พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและดุลพินิจการรับคำฟ้อง: ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีอำนาจจัดตั้งที่ทำการ ณ นางรอง และใช้ดุลพินิจรับฟ้องได้
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัด บุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาล เพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและ ประหยัดแก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ ฟ้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์ นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) นั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการนั่งพิจารณาคดีนอกสถานที่และการรับคำฟ้องตามคำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35ที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ระบุเป็นที่มาแห่งอำนาจในการออกคำสั่งให้ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ไปนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) บัญญัติเป็นหลักการไว้ว่าการนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้นในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี ดังนั้น คำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ตามบทบัญญัติในมาตรา 35 จึงต้องแปลความหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย กล่าวคือย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้องคำร้อง คำขอต่าง ๆ มิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไป และแม้ในขณะที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนางรองขึ้นแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดทำการ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ก็ยังคงมีอำนาจเหนือพื้นที่ดังกล่าวและมีอำนาจกำหนดการนั่งพิจารณาโดยอาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35 ได้เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งกรณีไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์(นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: หลักเกณฑ์การรับคำฟ้องและพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่1ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2(2)(1)โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่1ในบัญชีระบุพยานโดยไม่มีชื่อโจทก์ที่2ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตามแต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่1เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาค่าขึ้นศาลและการสั่งรับหรือไม่รับคำฟ้อง
คำร้องขอขยายเวลาชำระค่าขึ้นศาล เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องอนุญาตให้ขยายเวลาการวางเงินหรือไม่เท่านั้น หาได้เป็นการสั่งเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลต้องชำระก่อนรับคำฟ้อง การรับฟ้องโดยไม่ชำระค่าธรรมเนียมเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องของโจทก์ โดยที่โจทก์ยังมิได้เสีย ค่าขึ้นศาลในเวลาที่ยื่นคำฟ้องเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคแรกและตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนกระทั่งสั่งจำหน่ายคดี เพราะถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและไม่มีผลผูกพัน คู่ความ โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดี หาใช่ อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ จึงไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาล ในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลและผลกระทบต่อการรับคำฟ้อง: การสั่งรับฟ้องก่อนเสียค่าขึ้นศาลเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ในคดีที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในเวลายื่นคำฟ้องนั้น หากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์และกำหนดระยะเวลาให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้อีกฝ่ายไม่ได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้เสียค่าขึ้นศาล และศาลยังมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฟ้องโจทก์ตลอดจนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงคำสั่งจำหน่ายคดีย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำฟ้องหลังชำระค่าขึ้นศาล และการสืบพยานเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้ง
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่ง พิพากษาตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ฟ้องโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลภายใน 7 วัน ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะไม่เสียเงินค่าขึ้นศาลและขอนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันยื่นคำร้องขอเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอต่อมาโจทก์วางเงินค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ มีความหมายว่าศาลชั้นต้นยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแก้คดีก็หาได้โต้แย้งการรับฟ้องของศาลแต่อย่างใดการที่โจทก์แก้ไขข้อขัดข้องด้วยการนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางครบถ้วนแล้วจึงไม่มีเหตุขัดข้องอะไรที่ศาลจะไม่รับคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์: การฟ้องในฐานะตนเองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลต่อการรับคำฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี จำเลยฎีกา และในฎีกานั้นจำเลยได้อ้างอิงหลักฐานและเหตุผลเพื่อแสดงว่าโจทก์ฟ้องในนามของตนเอง มิใช่ฟ้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่เริ่มนับหากจำเลยยังไม่ได้รับฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อปรากฏตามสำนวนว่าจำเลยยังมิได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตราบใด ฎีกาที่โจทก์ยื่นไว้นั้นก็ยังไม่เริ่มนับเป็นฎีกาตาม ป.วิ.อาญา ม.216 จึงจำต้องจำหน่ายคดีจากสารบบความ.