พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินที่รับมอบหมายซื้อของ ยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
การที่จำเลยรับมอบเงินจากผู้เสียหายเพื่อซื้อข้าวเปลือกและปอฟอกให้ผู้เสียหายเช่นนี้. แม้จะไม่มีกำหนดเวลาว่าจำเลยจะต้องซื้อเมื่อใด. ก็ไม่มีลักษณะเป็นการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 และ 672. เพราะไม่ใช่เป็นการมอบเงินให้เก็บรักษาไว้ในอารักขาของจำเลยแล้วจำเลยจะคืนให้. จริงอยู่จำเลยอาจนำธนบัตรฉบับอื่นหรือเหรียญกษาปณ์อันอื่นไปซื้อได้ แต่นั่นเป็นเพราะธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายด้วยกันตามพระราชบัญญัติเงินตราฯ. จะนำธนบัตรฉบับไหนไปซื้อ ก็สมประโยชน์ของผู้เสียหาย. และย่อมไม่ใช่การกระทำโดยทุจริต.ด้วยเหตุนี้เงินจำนวน 15,000 บาท ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยครอบครอง จึงยังเป็นของผู้เสียหายอยู่จนกว่าจำเลยจะได้ซื้อข้าวเปลือกและปอฟอกให้ผู้เสียหายแล้ว. อีกประการหนึ่งการที่จำเลยไม่นำเงินของผู้เสียหายที่ตนครอบครองอยู่ไปซื้อข้าวเปลือกและปอฟอกตามที่ได้รับมอบหมาย. บางกรณีอาจเป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งได้ก็จริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต. หากเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตแล้ว ย่อมเป็นความผิดฐานยักยอก. โดยเฉพาะคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเงินจำนวนนี้ไว้เป็นประโยชน์ของจำเลยเอง. จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักปศุสัตว์และการรับมอบหมายที่ไม่เป็นความผิดยักยอก
โคของผู้เสียหายติดเข้าไปอยู่ในฝูงโคของจำเลย แยกไม่ออก ผู้เสียหายจึงสั่งจำเลยขอให้ดูไว้ด้วย
การพูดเช่นนี้จะถือว่าเป็นการรับมอบหมาย อันจะกลายเป็นผิดฐานยักยอกยังไม่ได้
ที่สุดเมื่อจำเลยกับพวกพาเอาโคของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานลักปศุสัตว์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294
แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายที่ใช้อยู่บัดนี้ ไม่มีบัญญัติถึงการลักปศุสัตว์และสัตว์พาหนะโดยเฉพาะเช่นในมาตรา 294 (ก.ม.อาญา) จึงต้องใช้มาตรา 293 (ก.ม.อาญา) ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเป็นบทลงโทษจำเลย.
การพูดเช่นนี้จะถือว่าเป็นการรับมอบหมาย อันจะกลายเป็นผิดฐานยักยอกยังไม่ได้
ที่สุดเมื่อจำเลยกับพวกพาเอาโคของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานลักปศุสัตว์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294
แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายที่ใช้อยู่บัดนี้ ไม่มีบัญญัติถึงการลักปศุสัตว์และสัตว์พาหนะโดยเฉพาะเช่นในมาตรา 294 (ก.ม.อาญา) จึงต้องใช้มาตรา 293 (ก.ม.อาญา) ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเป็นบทลงโทษจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยรับมอบหมายโดยปริยาย และสิทธิในการร้องทุกข์ของผู้รับมรดก
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้รักษาทรัพย์ของเจ้าทรัพย์ ซึ่งตกจากรถยนต์และถึงแก่ความตาย เพื่อนำไปมอบให้สามีของเจ้าทรัพย์แล้วจำเลยบังอาจมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้นั้นเป็นอาณาประโยชน์ของจำเลยเสีย ดังนี้ แม้จะไม่มีคำว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์ ก็พอถือได้ว่าเป็นการรับมอบหมายโดยปริยาย ต้องตามตัวบทในมาตรา 314 แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญาแล้ว และในกรณีเช่นนี้สามีย่อมเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์โดยรับมอบหมายโดยปริยาย: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์ของเจ้าทรัพย์ ซึ่งตกจากรถยนต์และถึงแก่ความตาย เพื่อนำไปมอบให้สามีของเจ้าทรัพย์แล้วจำเลยบังอาจมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้นั้นเป็นอาณาประโยชน์ของจำเลยเสีย ดังนี้ แม้จะไม่มีคำว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์ ก็พอถือได้ว่าเป็นการรับมอบหมายโดยปริยาย ต้องตามตัวบทในมาตรา 314 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาแล้ว และในกรณีเช่นนี้สามีย่อมเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกต้องระบุชัดว่าจำเลยขายทรัพย์สินที่รับมอบหมายหรือไม่ หากไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องไม่ถูกต้อง
คดีหาว่า จำเลยยักยอกแหวนของโจทก์ที่ฝากจำเลยขายนั้น คำฟ้องของโจทก์จะต้องปรากฎให้แจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายแหวนที่ได้รับมอบหมายไปจากโจทก์แล้ว มิฉะนั้นจะกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกแหวนมิได้.
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวนแต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง./
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวนแต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง./