คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับสภาพหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างทำของ การรับสภาพหนี้ และการนับอายุความใหม่เมื่อชำระหนี้บางส่วน
สัญญาที่โจทก์รับซ่อมรถยนต์ของจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1)
โจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จให้แก่ผู้ที่นำรถยนต์มาซ่อมแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิของตนในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระสินจ้างได้นับตั้งแต่วันที่ส่งมอบรถยนต์แต่ละคันให้แก่ผู้ที่นำมาซ่อม การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15
โจทก์นำหนี้จำนวน 41 รายการ รวมเป็นเงิน 402,197 บาท ซึ่งโจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 มาฟ้องในวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ค่าซ่อมรถอีก 11 รายการ จำนวน 47,500 บาท ปรากฏว่าในวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยชำระหนี้บางส่วน หนี้ค่าซ่อมรถทั้ง 11 รายการ ยังไม่ขาดอายุความ อายุความสำหรับหนี้ดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับใหม่ และเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ในส่วน 11 รายการนี้ จึงยังไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจะต้องกระทำก่อนที่หนี้ขาดอายุความ เมื่อหนี้ค่าซ่อมรถจำนวน 402,197 บาท ขาดอายุความไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 การชำระหนี้บางส่วนของจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความรับผิดของผู้ขนส่งและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 อันเป็นวันที่จำเลยควรจะส่งมอบกระเป๋าเดินทางสูญหายให้แก่โจทก์ อายุความย่อมเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือยินยอมชดใช่ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะไม่เต็มตามจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดเช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การรับสภาพหนี้ไม่สร้างหนี้ใหม่
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดหาได้เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
การกระทำที่จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิด มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขาย & การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่ได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม 2521 จำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน ถือเป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ไม่นับเข้าในอายุความ และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 สัญญาจะซื้อจะขายไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2521 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2530 จำเลยทำหนังสือว่าได้รับเงินจำนวน 50,000 บาท จากโจทก์เป็นค่าที่ดินส่วนที่เป็นถนน ตามสัญญาจะซื้อจะขายลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ไปทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ อันเป็นการบ่งชี้ว่า จำเลยรับว่ายังมีหนี้ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นถนนให้แก่โจทก์อยู่อีก จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้น ไม่นับเข้าในอายุความ เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป ซึ่งนับถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2540 ที่โจทก์ฟ้อง คดียังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ภาระจำยอมนั้นเพียงแต่ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น และห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 และ 1389 เท่านั้น เจ้าของภารยทรัพย์คงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน: การรับสภาพหนี้ใหม่ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่ได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 15658 และตกลงซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นถนนที่อยู่ติดกับที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม 2521 จำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 15658 ให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน ถือเป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ระยะเวลาทีล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 สัญญาจะซื้อจะขายไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2521 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2530 จำเลยทำหนังสือว่าได้รับเงินจำนวน 50,000 บาท จากโจทก์เป็นค่าที่ดินส่วนที่เป็นถนนตามสัญญาจะซื้อจะขายลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ไปทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ ข้อความในหนังสือดังกล่าวบ่งชี้ว่าจำเลยรับว่ายังมีหนี้ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นถนนให้แก่โจทก์อยู่อีก จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป ซึ่งนับถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2540 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง แม้ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนในหมู่บ้านที่จำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรที่ดินและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ก็ตาม แต่ภาระจำยอมนั้นเพียงแต่ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น และห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 และ 1389 เท่านั้น เจ้าของภารยทรัพย์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดห้ามเจ้าของภารยทรัพย์ขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ จำเลยจึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7656/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการกู้ยืมและการรับสภาพหนี้: อายุความ 10 ปี มิใช่ 2 ปี
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 โดยรับว่าเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์ 60,000 บาท จึงมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือและเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ด้วย การกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ส่วนหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีอายุความในตัวเองเพียงแต่มีผลทำให้อายุความในมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง เมื่อนับแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
การที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้มิใช่กรณีลูกหนี้รับสภาพความผิดภายหลังมูลหนี้เดิมขาดอายุความแล้วที่จะมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการรับสภาพหนี้: การนับอายุความที่ถูกต้องและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์และผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งหากถือเอาอายุความเกี่ยวกับการละเมิดมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานมาด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โดยนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง คือวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดไม่ ซึ่งระยะเวลาทั้ง 2 กรณี เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินสิบปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการรับสภาพหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาไม่สมบูรณ์แต่จำเลยรับสภาพแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาลแล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้และการผ่อนผันสิทธิเรียกร้อง
จำเลยนำบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและบัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไปใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 และวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีกำหนดให้ชำระเงินคืนโจทก์ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม และวันที่ 2 มกราคม 2541 ตามลำดับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมใช้บังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดบัญชีและเริ่มนับอายุความแห่งสิทธินับแต่นั้นมา ต่อมาจำเลยชำระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้ายตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 และวันที่ 6 ตุลาคม 2541 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 จึงพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์แจ้งยอดบัญชีให้จำเลยชำระตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ตามลำดับก็ตามแต่เมื่อหลังจากที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้แล้ว จำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์และโจทก์ก็มิได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบกิจการต่าง ๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดหนี้ที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดและเบี้ยปรับที่ชำระล่าช้าเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความคดีจึงหาได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดตามใบแจ้งยอดหนี้ครั้งสุดท้ายโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไปไม่
of 34