พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้และการรับผิดชอบหนี้ร่วม การบังคับคดีและการใช้สิทธิของโจทก์
การขอหักกลบลบหนี้เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่แสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 จำเลยอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในหนี้เต็มจำนวน ส่วนเงินประกันของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยึดครองอยู่เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดชอบร่วมกันในสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ใช้ชื่อห้างเป็นคู่สัญญา หากมีข้อตกลงพิเศษและลงหุ้นร่วมกัน
ภายหลังจากที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แล้วผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสามคือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ซ.ได้ทำข้อตกลงพิเศษกันไว้เป็นส่วนตัวให้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมคือรับจัดให้ได้มาซึ่งที่อยู่อาศัยพร้อมที่ดิน ซึ่งหมายถึงการซื้อที่ดินมาปลูกสร้างอาคารขายอันมิใช่วัตถุประสงค์ของห้าง และเมื่อมีกำไร ยอมยกให้จำเลยที่ 3 ครึ่งหนึ่ง ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีสิทธิคนละครึ่งข้อตกลงดังกล่าวแม้จะอ้างว่าเป็นกิจการของห้างจำเลยที่ 1 แต่แท้จริงมุ่งหมายผูกพันกันระหว่างจำเลยที่2 ที่ 3 โดยตรงเพียงแต่ใช้ชื่อห้างจำเลยที่ 1 ออกหน้าเท่านั้นทั้งทางปฏิบัติระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3เกี่ยวกับการใช้จ่ายดำเนินกิจการซื้อที่ดินมาปลูกอาคารขายก็มีลักษณะของการลงเงินเป็นหุ้นแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะส่วนตัวเป็นหุ้นส่วนกันในกิจการซื้อที่ดินมาปลูกสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมที่ดิน อาคารพิพาทและที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งผิดสัญญาซื้อขายอาคารพิพาทและที่ดินที่ทำไว้กับโจทก์โดยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จ และไม่โอนอาคารพิพาทและที่ดินให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเกินสิทธิ, การรับผิดชอบร่วมของลูกหนี้, และดอกเบี้ยจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ซึ่งในหนังสือยังแจ้งด้วยว่า แม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้นก็ขอชำระเงินให้แก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย หลังจากนั้น จำเลยที่ 5 ยังได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่องไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว