คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รังวัดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าในคดีแพ่ง: คำเบิกความเจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือเป็นผลสำเร็จตามคำท้า หากไม่สามารถระบุผลการรังวัดที่ชัดเจน
คู่ความตกลงท้ากันโดยถือเอาผลของการรังวัดที่ดินแปลงพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งทางราชการได้ออกให้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นข้อแพ้ชนะในคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินออกไปรังวัดทำแผนที่ที่ดินพิพาท แล้วมาเบิกความว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่สามารถรังวัดหรือตรวจสอบได้ว่าอยู่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งทางราชการได้ออกให้แก่จำเลยหรือไม่ และไม่ทราบว่าที่ดินแปลงพิพาทมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วหรือไม่ โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่สามารถรังวัดหรือตรวจสอบได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบแนวเขตที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลย เช่นนี้กรณีจึงไม่อาจถือว่าคำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดินทำให้เกิดผลสำเร็จตามคำท้าที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาตามคำท้าได้
เมื่อคำท้าไม่บรรลุผลสำเร็จตามคำท้า กรณีย่อมถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีคำท้าอยู่เลย ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป แม้เจ้าพนักงานที่ดินเบิกความเสร็จ และทนายโจทก์แถลงหมดพยานโดยจำเลยมิได้แถลงอะไร ซึ่งมีผลเท่ากับว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานต่อไป ศาลก็จำต้องวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาที่คู่ความได้ดำเนินการไปดังกล่าวอาจเกิดจากการสำคัญผิดในผลแห่งคำท้าโดยเข้าใจว่าคำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดินทำให้เกิดผลสำเร็จตามคำท้าก็ได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟัง เพื่อให้คู่ความได้ทราบและเข้าใจถึงผลแห่งคำท้าเสียก่อนว่าคำท้ายังไม่บรรลุผลสำเร็จ แล้วให้คู่ความแถลงถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรังวัดที่ดิน: การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยื่นคำคัดค้านซึ่งไม่ถูกต้อง ขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้าน จำเลยให้การว่าโจทก์นำชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าที่ดินที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง แม้คำคัดค้านของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 69 ทวิ ก็ตาม แต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้ และคำขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้านมีความหมายรวมถึงการที่ขอให้จำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท หากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรังวัดที่ดินใหม่, เนื้อที่ต่างกัน, สิทธิเลิกสัญญา, ฝ่ายผิดสัญญา
แม้สัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.8 จะระบุเนื้อที่ดินที่จะซื้อจะขายกันจำนวน 31 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา แต่ได้มีการบันทึกเพิ่มเติมในหมายเหตุว่า ผู้จะขายจะต้องทำการรังวัดสอบเขตใหม่ ได้เนื้อที่จริงเท่าใดให้คิดกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ใหม่ ถ้าได้เนื้อที่มากหรือน้อยกว่าในโฉนดให้คิดในราคาไร่ละ 350,000 บาท ซึ่งเป็นการจะซื้อจะขายที่ดินคิดราคาตามเนื้อที่ที่รังวัดได้จริง มิใช่การจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 แม้รังวัดที่ดินพิพาทจะมีเนื้อที่น้อยกว่าเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ดินในโฉนด ก็ไม่อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 466

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: เหตุอันสมควรจากการรังวัดที่ดินที่ยังไม่แน่นอน
แม้โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งจากจำเลยที่ 1 ก่อนวันชี้สองสถานว่า ที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แต่โจทก์ยังโต้แย้งคัดค้านการรังวัดที่ดินดังกล่าวของเจ้าพนักงานว่าไม่ถูกต้อง ขอให้จำเลยที่ 1 ตรวจสอบรังวัดกันใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ไปรังวัดกันใหม่ในวันที่ 25 ตุลาคม 2543 ภายหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว ผลปรากฏว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามจำนวนเนื้อที่ที่จำเลยที่ 1 เคยแจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งทราบและยอมรับว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2543 ภายหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองก่อน มิใช่แค่การรังวัดเพื่อออกโฉนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์แต่โจทก์ได้แย่งการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่เกิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ทั้งในการพิพากษาคดีศาลจะต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ซึ่งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่กลับขอให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองการทำประโยชน์เป็นชื่อของโจทก์ จึงไม่มีกรณีจะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์, คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ, การดำเนินการรังวัดที่ดินเพื่อคำนวณค่าขึ้นศาล
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8ผู้มรณะ เป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 โดยศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และเนื่องจากคดีได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 และทนายโจทก์ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่จริงและตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลและให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นเมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเสียค่าขึ้นศาลไว้ 200 บาท ต่อมาในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดเพื่อหาเนื้อที่ดินพิพาทเพื่อใช้ในการคำนวณค่าขึ้นศาลเพิ่ม ปรากฏว่าก่อนที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จะทำการรังวัดที่ดินพิพาทดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(1)ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดินรุกล้ำเขตที่ดินเดิม การพิพากษาตามแผนที่พิพาทที่ทั้งสองฝ่ายรับรอง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ที่จำเลยรุกล้ำนั้นคิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่เศษแต่โจทก์ขอคิดเพียง 1 ไร่ เพื่อจะนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ แต่เมื่อทำแผนที่พิพาทแล้วปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกจำเลยรุกล้ำมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา ก็ตาม จำนวนเนื้อที่ดินพิพาทตามฟ้องก็เป็นเพียงแต่การกะประมาณไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานไปรังวัดทำแผนที่พิพาท ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยนำชี้ว่าที่พิพาทอยู่ในเส้นสีม่วงและรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้อง จึงต้องถือว่าที่ดินที่พิพาทกันคือที่ดินที่อยู่ภายในเส้นสีม่วง การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของโจทก์เนื้อที่1 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวาจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรังวัดที่ดินระหว่างพิจารณาคดี, แผนที่วิวาท, การรับฟังพยานเพิ่มเติม, และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดที่ดินและทำแผนที่วิวาทตามคำขอของโจทก์ แม้จะมีคำสั่งภายหลังโจทก์และจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทำแผนที่วิวาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอหรือจะสั่งตามที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เมื่อศาลอนุญาตแล้วแม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87(2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าทางกฎหมาย: ผลการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นไปตามคำท้า จำเลยต้องแพ้คดี
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าการรังวัดทำแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมที่ดิน จึงไม่เป็นไปตามคำท้านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งและโดยชอบแล้วว่าศาลชั้นต้นบันทึกสรุปใจความการสอบถามถ้อยคำของ ธ. ช่างรังวัดอ่านให้ทุกฝ่ายฟัง และ ธ. ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว กรณีจึงเชื่อได้ว่าศาลชั้นต้นจดบันทึกครบตามคำแถลงของ ธ. แล้ว และจากแผนที่พิพาทที่ ธ. ทำมาปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยนำชี้ว่าเป็นของจำเลยนั้นรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณะ จึงเป็นไปตามคำท้า จำเลยจึงต้องแพ้คดีดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงเป็นปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่งตามความเป็นจริงเมื่อมีการรังวัดที่ดินใหม่ และผลกระทบต่อการอุทธรณ์
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
of 9