พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทน กรณีไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้ขนส่งตามกฎหมายรับขนของทางทะเล
บทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่ว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ นั้นเป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งของว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่ต่างประเทศ โดยโจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าของโจทก์ไม่ยอมรับสินค้า เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หาได้ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเล และให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเลตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จึงจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการเพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 และบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่เมื่อ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมขยายเวลาไม่ถือเป็นการสละอายุความ และการคำนวณความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.รับขน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าทุเรียน โดยทั้งสองฝ่ายคาดว่าสินค้าจะถึงดินแดนไต้หวันไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2543 แต่เรือที่ใช้ขนส่งสินค้าเกิดขัดข้องกลางทางไม่สามารถเดินทางต่อได้ จึงขนส่งสินค้าพิพาทกลับและมีการสำรวจความเสียหายเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 เจรจาเรื่องค่าเสียหายกันเรื่อยมาโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน หนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเอกสารหมาย จ. 7 มีเนื้อความว่า " ยินยอมให้ขยายเวลาออกไป 3 เดือน จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2544" จากพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าหนังสือของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ. 7 ทำขึ้นก่อนระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าพิพาทสิ้นสุดลง โดยทำขึ้นเพื่อให้มีผลบังคับผูกพันกันได้จริง ดังนั้น การตีความการแสดงเจตนานั้นตาม ป.พ.พ มาตรา 171 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร จึงแปลเจตนาอันแท้จริงได้ว่าประสงค์จะให้มีผลเป็นหนังสือยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2544 และความยินยอมนี้ใช้บังคับกันได้ตาม พ.ร.บ. รับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 47 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8831/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การเป็นตัวแทนรับขน และขอบเขตการฎีกา
โจทก์สั่งซื้อเครื่องตกแต่งหินแกรนิต จำนวน 2 ชุด จากบริษัท ซ. ประเทศอิตาลี โจทก์ว่าจ้างจำเลยติดต่อขนส่งสินค้าดังกล่าวมาประเทศไทยจำเลยติดต่อบริษัทอินเตอร์คอสเพ็ด จำกัด ประเทศอิตาลี บริษัทอินเตอร์คอสเพ็ด จำกัด ประเทศอิตาลี จ้างจำเลยร่วม ขนส่งสินค้า ที่โจทก์สั่งซื้อจากประเทศอิตาลีมาประเทศไทย ปรากฏว่าสินค้า ของโจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจ เป็นตัวแทนหรือนายหน้าในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำเลย มิได้ประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเอง จำเลยได้ยื่น จดทะเบียนเสียภาษีเป็นตัวแทนนายหน้ากับกรมสรรพากร บริษัทตัวแทนจะมีหน้าที่ในการติดต่อผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อนำสินค้าส่งต่อให้แก่ ผู้ขนส่ง ในการรับสินค้าทางบริษัทตัวแทนจะออกใบเฮ้าส์บิลออฟเลดดิ้งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าตามจำนวนและส่งให้แก่ผู้ขนส่งและผู้ขนส่ง จะออกหลักฐานเป็นบิลออฟเลดดิ้ง หรือใบตราส่ง จำเลยจึงเป็น ตัวแทนผู้ส่ง ไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ร่วมขนส่ง
เรือ พ. ของจำเลยร่วมที่ 2 เดินทางมาถึงท่าเรือบริษัท ด. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ได้รับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2535 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534ใช้บังคับจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624มาใช้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสอง จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสอง เข้ามาเป็นคู่ความในคดีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2536 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624
ที่โจทก์ฎีกาว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในมูลละเมิด เมื่อจำเลยร่วมทั้งสองถูกเรียกเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อวันที่ 25มีนาคม 2536 ต้องถือว่าโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 25 มีนาคม 2536 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่าจำเลยต้องรับผิดในมูลหนี้ผิดสัญญารับขนของ หาได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เรือ พ. ของจำเลยร่วมที่ 2 เดินทางมาถึงท่าเรือบริษัท ด. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ได้รับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2535 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534ใช้บังคับจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624มาใช้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสอง จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสอง เข้ามาเป็นคู่ความในคดีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2536 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624
