คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับกลับเข้าทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลพิพากษาให้รับกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างออกจากงาน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ ฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7842/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษาคดีแรงงาน: จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนชำระเงิน หากทำไม่ได้จึงชำระเงินได้
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม ถ้าไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย เงินบำเหน็จ เงินสะสม และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์นั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ โดยให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนเป็นอันดับแรกหากไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้จึงใช้วิธีชำระเงินเป็นวิธีสุดท้าย ซึ่งเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาว่าจำเลยสามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้หรือไม่ มิใช่ความชอบธรรมและเป็นอำนาจบริหารจัดการของจำเลยโดยเด็ดขาดที่จะรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงในประเด็นนี้จึงเห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31, 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างมิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นโดยตรง และศาลมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีกและศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจศาลเช่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม และแม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ไม่ขอรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทน การรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ไม่ขอรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนการรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าจ้างซ้ำหลังคดีรับกลับเข้าทำงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นประเด็นเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยมิได้เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างซึ่งโจทก์สามารถเรียกร้องมาในคราวเดียวกันได้การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยมูลฐานเดียวกันกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงานได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ชอบแล้วดังนี้ ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม เป็นการปฏิเสธที่จะรับโจทก์กลับเข้าทำงานหาใช่เป็นการยอมรับไม่ ศาลจะสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาตามมาตรา 49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ที่ให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลโดยต้องคำนึงถึงสภาพจากสถานประกอบการนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างถ้าเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงาน ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในการพิจารณาว่าโจทก์จำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันได้มาวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้กับโจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงหาใช่เป็นเรื่องวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาทํางานและค่าเสียหาย: แม้มีคำสั่งรับกลับเข้าทำงาน แต่สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสิ้นสุดเมื่อเลิกจ้าง
นิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงไม่ว่าจะกรณีใด สิทธิและหน้าที่อันเกิดจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวย่อมระงับสิ้นไปด้วย จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง น้ำมัน ค่าเที่ยว หรือค่าโทรศัพท์ตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่โจทก์อีกต่อไป เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งที่ 378/2561 ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานพร้อมทั้งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เพราะเห็นว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการใช้อำนาจตามที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการถือเสมือนว่าจำเลยไม่เคยเลิกจ้างโจทก์ อำนาจการรับโจทก์กลับเข้าทำงานจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมเพื่อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานเดิมย่อมเป็นของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เพราะหากจำเลยไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ต่อเนื่องไปตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยเลิกจ้างซึ่งเป็นวันที่สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้วได้อีก