คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับชำระเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายลำรางสาธารณะ: ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะการรับชำระเงิน ทำให้ข้อโต้แย้งเรื่องความรู้ก่อนการซื้อขายไม่เป็นประเด็น
แม้จำเลยจะให้การว่าก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินนั้นเป็นลำรางสาธารณะ จำเลยไม่เคยหลอกลวงโจทก์แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่าจำเลยได้ขายลำรางสาธารณะให้แก่ฝ่ายโจทก์กับ ก. และรับเงินมาแล้ว 30,000 บาทจริงหรือไม่เท่านั้น จำเลยไม่โต้แย้ง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายโจทก์รู้มาก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์แล้วว่าเป็นลำรางสาธารณะไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16139/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกเงินคืนจากบันทึกข้อตกลงการรับชำระเงิน และความรับผิดตามข้อตกลงเมื่อบัตรเครดิตปฏิเสธ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากบันทึกข้อตกลงการรับบริการชำระเงินเพื่อการสั่งสินค้าและ/หรือขอใช้บริการของร้านค้าผ่านสื่อต่าง ๆ ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปอันมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ทั้งไม่ใช่การฟ้องให้ชำระหนี้เงินตามสัญญาที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต การฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 12 มีข้อความจำกัดความรับผิดของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ได้รับคำสั่งซื้อตาม ข้อ 5 และจ่ายเงินให้แก่ร้านค้า (จำเลย) หรือนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวใน ข้อ 9 แล้ว ปรากฏในภายหลังว่า มีกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้ไม่ว่าประการใด ๆ ก็ตาม จำเลยจะคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บได้นั้นให้กับโจทก์พร้อมยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่โจทก์ได้จ่ายเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวในข้อ 9 จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากโจทก์นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย จำนวน 303,885.18 บาท ตามใบสั่งซื้อและ/หรือขอใช้บริการผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือสิ่งอื่น จำนวน 4 รายการ ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตผ่านระบบวีซ่าปฏิเสธการใช้รายการและปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดนับแต่โจทก์ได้จ่ายเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจำเลยจนกว่าจำเลยจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่า จำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงการรับบัตรชำระเงินเพื่อการสั่งซื้อสินค้าและ/หรือขอให้บริการของร้านค้าผ่านสื่อต่าง ๆ หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการตัวแทน ความรับผิดในสัญญาประกันภัย การรับชำระเงินล่วงหน้า และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์