ที่โจทก์ฎีกาว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในมูลละเมิด เมื่อจำเลยร่วมทั้งสองถูกเรียกเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อวันที่ 25มีนาคม 2536 ต้องถือว่าโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 25 มีนาคม 2536 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่าจำเลยต้องรับผิดในมูลหนี้ผิดสัญญารับขนของ หาได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขน: ผู้รับใบตราส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งได้ แม้ของไม่ถึงปลายทาง
ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหายเนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิดตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน่วยการขนส่งทางทะเล: การคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.รับขนฯ โดยเทียบหน่วยการขนส่งและน้ำหนัก
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3บัญญัติคำนิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้าไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และคำว่า"หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าพิพาทบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกและมีเชือกรัดปากถุงไว้ และบรรจุอยู่ในถังกระดาษไฟเบอร์มีฝาเหล็กปิดโดยรอบแล้วใช้นอตขันห่วงให้ยึดไว้ แต่ละถังบรรจุของหนัก 25 กิโลกรัม รวม 375 ถัง บรรจุรวมอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียว และตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.2 หรือล.2 ในช่อง "คำพรรณนาสินค้า" ระบุว่า ตู้คอนเทนเนอร์ 1x20 ฟุตบรรจุอาหารสัตว์ 375 ถัง ฯลฯ จึงเป็นการแสดงว่าแต่ละถังที่บรรจุสินค้าคือยารักษาไก่ มีสภาพสามารถทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่า แต่ละถังที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็น"หนึ่งหน่วยขนส่ง" ตามคำนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทดังกล่าวถือเป็นภาชนะขนส่ง การคำนวณค่าเสียหาย ที่จำเลยจะต้องรับผิดจึงต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 58 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 59(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินค่าเสียหายโดยใช้หน่วยการขนส่งของสินค้าพิพาทเป็นหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณจะมากกว่าจำนวนเงินค่าเสียหายโดยใช้น้ำหนักแห่งสินค้าพิพาทเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนเงินที่มากกว่าตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 59(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทน vs ผู้รับมอบหมาย
"ผู้ขนส่งอื่น" ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การปรับใช้กฎหมายเก่าแก่กรณีรับขนของทางทะเล, และการตีความตัวแทน
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง พยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือ ตรงตามความหมายของคำว่า "ตัวแทน" ตามมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามมาตรา 248วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พ.ร.บ.การรับขน-ของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พ.ร.บ.การรับขน-ของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาเกิดเหตุในคดีรับขนของทางทะเล
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง พยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือ ตรงตามความหมายของคำว่า "ตัวแทน" ตามมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามมาตรา248 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสน และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะเกิดเหตุรับขน
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่งพยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือตรงตามความหมายของคำว่า"ตัวแทน"ตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามมาตรา248วรรคหนึ่งดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี2533พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเลกรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดีแต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609วรรคสองทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8รับขนมาตรา618อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับตราส่งตกลงชำระค่าระวางแบบ ซีวาย/ซีวาย มีสิทธิรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเมื่อไม่รับสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก. ในประเทศ สหรัฐอเมริกาแล้วว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลแบบ ซีวาย/ซีวาย โดยบริษัท ก.เป็นฝ่ายนำตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามามอบให้โจทก์บรรทุกลงเรือเมื่อมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯซึ่งเป็นท่าปลายทางจำเลยมีหน้าที่ไปขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ภายใน7วันแล้วส่งตู้คอนเทนเนอร์คืนโจทก์จำเลยจะชำระราคาสินค้าให้บริษัท ก.โดยผ่านทางธนาคารแล้วจำเลยจะรับใบตราส่งจากธนาคารไปแลกใบสั่งปล่อยสินค้าจากโจทก์เพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อมาโจทก์ขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงท่าเรือปลายทางและพร้อมที่จะส่งมอบสินค้าโดยยกตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าระวางและค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ไปรับสินค้าตามข้อตกลงการที่จำเลยจะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าหรือไม่หามีผลต่อความรับผิดที่จำเลยมีตามข้อตกลงไม่ปัญหาว่าเมื่อผู้รับตราส่งยังไม่ได้เรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าโดยวิธีนำใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าจะทำให้ผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับโอนสิทธิหน้าที่อันเกิดจากสัญญารับขนหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย