คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและนับอายุงานต่อเนื่อง กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายโดยมิได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ แต่หากศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในหน้าที่และค่าจ้างเดิมโดยไม่ได้ขอให้นับอายุงานต่อเนื่อง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานหลังศาลสั่งรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน และสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง
เหตุที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์ได้กระทำผิดคดีอาญาถูกควบคุมตัวไม่สามารถทำงานให้จำเลยได้ และต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ในคดีดังกล่าว ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้นับอายุงานต่อเนื่องเสมือนหนึ่งมิได้มีการเลิกจ้าง แต่โจทก์มีสิทธิขอให้นับอายุงานติดต่อตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยไม่มีสิทธินำระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานมารวมด้วย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายชดใช้แทนการที่ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายจากนายจ้างจึงมีเพียงกรณีที่ศาลมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานประการเดียวเท่านั้น ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายนับแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานได้อีก.