คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิดชอบหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรับผิดชอบหนี้ซื้อขาย แม้รับเงินจากผู้ซื้อโดยตรง การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยส่ง ณ สถานที่ที่จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและการรับผิดชอบหนี้ของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งให้เลิกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้นก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวน ตามมาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้และผลของการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันหลังเกิดหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ก่อนบอกเลิก
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำสัญญาช่วงเหมือง: ตัวการต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดจากตัวแทน
แม้จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่ 1ไว้ล่วงหน้านาน 1 ปีเศษ ตราบใดที่ยังไม่ปรากฏว่ามีการเพิกถอนหนังสือมอบอำนาจนั้นก็ยังคงใช้ได้อยู่ จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญารับช่วงการทำเหมืองกับโจทก์ และจำเลยที่ 1เป็นผู้ผลิตและขนย้ายแร่ที่ผลิตจากเหมืองของโจทก์ไปตามจำนวนน้ำหนักที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญารับช่วงการทำเหมืองพร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับช่วงการทำเหมืองกับโจทก์ ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อสินค้าไม่ตรงตามระเบียบ ราชการต้องรับผิดชอบหนี้, การรับสภาพหนี้ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้นแก่โจทก์ แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิมจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา: การเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการรับผิดชอบหนี้ร่วม
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรส ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่า จำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คงมีจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้ อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 2 มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9349/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งซื้อสินค้าและการรับผิดชอบหนี้ของเจ้าของร้านกับผู้ดำเนินกิจการจริง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงทรัพย์ที่ซื้อขายกันว่าเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงพร้อมทั้งระบุราคามาด้วย นับว่าได้แสดงให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ได้พอสมควรแล้วและโจทก์ยังบรรยายถึงรายละเอียดขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงมาในคำฟ้อง รวมทั้งแนบสำเนาใบส่งของชั่วคราว 2 ฉบับ มาเป็นเอกสารท้ายฟ้องแล้วยังระบุวันที่ส่งของกับลายมือชื่อผู้ส่งและผู้รับของ อันทำให้ทราบได้ว่าสินค้าตามที่บรรยายฟ้องคือสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยิ่งขึ้น ส่วนที่ข้อความเกี่ยวกับขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว มีตัวอักษรที่ไม่ใช่อักษรภาษาไทยแตกต่างจากคำว่า "ดี" ในส่วนที่บรรยายฟ้องไว้เพียงตัวเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจได้ว่าในการบรรยายฟ้องโจทก์ได้พยายามจะแปลความหมายของตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาไทยดังกล่าวนั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น แม้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ลูกหนี้ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่ 1 และจำเลยอื่นในต้นเงิน 40,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนอง และมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน 16,774,820 บาท แต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้น จึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน 76,321,642.55 บาท ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดเลย เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4342/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเกินขอบเขต จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดจากการซื้อขาย หากโจทก์เชื่อว่าตัวแทนมีอำนาจ
จำเลยที่ 2 ผู้จัดการเหมืองแร่ของจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าพิพาทจากโจทก์นำไปใช้ในกิจการเหมืองแร่ของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2จะทำเกินอำนาจตัวแทน แต่การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ก็ไม่เคยมีหนี้สินติดค้างกันมาก่อน การซื้อขายสินค้าพิพาทนี้มีมูลเหตุทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งซื้อสินค้าพิพาทได้ภายในขอบอำนาจ จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชำระราคาสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดระเบียบของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องภายในที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเอง หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น: ข้อพิพาทเรื่องการจัดการซื้อหุ้นและการรับผิดชอบหนี้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้จัดการซื้อหุ้นให้จำเลยและออกเงินทดรองแทนจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้นแม้จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะก็ไม่ทำให้โจทก์ชนะคดีได้ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
of 2