คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รักษาความปลอดภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยหลังหมดอายุสัญญา การบอกเลิกชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 386
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี หลังจากครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงจ้างโจทก์ต่อมาโดยถือบังคับตามสัญญาเดิม โดยสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยนี้มีกำหนดระยะ 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 และสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 ในกรณีที่สัญญาครบกำหนดแล้วยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญายังมีผลใช้บังคับต่อไปได้อีก อนึ่งสัญญาฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกการจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลาโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนี้ การบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อนี้จึงมีผลใช้บังคับในระหว่างอายุสัญญาเท่านั้น กล่าวคือ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 แม้หลังจากครบกำหนดตามอายุสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์ต่อมาโดยให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีกก็ตาม แต่กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้และตามสัญญามิได้กำหนดเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญากันไว้ที่อื่น การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ มาตรา 386 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตามสัญญารักษาความปลอดภัยและการชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม
จำเลยทำสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท อ. โดยยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท อ. ในกรณีที่ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากการโจรกรรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญา เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายเป็นทรัพย์สินที่บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยต่อการกระทำของลูกจ้างระหว่างปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัยวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ.ทุกชนิด ไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ.เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ.การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ.ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ.คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและตัวการจากการดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้า
จำเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจำเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังทำหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่าที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจำเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจำเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการด้วย
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10306/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัย: ความประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สิน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จำเลยจะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินทั้งหมดภายในและภายนอกห้าง พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยมีหน้าที่ดูแลรถยนต์ทุกคันที่นำมาจอด รับมอบและเก็บรักษากุญแจรถไว้และพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดูแลทรัพย์สินของห้างในบริเวณโรงงานและรถยนต์ที่จอดอยู่นอกโรงงานด้วย และต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ทุก ๆ ชั่วโมงการที่ ว.นำรถไปจอดแล้วนำกุญแจรถมามอบให้แก่ ส.พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลย และ ส.รับมอบกุญแจรถไว้ โดยมิได้ทักท้วงซึ่งแสดงว่า ว.นำรถไปจอดในเขตความรับผิดชอบดูแลของพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยแล้วต่อมามีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไป แสดงว่า พนักงานรักษาความปลอดภัย ลูกจ้างของจำเลยปฎิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาความปลอดภัยสินค้าฝากเก็บและการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่รับฝากไว้อย่างเข้มงวดเป็นการใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์เช่นนั้นจึงไม่ต้องรับผิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาความปลอดภัยสินค้าฝากเก็บและการไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ฝากเก็บ
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่รับฝากไว้อย่างเข้มงวดเป็นการใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์เช่นนั้นจึงไม่ต้องรับผิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยจากการทำสัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัย และความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยต่อความเสียหาย
จำเลยทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยสถานที่ของบริษัทท. โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ในกรณีทรัพย์สินสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลย ส่วนโจทก์รับประกันภัยทรัพย์สินของบริษัท ท. จากการบุกรุกโจรกรรม ระหว่างเวลากรมธรรม์มีผลคุ้มครอง ได้มีคนร้ายงัดประตูสำนักงานเข้าไปลักเครื่องคิดเลขของบริษัท ท. ไปเพราะความประมาทของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปก่อนแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อจำเลยตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยทันทีโดยผลของกฎหมายและมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6616/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าและผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยต่อการโจรกรรมรถยนต์ในลานจอดรถ
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า จัดให้มีลานจอดรถสำหรับลูกค้าที่ขับรถเข้ามาซื้อสินค้าโดยจำเลยที่ 1 เคยกำหนดระเบียบให้ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่บริเวณทางเข้าห้างจำเลยที่ 1 และต้องคืนบัตรจอดรถให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ทางออกห้างจำเลยที่ 1 หากไม่คืนบัตรจอดรถลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องนำหลักฐานมาแสดงว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมายจึงจะนำรถออกจากลานจอดรถไปได้ ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมทำให้ผู้มาใช้บริการจอดรถที่ห้างจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าที่จอดรถดังกล่าวจำเลยที่ 1 จัดให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่จะนำรถยนต์เข้ามาจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าในห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติมาในครั้งก่อน ๆ ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ออกไปจากที่จอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัย: รถเข็นกระเป๋าไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องรับผิดชอบ
สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยระหว่างบริษัท ท. ผู้ว่าจ้าง กับ กลุ่ม ล. ผู้รับจ้างซึ่งมีจำเลยเป็นตัวแทน ข้อ 9.1 ระบุให้จำเลยรับผิดเฉพาะกรณีเป็นทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง หรือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบได้รับความเสียหาย แต่ตามสัญญารับจ้างให้บริการรถเข็นกระเป๋าระหว่างบริษัท ท. ผู้ว่าจ้าง กับ บริษัท อ. ผู้รับจ้างซึ่งทำประกันภัยไว้กับโจทก์ เห็นได้ชัดว่าเป็นสัญญาจ้างทำของ ดังนั้น รถเข็นกระเป๋าจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัท ท. หรือทรัพย์สินที่บริษัท ท. มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ กรณีย่อมไม่เข้าเงื่อนไขตามสัญญาที่จะให้จำเลยต้องรับผิด
of 2