ่นนั้น ปรากฏว่าใน การประชุมปรึกษาเพื่อหาตัวผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระภิกษุในวัดโจทก์ร่วมประชุม 19 รูป ออกเสียงให้พระ น. เป็นเจ้าอาวาส 14 รูปออกเสียงให้จำเลย 5 รูป ใน 5 รูปนี้ มีพระ น. รวมอยู่ด้วย แม้จำเลยมีพรรษายุกาลสูงกว่าพระ น. แต่ตามพระวินัย กฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคมตลอดจนสังฆาณัติไม่ปรากฏเลยว่าจะต้องแต่งตั้งจากพระภิกษุที่มีพรรษาสูงสุด ในวัดนั้น การที่พระ น. ลงชื่อในตราตั้งพระ น. เป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์กระทำในฐานะเจ้าคณะจังหวัดมิใช่ในฐานะส่วนตัว พระ น. จึงเป็น เจ้าอาวาสวัดโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายของรัฐวิสาหกิจ: การมอบอำนาจและการรักษาการแทน
โรงงานกระสอบป่านไม่เป็นนิติบุคคล อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการโรงงานกระสอบป่านมีอำนาจทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย และตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2515 ข้อ 17 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการไว้ว่า ให้คณะกรรมการอำนวยการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารงานโดยทั่วไปของโรงงาน ทั้งนี้เพื่อให้โรงงานดำเนินกิจการไปตามวัตถุประสงค์ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยผู้อำนวยการโรงงานกระสอบป่านผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ทำสัญญาได้ไปราชการต่างประเทศคณะกรรมการอำนวยการโรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีมติให้ผู้จัดการโรงงานกระสอบป่านเป็นผู้รักษาการแทนและลงนามแทนผู้อำนวยการ ผู้จัดการโรงงานจึงลงนามแทนในสัญญาซื้อขายกับจำเลยได้ ดังนั้นกรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ผู้จัดการโรงงานลงนามไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของสรรพสามิตต์ในฐานะผู้รักษาการแทนนายอำเภอ
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทำการสอบสวนความผิดอาญานั้นหมายถึงผู้รักษาการแทนนายอำเภอด้วยสรรพสามิตต์เป็นหน่วยหนึ่งแห่งคณะกรมการอำเภอมีอำนาจรักษาการแทนนายอำเภอได้ และในระหว่างที่รักษาการแทนนั้นย่อมทำการสอบสวนความผิดอาญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708-3709/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการธุรกรรมในการยึด/อายัดทรัพย์สิน: รองเลขาฯ รักษาการเลขาฯ มีอำนาจชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าการประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมที่ไม่มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นคณะกรรมการธุรกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติไว้ เพื่อแก้ข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานราชการ คือ กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปเป็นผู้รักษาราชการแทน โดยผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทนตามมาตรา 48 การรักษาราชการแทนเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้ง และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนก็จะสิ้นสุดลง เมื่อพันตำรวจเอก ย. ซึ่งเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในขณะนั้นรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจึงเป็นคณะกรรมการธุรกรรมได้ การประชุมและมีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมให้ยึดและหรืออายัดทรัพย์สิน จึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติไว้ เพื่อแก้ข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานราชการ คือ กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปเป็นผู้รักษาราชการแทน โดยผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทนตามมาตรา 48 การรักษาราชการแทนเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้ง และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนก็จะสิ้นสุดลง เมื่อพันตำรวจเอก ย. ซึ่งเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในขณะนั้นรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจึงเป็นคณะกรรมการธุรกรรมได้ การประชุมและมีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมให้ยึดและหรืออายัดทรัพย์สิน จึงชอบด้วยกฎหมาย