คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รักษาราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรองอัยการสูงสุดรักษาราชการแทนอัยการสูงสุดในการอนุญาตฟ้องคดีหลังพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534มาตรา33บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวงและมีฐานะเป็นกรมเมื่ออัยการสูงสุดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้รองอัยการสูงสุดจึงเป็นผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสามโดยรองอัยการสูงสุดผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุดย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา48วรรคหนึ่งและวรรคสามฉะนั้นเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา9บัญญัติห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา7เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดรองอัยการสูงสุดผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการ มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมาย
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการลงชื่อรับรองอุทธรณ์ว่า มี เหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย มีผลเท่ากับอธิบดีกรมอัยการ รับรองเอง และการรับรองหาจำต้องรับรองไว้ในตัวคำฟ้องอุทธรณ์ เสมอไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติการประเมินภาษีของรองอธิบดีกรมสรรพากรที่รักษาราชการแทนอธิบดี ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรจะเป็นกฎหมายพิเศษอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตามมาตรา 49 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นโดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก็ตาม แต่ก็ไม่จำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าผู้มีอำนาจอนุมัติจะต้องเป็นตัวอธิบดีกรมสรรพากรเองเท่านั้น เพราะตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน และตามข้อ 44 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนดังกล่าวมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน ดังนั้น รองอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ย่อมมีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองโดยนายอำเภอที่รักษาราชการแทน และการแจ้งความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
ผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองต้องเป็นกรมการอำเภออันหมายถึงนายอำเภอเท่านั้น และสามารถทำนอกที่ว่าการอำเภอได้ เมื่อมีการร้องขอ ดังนั้น การที่ผู้ร้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่อำเภอเมืองขอนแก่นขอให้ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้แก่ผู้ตายที่โรงพยาบาล และแม้ ป. ซึ่งเป็นเพียงปลัดอำเภอเมืองขอนแก่นเป็นผู้จัดทำพินัยกรรม แต่ขณะทำพินัยกรรม ป. รักษาราชการแทนนายอำเภอ การที่ ป. ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้แก่ผู้ตายที่โรงพยาบาลจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และแม้ผู้ร้องจะเป็นผู้แจ้งความประสงค์ให้ ป. ทราบว่าผู้ตายมีเจตนาทำพินัยกรรมอย่างไร จนเป็นเหตุให้ ป. สามารถให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความต่างๆ ในพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่นจนเสร็จเรียบร้อยก่อนเดินทางไปโรงพยาบาลก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องหอบหิ้วเครื่องพิมพ์ดีด และกระดาษไปพิมพ์ที่โรงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่ใช่เป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม และเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ป. สอบถามผู้ตายว่าประสงค์จะทำพินัยกรรมตามที่ผู้ร้องบอกกล่าวในเบื้องต้นหรือไม่ ผู้ตายก็ยืนยันต่อหน้าพยานสองคนว่าเป็นความประสงค์ของผู้ตายจริง การสอบถามของ ป. และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นความหมายเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) หลังจากนั้น ป. อ่านข้อความให้ผู้ตายและพยานฟัง ผู้ตายเห็นว่าถูกต้องก็ลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ ป. ลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658