คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับฟังพยานหลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารต่างประเทศและขอบเขตการจ่ายเงินสะสมในคดีแรงงาน
ศาลรับฟังเอกสารภาษาต่างประเทศทั้งฉบับโดยโจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทย เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมาย มิใช่ข้อเท็จจริง แต่เอกสารนั้นคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปล เมื่อศาลมิได้สั่งให้ทำคำแปล ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
แม้จำเลยมิได้ให้การถึงเงินสะสม 10,000 บาทว่าโจทก์มีสิทธิได้รับหรือไม่เพียงใด ซึ่งต้องถือว่าจำเลยรับว่าโจทก์มีสิทธิรับเงินสะสม 10,000 บาทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินสะสมไปบ้างแล้ว การที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายเงินสะสมแก่โจทก์อีกโดยที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับย่อมไม่ชอบซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารสำเนาแทนต้นฉบับ: จำเลยต้องโต้แย้งการไม่มีอยู่จริง หรือความไม่ถูกต้องของเอกสาร เพื่อให้ศาลไม่รับฟัง
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข5(ซึ่งต่อมาในชั้นพิจารณาศาลหมายจ.6)เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวจำเลยไม่ขอรับรองโดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125(เดิม)จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมายจ.6ไว้แล้วศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นสำเนาแทนต้นฉบับได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน การรับฟังพยานหลักฐาน และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่ทราบว่าลูกจ้างคนใดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานบ้างนั้นไม่น่ารับฟังเพราะโจทก์สามารถตรวจสอบจากรายชื่อลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าทำงานในระหว่างนัดหยุดงานได้ ดังนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีโดยมิได้ถือข้อเท็จจริงตามถ้อยคำสำนวน เพราะข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าใครบ้างเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จี.เอส.สตีลนั้น จึงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์โดยหยิบยกเอาคำพยานบุคคลของโจทก์ขึ้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการเชื่อพยานเพียงใดหรือไม่นั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน โจทก์อุทธรณ์ข้อนี้เป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน: ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานอื่นได้ แม้ขัดแย้งกับคำให้การบางส่วน
ปัญหาข้อกฎหมาย
ปัญหาที่ว่าศาลล่างฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำพะยานหรือไม่เปนปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13076/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังกฎกระทรวงโดยศาล แม้จำเลยมิได้นำสืบ: จำนวนเงินเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2540) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่จำเลยที่ 3 แนบท้ายอุทธรณ์มารับฟังว่า กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคนตามข้อ 2 (1) (ค) ที่ระบุว่า แปดหมื่นบาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต แล้ววินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และกฎกระทรวงดังกล่าวให้ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้นำสืบกฎกระทรวงดังกล่าว ศาลก็ชอบที่จะนำมารับฟังได้ เพราะเมื่อมีการประกาศกฎกระทรวงดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กฎกระทรวงย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมายอันเป็นที่รู้แก่บุคคลทั่วไปและศาลย่อมรู้ได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10265/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุพยานเด็กกับการรับฟังพยานหลักฐาน: การพิจารณาอายุพยานในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา
ในชั้นสอบสวนแม้ ก. จะให้การเป็นพยานขณะมีอายุเพียง 15 ปี โดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำซึ่งเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงไม่อาจอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของ ก. ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ก็ตาม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลปรากฏว่า ก. มาเบิกความขณะมีอายุ 19 ปี แล้ว การสืบพยานโจทก์ปากนี้ จึงไม่จำต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแต่อย่างใด ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ก. เป็นพยานได้