คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับมอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตัวแทนต้องชัดเจน การรับมอบรถโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของ ไม่ถือเป็นการเป็นตัวแทน
การตั้งตัวแทนจะต้องมีการแต่งตั้งจากตัวการโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้มีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 797 บัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์แต่งตั้งจำเลยร่วมเป็นตัวแทน แต่จำเลยร่วมให้การว่าเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถคันที่ให้เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอก บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมทำไว้ต่อกันก็เป็นเพียงแต่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยร่วมครอบครองรถคันที่เช่าซื้อต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยร่วมไปดำเนินการ การที่จำเลยร่วมรับมอบรถคันที่เช่าซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการรับมอบในฐานะตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถให้แก่บุคคลภายนอก มิใช่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดส่งมอบรถคันพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้าซื้อขายแบบติดตั้งพิเศษ เริ่มนับเมื่อติดตั้งสมบูรณ์และจำเลยรับมอบ
สินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ต้องจัดทำขึ้นเป็นพิเศษแล้วนำไปติดตั้งในสถานที่ของจำเลย ทั้งต้องมีการทดสอบการใช้ระยะหนึ่ง โจทก์นำสินค้าไปติดตั้งและดำเนินการแก้ไขให้สมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย โดยจำเลยลงลายมือชื่อ รับสินค้าเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้อง ได้เป็นต้นไป โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อ สินค้าที่ซื้อขายติดตั้งเรียบร้อยและผ่านการทดสอบว่า ใช้งานได้ดีและจำเลยยอมรับมอบสินค้านั้นแล้ว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในทรัพย์สินสัญญาซื้อขายโมฆะ: การรับมอบและชำระค่าสินค้าโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันจะมีผลให้นิติกรรมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 นั้น จะต้องเป็นการสำคัญผิดในทรัพย์สินที่จะต้องส่งมอบแก่กันตามสัญญาซื้อขาย โดยการทำสัญญาซื้อขายนั้นถือเอาตัวทรัพย์เป็นสาระสำคัญ ฟังได้ว่าโจทก์ขายเครื่องทำน้ำแข็งถ้วยและเครื่องกรองน้ำให้แก่จำเลย ในการส่งมอบและการติดตั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทักท้วงถึงยี่ห้อของสินค้าว่ามิใช่ยี่ห้อนิวตั้น แต่กลับปรากฏว่าในระยะ 3 ถึง 4 เดือน ภายหลังติดตั้งเครื่องดังกล่าวใช้การได้ดี และเมื่อเครื่องทำงานขัดข้องโจทก์ก็จัดการซ่อมแซมให้พร้อมกับรับชำระค่าสินค้าเป็นประจำทุกเดือน จำเลยได้ชำระค่าสินค้าไปจนถึงงวดที่ 9หลังจากนั้นจำเลยติดต่อ ส. ไปซ่อมเครื่องทำน้ำแข็งถ้วยและเครื่องกรองน้ำถึง 3 ครั้งพฤติการณ์ที่จำเลยรับมอบเครื่องทำน้ำแข็งถ้วยและเครื่องกรองน้ำโดยมิได้โต้แย้งเกี่ยวกับยี่ห้อของสินค้าทั้งได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ตลอดมา รวมทั้งได้ชำระค่าสินค้าจนถึงงวดที่ 9 จนกระทั่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยจึงอ้างว่าเครื่องทำน้ำแข็งถ้วยและเครื่องกรองน้ำที่โจทก์ส่งมอบไม่ใช่ยี่ห้อนิวตั้นตามที่จำเลยตกลงซื้อ ข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยตกลงซื้อเครื่องทำน้ำแข็งถ้วยและเครื่องกรองน้ำโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบหุ้นโดยไม่สุจริตและผลของการคืนหุ้น/ชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก.แทนจำเลย จำนวน1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก.จำนวน 2,000หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้นเป็นเงิน 301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก.ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกัน โจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนเมื่อใด: การส่งมอบและตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนรับมอบ
เมื่อโจทก์ร่วมสั่งซื้อน้ำยาเคมีสไตรีนโมโนเมอร์สำหรับทำพลาสติกเม็ดจากบริษัท ช.บริษัทช. จะว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดท. ใช้รถยนต์บรรทุกน้ำยาเคมีไปส่งให้โจทก์ร่วม เมื่อรถส่งน้ำยาเคมีมาถึงโรงงานของโจทก์ร่วม เจ้าหน้าที่ตรวจรับนำยาเคมีของโจทก์ร่วมจะชั่งน้ำหนักของรถรวมกับน้ำยาเคมีเสียก่อนหากปรากฏว่าแตกต่างกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในใบส่งของเป็นจำนวนมากโจทก์ร่วมจะสอบถามไปยังบริษัท ช. หากชั่งน้ำหนักถูกต้องเรียบร้อยโจทก์ร่วมจะตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาเคมีว่าได้มาตรฐานถูกต้องตามความต้องการของโจทก์ร่วมหรือไม่อีก หากถูกต้องจึงจะถ่ายน้ำยาเคมีสู่ถังเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมหากไม่ถูกต้องก็จะให้รถบรรทุกน้ำยาเคมีกลับไป การซื้อขายระหว่างโจทก์ร่วมกับบริษัท ช. จึงเป็นการซื้อขายโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ร่วมจะรับมอบน้ำยาเคมีต่อเมื่อมีการตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพแล้ว เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมีที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อจากบริษัท ช. จะตกเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อมีการถ่ายน้ำยาเคมีจากรถบรรทุกลงสู่ถังเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.ขับรถบรรทุกน้ำยาเคมีไปที่โรงงานของโจทก์ร่วม แล้วชั่งน้ำหนักรถรวมกับน้ำยาเคมี ปรากฏว่าน้ำหนักขาดหายไปมาก โจทก์ร่วมไม่อนุญาตให้ถ่ายน้ำยาเคมีลงสู่ถังเก็บของโจทก์ร่วม จำเลยจึงขับรถกลับไปแสดงว่าโจทก์ร่วมยังไม่ได้รับมอบน้ำยาเคมีที่สั่งซื้อ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมียังคงเป็นของบริษัท ช. ยังไม่โอนไปยังโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้เมื่อน้ำยาเคมีหายไป โจทก์ย่อมไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำยาเคมีแก่โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับมอบเอกสารปลอมและจ่ายเงินให้ผู้นำมาส่งมอบ มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยรับมอบเอกสารของกลางและจ่ายเงินให้ผู้นำมาส่งมอบโดยจำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ซึ่งแม้การที่จำเลยต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้นำมาส่งมอบจะทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยมิได้มีส่วนร่วมในการปลอมเอกสารและรอยตราในเอกสาร การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดอันเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ตาม ป.อ. มาตรา 84 ข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตามป.อ. มาตรา 84 แต่ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานตัวการร่วมกระทำผิด ตาม ป.อ. มาตรา 83 จึงแตกต่างจากที่ปรากฏในทางพิจารณาในสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยฐานผู้ใช้ไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองแต่การกระทำของจำเลยซึ่งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ตาม ป.อ. มาตรา 86 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาพิมพ์หนังสือ: การส่งมอบล่าช้า, การผ่อนผัน, และการรับมอบโดยไม่มีข้อโต้แย้งถือเป็นการรับทราบสัญญา
จำเลยสั่งโจทก์พิมพ์หนังสือไดเร็คตอรี่ จำนวน 5,000 เล่ม เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 โดยกำหนดให้ส่งมอบในวันที่ 8 ธันวาคม2525 มีเวลาให้โจทก์ทำงานและส่งมอบเพียง 13 วัน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถทำได้ทันแต่จำเลยได้ตกลงผ่อนผันให้ทะยอนส่งและให้ทำอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จำเลยไม่ได้ถือเอาวันที่ 8ธันวาคม 2525 เป็นข้อสำคัญ ทั้งจำเลยก็ส่งต้นฉบับไปให้โจทก์ล่าช้า แต่โจทก์ก็ได้จัดพิมพ์และทะยอยส่งให้จำเลยครบเมื่อวันที่7 กุมภาพันธ์ 2526 เมื่อจำเลยรับไว้โดยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาต่อโจทก์ จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าทางทะเล: ผู้รับสินค้าต้องสำรวจสภาพสินค้าทันทีเมื่อรับมอบ หากไม่ถือว่ารับในสภาพเรียบร้อยแล้ว
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและเป็นผู้รับตราส่งรับสินค้าไปจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมิได้แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยทราบและตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมสำรวจความเสียหายของสินค้าดังกล่าวเสียก่อนทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าดังกล่าวแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับเอาสินค้าไว้โดยมิได้อิดเอื้อนจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 623 วรรคแรกซึ่งแม้จะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้องใช้บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 ได้กำหนดไว้เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของห้างหุ้นส่วนอ. ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบบ้านหลังสร้างเสร็จ การย้ายทะเบียนบ้านไม่ใช่การแสดงเจตนาการรับมอบ
จำเลยได้ทำสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ปลูกบ้านเพื่ออยู่อาศัยการที่จะฟังว่าจำเลยรับมอบบ้านพิพาทจำต้องมีข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดถึงการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายของจำเลยว่ายอมรับมอบบ้านพิพาท การที่จำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าอยู่ในบ้านพิพาทเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายในเรื่องการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าการที่จำเลยย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทก็เพื่อนำบุตรเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและโจทก์ก็นำสืบว่าจำเลยยังไม่ได้รับมอบบ้านพิพาทเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยรับมอบบ้านพิพาทจากโจทก์ โจทก์ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาการก่อสร้างชำรุด: ผู้รับจ้างต้องรับผิดหากผู้ว่าจ้างไม่รับมอบโดยไม่อิดเอื้อน แม้พ้นอายุความ ก็หักกลบลบหนี้ได้
ผู้รับจ้างปลูกอาคารโดยชำรุดบกพร่องไม่ต้องรับผิดต่อเมื่อผู้ว่าจ้างรับมอบอาคารโดยไม่อิดเอื้อน เมื่อผู้ว่าจ้างทักท้วงผู้รับจ้างต้องรับผิดโดยมีอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 601 แต่เมื่อแรกที่ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องยังอยู่ในกำหนด 1 ปี ฉะนั้นแม้พ้น 1 ปี แล้วผู้ว่าจ้างก็หักกลบลบหนี้ค่าจ้างที่ค้างชำระกับค่าเสียหายที่ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดได้
of 3