คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิดตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง: การตีความสัญญาค้ำประกันและการรับผิดตามสัญญา
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ค้ำประกันตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยินยอมผูกพันตนเข้ารับใช้หนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดใช้ให้โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยฎีกาว่า สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยมิได้ระบุว่าหากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยต้องรับผิดด้วย ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาเกี่ยวกับความมีหรือไม่มีอยู่ของข้อตกลงในสัญญาค้ำประกัน มิใช่เป็นการฎีกาว่า ศาลล่างตีความในสัญญาหรือแปลความหมายในสัญญาผิด จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างของผู้ว่าฯ ตามระเบียบงบประมาณระดับจังหวัด และการฟ้องรับผิดตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งซื้อจ้างของผู้ว่าฯ กับอายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัดข้อ5ก็มีข้อความว่าให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเองหาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวการที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญาย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม193/30ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้ขายเช็คต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันผู้ค้ำประกัน จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายของจำเลยที่ 1ขณะปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยลำพังมิได้รับอนุญาตหรือได้รับมอบหมายจากโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหายอย่างร้ายแรง คิดเป็นเงินจำนวน 349,494.55 บาท จำเลยที่ 1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว หาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าความให้โจทก์ จึงถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดฐานะเป็นตัวแทนกระทำการโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความฟ้องร้องสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หาใช่เป็นกรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420,448 ไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ได้ทำบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลให้นิติกรหรือทนายความของโจทก์ทราบก่อนที่จำเลยที่ 1ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนิติกรของโจทก์ว่าแม้ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอำนาจให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตามหากจะประนีประนอมยอมความแล้ว ให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะประนีประนอมยอมความต่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทน แล้วให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเสนอขออนุมัติต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ก่อนทุกครั้ง ซึ่งบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เวียนไปให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดโจทก์ทราบ และได้รวบรวมไว้เป็นเล่มแต่ละปี สามารถตรวจสอบได้ง่ายและนิติกรทุกคนได้ทราบวิธีปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ทั้งก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าว โจทก์ก็ได้ย้ำปรับความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลให้ทนายความของโจทก์ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ 1 ทำการประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าว โดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพื่อขออนุมัติต่อโจทก์ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 จะอ้างเพียงว่าเมื่อในใบแต่งทนายความให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้แล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความตามที่จำเลยที่ 1 เห็นสมควรโดยพลการหาได้ไม่ เพราะในบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้มีการมอบอำนาจให้นิติกรหรือทนายความประนีประนอมยอมความก็ให้นิติกรหรือทนายความเสนอขออนุมัติต่อโจทก์ทุกครั้งไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยที่จำเลยในคดีดังกล่าวต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 1 รู้ว่าจำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ชำระเงินแก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นเอกสารบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลและหนังสือย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้น ๆ แก่จำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่อย่างใด และโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นประกอบถามค้านจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพยานจำเลยที่ 3 ในเวลาที่จำเลยที่ 1 เบิกความแล้วเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และการที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1กระทำผิดหน้าที่โดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้เท่ากับเป็นการนำสืบว่าหนังสือรับสภาพหนี้ มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์จริง อันเป็นประเด็นโดยตรงในคดีตามฟ้องโจทก์ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เมื่อประเด็นสาระสำคัญแห่งคดีโดยตรงซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยทั้งสามแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่นำสืบก่อนในประเด็นข้อนี้ และเพื่อมิให้คดีล่าช้าจึงให้จำเลยทั้งสามนำสืบก่อนในทุกประเด็นข้ออื่นด้วยนั้น นับว่าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม การรับผิดตามสัญญา และการนำพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้เงินทุนการศึกษาและค่าปรับโดยในการทำสัญญารับทุนของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้เยาว์มีจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรม ของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการทำสัญญาและจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ด้วย กับมี อ.ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 โดยรับชดใช้เงินที่ต้องชดใช้แทนจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้นโดยมิต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ต่อมา อ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่3เป็นทายาทของอ.ดังนี้ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่ต้องรับผิดร่วมกันตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ถือว่าจำเลยทั้งสามแทนซึ่งกันและกัน บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งกระทำโดยจำเลยคนหนึ่งถือว่าได้กระทำโดยจำเลยคนอื่น ๆ ด้วย การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับทุนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายประกันต้องรับผิดตามสัญญาเมื่อจำเลยหลบหนี และมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 15 วัน
ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญา เพราะจำเลยหลบหนีในคดีอาญานั้น ถ้านายประกันประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งศาล จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ฎีกาคือ ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-ผู้รับประกันภัยรับผิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุม ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน วว 3951 กรุงเทพมหานคร ไว้จากจำเลยที่ 1 หรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทน และจำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์โจทก์ถูกชนได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ ซึ่งคำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 และหรือผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย ด้วยเหตุที่มีข้อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้เอาประกันภัย ส่วนจำเลยที่ 1 หรือผู้มีชื่อผู้ใดจะเป็นผู้เอาประกันภัยนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19391/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยโอนที่ดินให้บุคคลภายนอกหลังสัญญาซื้อขาย ยังต้องรับผิดตามสัญญาเดิม ศาลยืนตามเดิม
การที่จำเลยไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ให้ไว้แก่โจทก์ได้นั้น เป็นเพราะจำเลยได้โอนที่ดินพิพาทไปให้บุคคลภายนอกซึ่งถือได้ว่าเป็นความผิดอันเกิดแต่ฝ่ายของจำเลยเอง จำเลยยังคงมีความรับผิดที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้อง เพราะอาจมีการเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลย และดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยไม่จำต้องรับผิดดำเนินการดังกล่าวต่อโจทก์