คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิดชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาต้องรับผิดชำระหนี้ แม้ผู้ซื้อมารับโอนเพียงผู้เดียว
เมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และส. เป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อจำเลยแล้วย่อมมีผลผูกพันจำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์และส. เจ้าหนี้ร่วมสิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียวซึ่งโจทก์และส. มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากจำเลยโดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและรับราคาที่ค้างจากโจทก์การที่โจทก์แต่ผู้เดียวมาขอรับโอนที่ดินและชำระราคาที่ค้างแก่จำเลยโดยส.ไม่ได้ร่วมมารับโอนด้วยไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยมิได้ยกข้อสัญญาข้อ3ขึ้นให้การต่อสู้การที่ศาลชั้นต้นยกข้อสัญญาดังกล่าวมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังนั้นที่จำเลยยกข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นข้อฎีกาต่อมาจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้แก่โจทก์ต่ำไปโจทก์ต้องการให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้กำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์จำนวนสูงขึ้นโจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247บัญญัติไว้โจทก์จะอาศัยคำแก้ฎีกาในการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาจำนวนสูงขึ้นหาได้ไม่ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยคำขอของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีการชำระหนี้บางส่วนโดยลูกหนี้อื่น
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลูกหนี้ที่2ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่1และจำเลยอื่นในต้นเงิน40,000,000บาทพร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่2จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองและมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน16,774,820บาทแต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้นจึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่1ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน76,321,642.55บาทส่วนที่ลูกหนี้ที่2ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2ต้องรับผิดเลยเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีทำได้ด้วยวาจา แม้มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รวมดอกเบี้ยทบต้น
ข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือระบุวงเงินที่จะเบิกเกินบัญชีและมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยทบต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีทำได้ด้วยวาจา แม้มิมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รวมดอกเบี้ย
ข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือระบุวงเงินที่จะเบิกเกินบัญชีและมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยทบต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการรับผิดชำระหนี้ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ในค่าก่อสร้างอาคารให้แก่โจทก์ ซึ่งขณะทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 2 และยังไม่ทราบจำนวนค่าวัสดุก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์ จึงทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไว้จำนวน 10,250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากจำเลยที่ 2 ทั้งหมดตามสัญญาจ้างเผื่อไว้ โดยสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 2 ระบุว่าหากเงินที่ได้รับโอนตามสิทธิเรียกร้องเกินกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ ให้โจทก์คืนส่วนที่เกินแก่จำเลยที่ 1 ในวันที่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามจำนวนค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า หากเกิดความเสียหายใดๆ แก่ผู้รับโอนอันเนื่องมาจากการรับโอนสิทธิในการรับเงินรายนี้ ผู้โอนยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับโอนทั้งสิ้นก็ตาม ก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันยอมชำระหนี้แก่โจทก์แม้จะได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายและไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีหรือเป็นข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมายจึงย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องก็สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยจำเลยที่ 2 ไม่อาจโต้แย้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยปริยาย: จำเลยมีหน้าที่รับผิดชำระหนี้ที่บริษัทบริษัทย่อยค้างไว้เนื่องจากจดทะเบียนเพื่อรับงานก่อสร้างและมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค
การที่จำเลยอนุมัติให้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ธ. เป็นบริษัทย่อยของจำเลย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัท ธ. รับงานก่อสร้างของจำเลย และให้พนักงานของจำเลยไปร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คของบริษัท ธ. เพื่อตรวจสอบการสั่งซื้อสินค้าของบริษัท ธ. ย่อมเอื้ออำนวยในทางที่เป็นคุณประโยชน์ต่อจำเลยเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยว่าจ้างบริษัท ธ. ดำเนินการก่อสร้างโครงการคอนโด ล. และ ช. ของจำเลยและบริษัท ธ. สั่งซื้อสินค้าประเภทพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารชุดโครงการดังกล่าวของจำเลยที่บริษัท ธ. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ย่อมเป็นเรื่องปกติแห่งวิถีทางธุรกิจที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ธ. เป็นบริษัทย่อยของจำเลย เพื่อให้บริษัท ธ. รับงานก่อสร้างของจำเลย อันถือได้ว่าบริษัท ธ. เป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง ในการก่อนิติสัมพันธ์กับโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกที่ได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนของจำเลย จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันบริษัท ธ. ในฐานะตัวแทนได้ทำไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 820