พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความเสียหายต่อร่างกาย, ความสามารถในการหารายได้, และค่ารักษาพยาบาล
การที่เด็กชาย ก. ต้องเป็นคนพิการ ไม่สามารถเดินและขับถ่ายได้ตามปกติ ถือได้ว่าเด็กชาย ก. ต้องสูญเสียความสามารถประกอบการงานในภายหน้าและทำลายความก้าวหน้าไปตลอดชีวิต โดยความเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติก็คือ ความเสียหายที่ไม่สามารถประกอบการงานได้สิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต เมื่อผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้เด็กชาย ก. ต้องทุพพลภาพไปตลอดชีวิต โจทก์ทั้งสองจึงเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นนี้ยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายอันเป็นที่มาของความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัสที่บังเกิดขึ้นกับเด็กชาย ก. ในขณะที่มีอายุเพียง 6 ปี เท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ด้วย ค่าเสียหายดังกล่าวไม่ซ้ำซ้อนกันและไม่เป็นค่าเสียหายอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประกันสังคม: การรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเอกชนเมื่อโรงพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถให้การรักษาได้ และประเด็นดอกเบี้ย
โจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิแล้ว แต่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่สามารถให้บริการหรือเยียวยารักษาเพื่อให้โจทก์รอดชีวิตได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำเพื่อรักษาชีวิตโจทก์ โดยนำโจทก์ไปรับการรักษาพยาบาลทางสมองที่โรงพยาบาล พ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนเนื่องจากมีศัลยแพทย์ทางสมองประจำอยู่ ต้องถือว่าโจทก์มีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ และต้องไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลอื่นตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับคืนเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายไปเป็นค่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาล ร. ซึ่งโรงพยาบาล พ. ส่งโจทก์ไปตรวจกับเงินค่าผ่าตัดสมองที่โรงพยาบาล พ. โดยเงินทั้งสองจำนวนเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ 2)
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีคำขอดอกเบี้ยในเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์มาด้วย ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนดังกล่าวโดยไม่ให้เหตุผลว่าเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความอย่างไร จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีคำขอดอกเบี้ยในเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์มาด้วย ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนดังกล่าวโดยไม่ให้เหตุผลว่าเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความอย่างไร จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการรักษาพยาบาล และการกำหนดดอกเบี้ยมูลละเมิดที่เหมาะสม
การรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 9 ไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้าจำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทางอันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608,609 และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 9(7)การขนถ่ายผู้โดยสารของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิดจำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาลหรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากลักษณะบาดแผลกับวิธีการรักษาบาดแผลของโจทก์ที่ 1 ซึ่งต้องผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี ต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของบาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานานยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ที่ 1 ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวา ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ที่ 1ชอบจะเรียกร้องได้
โจทก์ที่ 2 ต้องออกจากงานมาดูแลโจทก์ที่ 1 โดยตลอด ซึ่งก็ต้องขวนขวายหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโจทก์ที่ 1 รวมทั้งการดำรงชีพของโจทก์ที่ 1 ตลอดมาในระหว่างดำเนินคดีจนถึงที่สุดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ในคดีละเมิด โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันละเมิดเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206 แต่โจทก์ที่ 1 ก็มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 9 เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(6) นั้นชอบแล้ว
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิดจำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาลหรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากลักษณะบาดแผลกับวิธีการรักษาบาดแผลของโจทก์ที่ 1 ซึ่งต้องผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี ต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของบาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานานยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ที่ 1 ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวา ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ที่ 1ชอบจะเรียกร้องได้
โจทก์ที่ 2 ต้องออกจากงานมาดูแลโจทก์ที่ 1 โดยตลอด ซึ่งก็ต้องขวนขวายหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโจทก์ที่ 1 รวมทั้งการดำรงชีพของโจทก์ที่ 1 ตลอดมาในระหว่างดำเนินคดีจนถึงที่สุดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ในคดีละเมิด โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันละเมิดเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206 แต่โจทก์ที่ 1 ก็มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 9 เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(6) นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมและการสละสิทธิเพื่อรับการรักษาพยาบาลที่ดีกว่า
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนประสบอันตรายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานโดยถูกบุคคลอื่นทำละเมิดขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนได้รับบาดเจ็บโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533และยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดอีกด้วย การที่โจทก์และมารดาโจทก์ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงไว้แต่จะเลือกใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงตามหนังสือดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดและนำไปชำระเป็นค่ารักษาพยาบาลแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคมซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดเจ็บสาหัส: การรักษาด้วยยา vs. ผ่าตัด และเขตเคหสถาน
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูกและรักษาโดยกินยามาตั้งแต่วันเกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง 10 เดือนเศษ การที่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัด คงเอายามากินที่บ้านจนปัจจุบัน แสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบ ไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพัก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา1 (4)
สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบ ไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพัก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา1 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: ค่ารักษาพยาบาล, การดูแล, และความเสียหายทางจิตใจ
ค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายฐานละเมิด แม้บิดาโจทก์จะเบิกจากทางราชการและทางราชการได้จ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้แทนโจทก์ไปแล้วก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดาโจทก์ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยที่ 2 ผู้ต้องรับผิดฐานละเมิดได้ และกรณีเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในกรณีถูกทำละเมิดจนได้รับอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ชีวิต
เมื่อโจทก์ออกจากโรงพยาบาลแล้ว โจทก์ยังต้องได้รับการรักษาโดยทางกายภาพบำบัด ต้องมีผู้มาทำกายภาพบำบัดให้ที่บ้านของโจทก์อีกเป็นเวลา 3 เดือน เชื่อว่าโจทก์ต้องเสียค่าจ้างคนมาทำกายภาพบำบัดให้ แม้โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ค่าจ้างบุคคลอื่นดูแลโจทก์ในระหว่างการรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงและไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายค่าจ้างไปเท่าใดก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บขาหักหลายแห่งต้องผ่าตัดหลายครั้งและต้องทำการกายภาพบำบัด ทั้งขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนานถึง 129 วัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เพราะโจทก์ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นนักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ต้องพักรักษาตัวหลายเดือน ต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้น โจทก์ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจมาก โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในส่วนนี้ได้ และไม่ใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446
เมื่อโจทก์ออกจากโรงพยาบาลแล้ว โจทก์ยังต้องได้รับการรักษาโดยทางกายภาพบำบัด ต้องมีผู้มาทำกายภาพบำบัดให้ที่บ้านของโจทก์อีกเป็นเวลา 3 เดือน เชื่อว่าโจทก์ต้องเสียค่าจ้างคนมาทำกายภาพบำบัดให้ แม้โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ค่าจ้างบุคคลอื่นดูแลโจทก์ในระหว่างการรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงและไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายค่าจ้างไปเท่าใดก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บขาหักหลายแห่งต้องผ่าตัดหลายครั้งและต้องทำการกายภาพบำบัด ทั้งขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนานถึง 129 วัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เพราะโจทก์ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นนักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ต้องพักรักษาตัวหลายเดือน ต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้น โจทก์ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจมาก โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในส่วนนี้ได้ และไม่ใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายจำเป็นในการรักษาพยาบาล และค่าขาดประโยชน์จากการดูแลผู้ป่วย
บิดามารดาโจทก์เดินทางไปเฝ้าดูแลโจทก์ขณะที่โจทก์พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เนื่องจากโจทก์ช่วยตัวเองไม่ได้ แพทย์ไม่ให้เคลื่อนไหวเพราะหากหกล้มจะเป็นอัมพาต จำเป็นต้องมีผู้ดูแล ค่าเดินทางและค่าที่พักที่บิดามารดาโจทก์ใช้จ่ายไป จึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการรักษาพยาบาลโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
ค่าขาดประโยชน์ที่บิดามารดาโจทก์ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาโจทก์นั้นมิใช่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงเรียกร้องได้จากผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ตามป.พ.พ. มาตรา 444, 445 และ 446
โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอ จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ค่าขาดประโยชน์ที่บิดามารดาโจทก์ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาโจทก์นั้นมิใช่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงเรียกร้องได้จากผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ตามป.พ.พ. มาตรา 444, 445 และ 446
โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอ จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลจากเหตุละเมิด และขอบเขตค่าเสียหายที่เรียกร้องได้
บิดามารดาโจทก์เดินทางไปเฝ้าดูแลโจทก์ขณะที่โจทก์พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเนื่องจากโจทก์ช่วยตัวเองไม่ได้แพทย์ไม่ให้เคลื่อนไหวเพราะหากหกล้มจะเป็นอัมพาตจำเป็นต้องมีผู้ดูแลค่าเดินทางและค่าที่พักที่บิดามารดาโจทก์ใช้จ่ายไปจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการรักษาพยาบาลโจทก์โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ ค่าขาดประโยชน์ที่บิดามารดาโจทก์ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาโจทก์มิใช่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงเรียกได้จากผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444,445และ446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีเพื่อรักษาพยาบาล และการพิสูจน์ภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นให้งดการพิจารณาคดี ส่งตัวจำเลยไปรักษาที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เมื่อจำเลยสามารถต่อสู้คดีแล้วให้โจทก์ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเนื่องจากแพทย์แถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้วคำสั่งดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 35 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนั่งพิจารณาคดีในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยก่อนหรือระหว่างเกิดเหตุ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนการที่แพทย์ตรวจอาการของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีแล้วมีความเห็นว่าจำเลยมีอาการทางจิตนั้น ยังไม่อาจรับฟังว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้สึกผิดชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรักษาพยาบาลโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นแพทย์ และประมาททำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นแพทย์ และไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ได้ฉีดและให้ผู้ตายกินยาปฏิชีวนะประเภทเพนิซิลลิน โดยผู้ตายมีอาการหมดสติแทบจะทันใด หลังจากจำเลยให้กินยาและฉีดยา และถึงแก่ความตายหลังจากนั้น ประมาณ 3 ชั่วโมง โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายรับการฉีดยาจากสถานพยาบาลอื่นมาก่อนมีอาการเช่นนั้น ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองให้กินยาและฉีดยาเพนิซิลลินจำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291